Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Relationships among music engagement, meaning in life, and subjective well-being of older adults participated in musical activities: a mixed methods study

Year (A.D.)

2023

Document Type

Thesis

First Advisor

อรัญญา ตุ้ยคำภีร์

Faculty/College

Faculty of Psychology (คณะจิตวิทยา)

Degree Name

ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาเอก

Degree Discipline

จิตวิทยา

DOI

10.58837/CHULA.THE.2023.552

Abstract

การวิจัยแบบผสานวิธีแบบข้อมูลบรรจบกันนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความผูกพันกับดนตรี ความหมายในชีวิต และความสุขเชิงอัตวิสัยของผู้สูงอายุที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมดนตรี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณเป็นผู้สูงอายุ 557 คน (มีส่วนร่วมในกิจกรรมดนตรีแบบผู้บริโภค 304 คน และแบบลงมือทำ 253 คน) การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นผู้สูงอายุ 16 คน (มีส่วนร่วมในกิจกรรมดนตรีแบบผู้บริโภคและลงมือทำกลุ่มละ 8 คน) ผลการวิจัยพบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างความผูกพันกับดนตรี ความหมายในชีวิต และความสุขเชิงอัตวิสัยของผู้สูงอายุที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมดนตรี มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า Chi-square = 23.27, df = 17, p = .14, CFI = 0.999, GFI = 0.992, และ RMSEA = 0.026 ตัวแปรอิสระทั้ง 2 ตัวแปร สามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรตามความสุขเชิงอัตวิสัยได้ คิดเป็นร้อยละ 54.4 ปัจจัยที่มีอิทธิพลสูงสุด ได้แก่ ความหมายในชีวิต ตามมาด้วย ความผูกพันกับดนตรี ส่วนผลการตรวจสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างตัวแปรทั้งสามที่ศึกษา 2 โมเดล (โมเดลที่ 1 ในผู้สูงอายุที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมดนตรีแบบเป็นผู้บริโภค และ โมเดลที่ 2 ผู้สูงอายุที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมดนตรีแบบลงมือทำ) พบว่าทั้ง 2 โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีแบบแผนความสัมพันธ์ไม่แตกต่างกัน งานเชิงคุณภาพพบว่า แก่นสาระประสบการณ์ผู้สูงอายุที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมดนตรีแบบเป็นผู้บริโภคและแบบลงมือทำ ครอบคลุม 4 ประเด็น ได้แก่ (1) การมีส่วนร่วมในกิจกรรมดนตรีของผู้สูงอายุในฐานะส่วนหนึ่งในการใช้ชีวิตประจำวันหรือเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของตน (2) กิจกรรมทางดนตรีเอื้อต่อความสัมพันธ์ทางสังคม โดยกิจกรรมดนตรีเป็นสื่อกลางในการสร้างความสัมพันธ์หรือเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง (3) กิจกรรมทางดนตรีเอื้อต่อการมีสุขภาวะกายใจ ด้วยการปรับอารมณ์และการฟื้นฟูกายและใจ และ (4) ดนตรีมีส่วนในการพัฒนาตนเชิงบวก และการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าความหมายของผู้สูงอายุ

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This convergent mixed methods study aimed to examine music engagement, meaning in life, and subjective well-being of older adults participating in musical activities. Participants were 557 older adults (304 passively participants and 253 actively participants) for quantitative study, and 16 older adults for qualitative study. Findings revealed that the correlational model of music engagement, meaning in life, and subjective well-being of older adults participating in musical activities was fitted well with the empirical data. (Chi-square = 23.27, df = 17, p = .14, CFI = 0.999, GFI = 0.992, and RMSEA = 0.026). Music engagement and meaning in life collectively explained 54.4 percents of the variance in subjective well-being. Meaning in life emerged as the most significant factor, followed by music engagement. There is no difference of the models between the active music participation group and the passive music participation group. The qualitative study revealed four main themes: (1) Music activity as a leisure activity or as an intrinsic part of oneself, (2) Musical activities’ contribution to social relationships: music as a medium for building good relationships, (3) Music activity’s effectiveness in mental; assisting in mood adjustment and mind refreshing, and (4) Music plays a role in positive personal development and the meaning of life among the elderly.

Included in

Psychology Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.