Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Efects of physical education learning activities using manipulative movement on spatial ability of lower secondary students

Year (A.D.)

2023

Document Type

Thesis

First Advisor

รวิศรา ตรงจิตพิทักษ์

Second Advisor

สุธนะ ติงศภัทิย์

Faculty/College

Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)

Department (if any)

Department of Curriculum and Instruction (ภาควิชาหลักสูตรและการสอน)

Degree Name

ครุศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

สุขศึกษาและพลศึกษา

DOI

10.58837/CHULA.THE.2023.354

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นหลังการทดลองระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 60 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับการกิจกรรมการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์ร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้ของบรูเนอร์ จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบปกติ จำนวน 30 คน ดำเนินการทดลองระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 วัน วันละ 60 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์ ร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้ของบรูเนอร์ จำนวน 8 แผน (IOC=0.87) 2) แบบทดสอบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ ซึ่งเป็นแบบทดสอบที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นตามแนวคิดของ Newton (2009) (IOC = 0.96) การวิจัยนี้แสดงผลเป็นค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้สถิติ paired t-test เพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม และ independent t-test เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความสามารถด้านมิติสัมพันธ์หลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยตั้งค่านัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถด้านมิติสัมพันธ์รวมทุกองค์ประกอบของกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถด้านมิติสัมพันธ์รวมทุกองค์ประกอบก่อนการทดลองกับหลังการทดลองไม่แตกต่างกัน 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถด้านมิติสัมพันธ์รวมทุกองค์ประกอบหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purposes of this study were: 1) to compare the spatial ability scores before and after of the experimental group and the control group, and 2) to compare the spatial ability scores between the experimental group and the control group after implementation. Sixty students participated in this study. They were divided into two groups of 30 students. The control group received a traditional physical education program while the experimental group received an applied physical education program with manipulative movement activities with Bruner's learning theory. The applied physical education program spanned 8 weeks, with sessions held once per week for 60minutes each. The research tools included 1) eight lesson plans integrating manipulative movement activities aligned with Bruner's learning theory (IOC=0.87), and 2) a spatial ability test grounded in Newton's ideas (IOC=0.96). Data analysis involved calculating the mean, standard deviation, and the results shows in mean and standard deviation. Paired t-test was used to compare between pre-test and post-test in both groups. Independent t-test was used to compare between groups. The statistical significance is set at .05. The results showed that: 1) the average spatial ability scores of the experimental group after implementation were significantly higher than those before the implementation at the .05 level of significance, the control group ability scores before and after the implementation were no different; and 2) the average spatial ability scores of the experimental group after the implementation were significantly higher than the control group at .05 level of significance.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.