Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

The outcome of HLA-B*58:01 screening testbefore initiating allopurinol at a tertiary hospital

Year (A.D.)

2023

Document Type

Thesis

First Advisor

ชาญกิจ พุฒิเลอพงศ์

Second Advisor

ชลภัทร สุขเกษม

Faculty/College

Faculty of Pharmaceutical Sciences (คณะเภสัชศาสตร์)

Department (if any)

Department of Pharmacy Practice (ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ)

Degree Name

เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

การบริบาลทางเภสัชกรรม

DOI

10.58837/CHULA.THE.2023.809

Abstract

ที่มาและความสำคัญ: การตรวจยีนแพ้ยา HLA-B*58:01 ก่อนเริ่มใช้ยา allopurinol สามารถช่วยป้องกันการแพ้ยาทางผิวหนังจากการใช้ยา allopurinol ได้ วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบอุบัติการณ์การแพ้ยาทางผิวหนังจากยา allopurinol โดยรวมทั้งชนิดที่ไม่รุนแรงและรุนแรง และศึกษาความแตกต่างของค่าใช้จ่ายทางตรงที่เกี่ยวข้องกับการรักษาเมื่อพบการแพ้ยาในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจยีนแพ้ยา (กลุ่มศึกษา) และผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการตรวจยีนแพ้ยา (กลุ่มเปรียบเทียบ) วิธีการศึกษา: การวิจัยจากเหตุไปหาผลแบบย้อนหลัง ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2567 ผู้ป่วยที่ผ่านคุณสมบัติตามที่ผู้วิจัยกำหนดทั้งหมด 1,026 ราย แบ่งเป็นกลุ่มศึกษา 281 รายและกลุ่มเปรียบเทียบ 745 ราย ผลการศึกษา: ผู้ป่วยกลุ่มศึกษา 281 ราย ตรวจพบยีนแพ้ยาเป็นบวก 53 ราย (ร้อยละ 18.8) ได้รับการรักษาด้วยยาลดกรดยูริกในเลือดอื่น ๆ 32 ราย ตรวจพบยีนแพ้ยาเป็นลบ 228 ราย (ร้อยละ 81.14) ได้รับการรักษาด้วยยา allopurinol 163 ราย และกลุ่มเปรียบเทียบ 745 ราย ผู้ป่วยทุกรายได้รับการรักษาด้วยยา allopurinol ที่ระยะเวลาการติดตามการแพ้ยา 90 วัน ในกลุ่มศึกษาพบอุบัติการณ์การแพ้ยาทางผิวหนังโดยรวม และชนิดที่ไม่รุนแรงเท่ากันร้อยละ 1.4 และกลุ่มเปรียบเทียบร้อยละ 5.9 และ 5.0 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.007, 0.02 ตามลำดับ) และในกลุ่มศึกษาไม่พบอุบัติการณ์การแพ้ยาทางผิวหนังชนิดที่รุนแรง แต่กลุ่มเปรียบเทียบพบร้อยละ 0.9 (p = 0.216) ความแตกต่างของค่าใช้จ่ายทางตรงที่เกี่ยวข้องกับการรักษาเมื่อพบการแพ้ยาระหว่างกลุ่มศึกษาน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ 78,198.52 บาทต่อราย สรุปผลการศึกษา: การตรวจคัดกรองยีน HLA-B*58:01 ก่อนเริ่มใช้ยา allopurinol มีประสิทธิผลในการลดอุบัติการณ์แพ้ยาทางผิวหนัง และลดค่าใช้จ่ายทางตรงที่เกี่ยวข้องกับการแพ้ยา

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Background: The HLA-B*58:01 allele is a significant genetic risk factor for allopurinol-induced cutaneous adverse drug reactions (CADRs), including mild and severe reactions (MCARs, SCARs) Objective: This study aimed to assess whether the HLA-B*58:01 screening test could prevent CADRs and reduce direct medical costs. Method: This retrospective cohort study was conducted at Charoenkrung Pracharak Hospital, Bangkok, from January 1, 2019, to March 31, 2024. Results: 1,026 participants divided into two groups 281 in the study group (underwent HLA-B*58:01 test) and 745 in the comparison group (no test). In the study group, 53 (18.8%) tested positive for HLA-B*58:01. Among those, 32 (11.4%) were treated with alternative medications, while 163 of the 228 who tested negative received allopurinol. All participants in the comparison group received allopurinol. the incidence of CADRs and MCARs were equally which significantly decreased in the study group compared to the comparison group (1.4% vs 5.9% and 5%, respectively p = 0.007*, 0.02*). No SCARs were observed in the study group, while the comparison group had an incidence of 7 SCARs (0% vs. 0.9%; p = 0.216). The direct medical costs between the groups showed a mean difference of 78,198.52 Baht per person. Conclusion: The HLA-B*58:01 screening test before initiating allopurinol is effective in reducing the incidence of CADRs and direct medical costs.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.