Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
The rights to severance pay at retirement for employees of public organizations
Year (A.D.)
2024
Document Type
Thesis
First Advisor
ธิดารัตน์ ศิลปภิรมย์สุข
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
นิติศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2024.83
Abstract
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาประเด็นสิทธิได้รับค่าชดเชยของเจ้าหน้าที่องค์การมหาชนซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ในกรณีเกษียณอายุมาเป็นประเด็นในการศึกษา อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2452 ได้ยกเว้นมิให้องค์การมหาชนอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน แต่ให้เจ้าหน้าที่องค์การมหาชนต้องได้รับสิทธิประโยชน์ไม่น้อยกว่าสิทธิที่กำหนดไว้ในกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ซึ่งยังมีประเด็นการตีความที่แตกต่างกันอยู่ทั้งคำพิพากษาของศาลปกครอง คำพิพากษาของศาลยุติธรรมและการวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกาโดยใช้การศึกษาด้วยการวิจัยเอกสาร ผลจากการศึกษาหลักการการคุ้มครองแรงงานทั้งภายในประเทศและต่างประเทศและอนุสัญญาระหว่างประเทศเรื่องหลักการการเลิกจ้างพบว่า การจ่ายเงินค่าชดเชยไม่ว่าจะด้วยเหตุให้ออกจากงาน สิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเกษียณอายุนั้นมีความสำคัญในการคุ้มครองและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเจ้าหน้าที่องค์การมหาชนในฐานะแรงงานภาครัฐ เจ้าหน้าที่องค์การมหาชนจึงควรมีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยในกรณีสิ้นสุดสัญญาจ้างด้วยเหตุเกษียณอายุในการศึกษาคำพิพากษาของศาลปกครองพบว่า ศาลปกครองได้มุ่งผลประโยชน์ทั้งหมดที่เจ้าหน้าที่องค์การมหาชนได้รับเมื่อเกษียณอายุเทียบกับอัตราเงินชดเชยตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ขณะที่คำพิพากษาของศาลยุติธรรมเน้นเรื่องการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับขององค์การมหาชนที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายผลประโยชน์แก่เจ้าหน้าที่ในกรณีเกษียณอายุ และส่วนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกา ระบุว่า คณะกรรมการขององค์การมหาชนมีอำนาจตามกฎหมายที่จะกำหนดสิทธิประโยชน์ให้กับเจ้าหน้าที่องค์การมหาชนในอัตราที่ไม่ต่ำกว่ามาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานได้โดยไม่ต้องขออนุมัติต่อรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี การศึกษานี้ได้ข้อเสนอแนะให้องค์การมหาชนพิจารณาทบทวนระเบียบ ข้อบังคับที่มีอยู่ โดยให้มีการกำหนดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการจ่ายเงินสิทธิผลประโยชน์ของทั้งผู้อำนวยการและเจ้าหน้าที่องค์การมหาชนในกรณีเกษียณอายุให้ไม่น้อยกว่าอัตราที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์อันแท้จริงของพระราชบัญญัติองค์การมหาชน และในขณะเดียวกันก็เป็นการป้องกันการนำคดีขึ้นสู่ศาล อันจะกระทบต่อการจัดทำบริการสาธารณะขององค์การมหาชนด้วย ประกอบกับหน่วยงานของรัฐต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี ดังนั้นองค์การมหาชนควรมีกองทุนบำเหน็จบำนาญสำหรับพนักงานของรัฐทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นองค์การมหาชนที่จัดขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะซึ่งรวมถึงมหาวิทยาลัยในกำกับ และองค์การมหาชนที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา ให้ได้รับสิทธิประโยชน์จากกองทุนบำเหน็จบำนาญของพนักงานของรัฐ อย่างในประเทศฝรั่งเศส หรือประเทศเยอรมัน ที่กฎหมายบังคับให้หน่วยงานของรัฐในฐานะที่เป็นนายจ้างต้องจัดให้มีกองทุนบำเหน็จบำนาญ เพื่อให้พนักงานหรือลูกจ้างของรัฐมีสิทธิได้รับบำนาญ ช่วยให้พนักงานสามารถมีเงินไว้ใช้จ่ายหลังเกษียณอย่างมั่นคงและเพียงพอ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเงินออมส่วนตัวเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ ยังมีสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ที่ครอบคลุม เช่น เงินสงเคราะห์และเงินชดเชย ซึ่งช่วยให้ครอบครัวของผู้รับบำเหน็จบำนาญที่ถึงแก่ความตายหรือทุพพลภาพได้รับเงินช่วยเหลืออีกด้วย
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This thesis examines the issue of severance pay for employees of public organizations upon retirement. According to the Public Organization Act of B.E. 2542 (1999), public organizations are excluded from the Labour Protection Law. However, it is mandated that employees of these organizations must receive benefits that are no less favorable than those specified under the Labour Protection Law. Despite this, there have been inconsistent legal interpretations among the Supreme Administrative Court, the Supreme Court of Justice, and the Council of State regarding severance pay upon retirement. By studying labour protection principles in both domestic and international public organizations, this thesis underscores the importance of severance pay upon retirement as a critical measure for safeguarding and enhancing the quality of life for public sector employees. The author argues that under the Public Organization Act, the Public Organization Committee should establish clear regulations and rules concerning retirement benefits for employees, ensuring that these are at least equivalent to the standards set by labor protection laws. Such measures would help prevent legal disputes that could disrupt the operations and tarnish the reputation of public services. Furthermore, the thesis advocates for the establishment of a pension fund for all types of government employees, whether employed by public organizations established under specific laws or by royal decree, in alignment with Cabinet resolutions. Drawing on examples from France and Germany, where government agencies are legally required to establish pension funds for all workers, the author contends that public organization employees should similarly be entitled to the benefits of a government employee pension fund. This would provide employees with a secure and sufficient income after retirement, reducing their reliance on personal savings alone. Additionally, the organization should offer supplementary benefits, such as welfare and compensation, to provide financial assistance to the families of pensioners who may become deceased or disabled.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
การะพิมพ์, ภัทรกร, "สิทธิได้รับค่าชดเชยของเจ้าหน้าที่องค์การมหาชนในกรณีเกษียณอายุ" (2024). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 12330.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/12330