Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Self-care experiences of counselor-in-training through mindfulness

Year (A.D.)

2023

Document Type

Thesis

First Advisor

ณัฐสุดา เต้พันธ์

Faculty/College

Faculty of Psychology (คณะจิตวิทยา)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

จิตวิทยา

DOI

10.58837/CHULA.THE.2023.544

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การดูแลตนเองของนักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัดด้วยการฝึกสติ โดยศึกษาด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความ และเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้เข้าร่วมการวิจัย คือ นักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัดที่มีการฝึกสติเป็นประจำต่อเนื่อง จำนวน 6 คน มีอายุระหว่าง 24-36 ปี ผลการวิจัยพบ 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) อารมณ์ความรู้สึกและสภาวะทางลบที่ประสบระหว่างฝึกงาน กล่าวคือ ผู้ให้ข้อมูลประสบกับความรู้สึกหนักหน่วงจากการรับฟังเรื่องราวผู้รับบริการ ตำหนิตนเอง กลัวกังวล ไม่มั่นใจในการเดินต่อในสายอาชีพ และมีความเหนื่อยล้าทางกาย 2) การใช้สติในการรับมือกับผลกระทบทางลบจากการฝึกงาน ในการใช้สติรับมือกับผลกระทบทางลบนั้นมีบางช่วงเวลาที่ผู้ฝึกหัดมีกำลังสติไม่เพียงพอจนเสียศูนย์และไม่สามารถใช้การฝึกสติได้ ผู้ให้ข้อมูลจึงใช้ปัจจัยช่วยอื่นในการกลับสู่การมีสติอีกครั้ง และผู้ให้ข้อมูลระบุถึงประสิทธิภาพในการใช้สติว่าขึ้นอยู่กับความสม่ำเสมอของการฝึกสติ 3) ผลของการฝึกสติ กล่าวคือ การฝึกสติส่งผลต่อการดูแลตนเองจากผลกระทบทางลบ ต่อการทำงานกับผู้รับบริการ และต่อชีวิตส่วนบุคคล 4) การส่งต่อการฝึกสติ ผู้ให้ข้อมูลระบุถึงการฝึกสติให้กับผู้รับบริการและสิ่งที่เรียนรู้จากการฝึกสติให้กับผู้รับบริการ และเน้นย้ำถึงความจำเป็นของการฝึกสติให้กับนักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัด ซึ่งประสบการณ์นี้เป็นประโยชน์ต่อหลักสูตรจิตวิทยาการปรึกษาในการพัฒนาแนวทางการดูแลตนเองของนักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัดในประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This research proposed to study the self-care experiences of counselor-in-training through mindfulness. This qualitative research used Interpretative Phenomenological Analysis (IPA) and data were collected via in-depth interviews. Key informants were 6 purposively selected counselor trainees who practiced mindfulness regularly and continuously aged between 24-36 years. Data analysis resulted in 4 themes (1) Negative emotions and states informants experienced during the internship included feeling overwhelmed by client’s stories, self-blaming, anxiety, professional self-doubt, and physical fatigue. (2) Using mindfulness to cope with the negative impacts of internship, it was found that informants experienced loss of focus and were unable to use mindfulness to cope and used supportive factors to help them return to the state of mindfulness. Informants indicated that the effectiveness of mindfulness depends on the consistency of mindfulness practice. (3) Mindfulness practice impacted on the informants’ self-care, professional and personal life. (4) The informants stated about using mindfulness techniques with clients and what they learned from that. The informants also emphasized the need for mindfulness training for counselor trainees. This experience is beneficial to the counseling psychology program in developing more effective self-care guidelines for counselor-in-training in Thailand.

Included in

Psychology Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.