Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

A study of predictive factors of cyberbullying and cybervictimization

Year (A.D.)

2023

Document Type

Thesis

First Advisor

อภิชญา ไชยวุฒิกรณ์วานิช

Faculty/College

Faculty of Psychology (คณะจิตวิทยา)

Degree Name

ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาเอก

Degree Discipline

จิตวิทยา

DOI

10.58837/CHULA.THE.2023.557

Abstract

งานวิจัยชิ้นนี้แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระยะ โดยการศึกษาระยะที่ 1 จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนามาตรวัดเชิงสถานการณ์ของการรังแกบนโลกไซเบอร์ เพื่อนำมาใช้พิจารณาวิเคราะห์ผลร่วมกับการศึกษาในระยะที่ 2 ซึ่งเป็นการศึกษาปัจจัยทำนายที่เป็นสาเหตุของการรังแกบนโลกไซเบอร์และ การตกเป็นเหยื่อบนโลกไซเบอร์ วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ 1) เพื่อพัฒนามาตรวัดการเชิงสถานการณ์รังแกบนโลกไซเบอร์ และ 2 ) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านเทคโนโลยี การหลงตัวเองแบบให้ค่าสูง การเห็นคุณค่าในตนเอง ความเห็นอกเห็นใจ ต่อการรังแกบนโลกไซเบอร์และการตกเป็นเหยื่อบนโลกไซเบอร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีอายุระหว่าง 18-24 ปี ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล แบ่งเป็นการศึกษาระยะที่ 1 จำนวน 95 คน และการศึกษาระยะที่ 1 จำนวน 395 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก และเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ผ่าน Google Form ผลของการพัฒนามาตรวัดการเชิงสถานการณ์รังแกบนโลกไซเบอร์ ผู้เข้าร่วมการวิจัยแสดงความคิดเห็นในแต่ละสถานการณ์ของการรังแกบนโลกไซเบอร์ ผู้เข้าร่วมการวิจัยจะได้อ่านเนื้อหาจากสถานการณ์ในมาตรวัดเชิงสถานการณ์การรังแกบนโลกไซเบอร์ โดยสมมติว่าตนเองเป็นผู้ใช้งานโดยที่ไม่ระบุชื่อและรูปจริงของตนเองในการเล่นเฟสบุ๊คที่ถูกสร้างขึ้น จำนวน 4 สถานการณ์ ได้แก่ 1) นินทา ด่าทอ ล้อเลียน 2) การเผยแพร่ความลับ 3) การใส่ร้าย และ 4) การแอบอ้างชื่อ หรือตัวตน และเขียนบรรยายเสนอความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์การรังแกบนโลกไซเบอร์ในแต่ละสถานการณ์ เพื่อนำมาพัฒนาพัฒนาข้อกระทง การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ พบว่า มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าแบบครอนบาคของมาตรวัดโดยรวม เท่ากับ .98 และมีค่าความสัมพันธ์รายข้อกับข้อคำถามรวม พบว่า ข้อคำถามจำนวน 29 ข้อ ผ่านเกณฑ์ทั้งหมด และมีค่าสหสัมพนธ์แบบเพียร์สัน ซึ่งผลจากการศึกษา พบว่า สถานการณ์การรังแกบนโลกไซเบอร์ มีค่าสหสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความก้าวร้าว (r = .87 , p < .01 , สองหาง) และ มีค่าสหสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความเห็นอกเห็นใจ (r = -.87 , p < .01 , สองหาง) ส่วนผลการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง พบว่า การรับรู้ความสามารถของตนเองด้านเทคโนโลยี มีอิทธิพลทางตรงต่อการรังแกบนโลกไซเบอร์และการตกเป็นเหยื่อบนโลกไซเบอร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 การหลงตัวเองแบบให้ค่าสูงมีอิทธิพลทางตรงต่อการรังแกบนโลกไซเบอร์และการตกเป็นเหยื่อบนโลกไซเบอร์ และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อการรังแกบนโลกไซเบอร์ผ่านความเห็นอกเห็นใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 ในขณะที่การเห็นคุณค่าในตนเองไม่พบว่ามีอิทธิพลต่อการรังแกบนโลกไซเบอร์และการตกเป็นเหยื่อบนโลกไซเบอร์ ส่วนความเห็นอกเห็นใจไม่มีอิทธิพลกำกับความสัมพันธ์ระหว่างการรังแกบนโลกไซเบอร์และการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านเทคโนโลยีและการเห็นคุณค่าในตนเอง

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This research is divided into two studies. Study 1 was conducted to develop a situational measure of cyberbullying, which will be used in conjunction with study 2 to analyze the predictive factors causing cyberbullying and cybervictimization. The objectives of this research are: 1) to develop a situational measure of cyberbullying, and 2) to study the influence of ICT self-efficacy, narcissistic grandiosity, self-esteem, and empathy on cyberbullying and cybervictimization. The sample consisted of individuals aged 18-24 years living in Bangkok and its metropolitan area, with 95 participants in study 1 and 395 participants in study 2. The sample was selected using convenience sampling, and data was collected via an online questionnaire through Google Forms. The results of developing the cyberbullying situational scale involved participants providing feedback on each cyberbullying scenario. Participants read the scenarios, assuming they were anonymous users on a simulated Facebook account. The measure included four scenarios: 1) Harassment, 2) Outing and Trickery, 3) Denigration, and 4) Impersonation and write a description and opinion related to each scenario of cyberbullying to help develop items. The instrument’s quality assessment showed a Cronbach’s alpha coefficient of .98 for the overall measure, and the corrected item-total correlation (CITC) for all 29 items met the criteria. Pearson’s correlation analysis revealed that the cyberbullying situation had a statistically significant positive correlation with aggression (r = .87, p < .01, two-tailed) and a significant negative correlation with empathy (r = -.87, p < .01, two-tailed). Structural equation modeling (SEM) analysis found that ICT self-efficacy had a direct and statistically significant effect on both cyberbullying and cybervictimization (p < .01). Narcissistic Grandiosity had a direct effect on both cyberbullying and cybervictimization and an indirect effect on cyberbullying through empathy (p < .01). Self-esteem did not show any significant effect on cyberbullying or cybervictimization, and empathy did not moderate the relationship between cyberbullying and ICT self-efficacy or self-esteem.

Included in

Psychology Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.