Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาการใช้โปรแกรมการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่บ้าน ต่อการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและกิจกรรมทางสังคมของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

A study of using psychiatric home care program on activity of daily living and social activity of schizophrenic patients in community, Bangrachan District, Singburi Province

Year (A.D.)

2005

Document Type

Independent Study

First Advisor

รังสิมันต์ สุนทรไชยา

Faculty/College

Faculty of Nursing (คณะพยาบาลศาสตร์)

Degree Name

พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช

DOI

10.58837/CHULA.IS.2005.9

Abstract

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและกิจกรรมทางสังคมของผู้ป่วยจิตเภท ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่บ้าน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี จำนวน 20 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ โปรแกรมการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่บ้านซึ่งผู้ศึกษาปรับมาจากแบบแผนการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้านของ สุวิมล สมัตถะ (2541) และผ่านการตรวจความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบประเมินการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและกิจกรรมทางสังคมที่บ้านของผู้ป่วยจิตเภท มีค่าความเที่ยง Cronbach’s Alpha เท่ากับ .88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและกิจกรรมทางสังคมของผู้ป่วยจิตเภทหลังดำเนินโครงการโดยใช้สถิติทดสอบที (paired t-test ) ผลการศึกษาพบว่า การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและกิจกรรมทางสังคมของผู้ป่วยจิตเภท หลังได้โปรแกรมการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่บ้าน สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่บ้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purposes of this study was to compare mean scores of activity of daily living and social activity before and after using schizophrenia home care program. Research sample were 20 schizophrenic patients residing in community Bangrachan District, Singburi Province who met the inclusion criteria. The study tool was psychiatric home care program which was modified from the tool by Suvimol Samata (1998) and validated by 5 experts. Data was collected using activity of daily living and social activity measurement that had a Cronbach 'ร Alpha of.88. Frequency, mean, standard deviation and paired t-test were used for data analysis. Major findings were as follows. The activity of daily living and social activity of schizophrenic patients after using schizophrenia home care program, was significantly higher than that before the experiment 1 at the .05 level

Share

COinS