Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Effects of physical education learning activities using stad technique on aggressive behaviors of upper elementary students

Year (A.D.)

2023

Document Type

Thesis

First Advisor

วริศ วงศ์พิพิธ

Second Advisor

สุธนะ ติงศภัทิย์

Faculty/College

Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)

Department (if any)

Department of Curriculum and Instruction (ภาควิชาหลักสูตรและการสอน)

Degree Name

ครุศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

สุขศึกษาและพลศึกษา

DOI

10.58837/CHULA.THE.2023.350

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมก้าวร้าวก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลอง และ 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมก้าวร้าวหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดสตูล ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) จำนวน 64 คน แบ่งเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มทดลอง จำนวน 32 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 32 คน ดำเนินการทดลองเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 วัน วันละ 1 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้เทคนิค STAD จำนวน 8 แผน (IOC = 0.95) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินพฤติกรรมก้าวร้าวโดยครู (IOC = 0.92) และ แบบประเมินพฤติกรรมก้าวร้าวโดยผู้ปกครอง (IOC = 0.98) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์หาค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เปรียบเทียบด้วยค่าที ก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลอง (Paired sample t-test) และเปรียบเทียบด้วยค่าที หลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม (Independent sample t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมก้าวร้าวของกลุ่มทดลองหลังการทดลอง สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมก้าวร้าวของกลุ่มทดลอง หลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การวิจัยครั้งนี้ สามารถสรุปได้ว่าการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้พลศึกษาด้วยเทคนิค STAD สามารถนำมาใช้ปรับพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนให้ลดลงได้

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The objectives of this study were: 1) to compare the average scores of aggressive behaviour before and after the experiment of the experimental group, and 2) to compare the average scores of aggressive behaviors after the experiment between the experimental and the control groups. Participants were primary school students in schools in Satun province. Using purposive sampling, sixty–four students were recruited and divided into two groups: an experimental group and a control groups, each consisting of thirty-two students. The experiment was conducted for one hour per session, once a week, over 8 weeks. The research tools included eight lesson plans integrating the STAD technique (IOC = 0.95), aggressive behavior assessment forms by teachers (IOC = 0.92), and aggressive behavior assessment forms by parents, (IOC = 0.98). Data analysis using a computer involved calculating means and standard deviations and conducting t–tests using paired sample t–tests and independent sample t-tests. The findings revealed that: 1) the average score of aggressive behavior of the experimental group after the experiment were significantly higher than before the experiment (p

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.