Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Academic management innovation of private secondary schools based on the concept of self-leadership

Year (A.D.)

2023

Document Type

Thesis

First Advisor

ธีรภัทร กุโลภาส

Second Advisor

สุกัญญา แช่มช้อย

Faculty/College

Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)

Department (if any)

Department of Educational Policy, Management, and Leadership (ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา)

Degree Name

ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาเอก

Degree Discipline

บริหารการศึกษา

DOI

10.58837/CHULA.THE.2023.363

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารงานวิชาการโรงเรียนเอกชนระดับมัธยมศึกษา และกรอบแนวคิดภาวะผู้นำในตนเอง 2) ศึกษาระดับภาวะผู้นำในตนเองของนักเรียนมัธยมศึกษาเอกชน 3) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนเอกชนระดับมัธยมศึกษาตามแนวคิดภาวะผู้นำในตนเอง 4) พัฒนานวัตกรรมการบริหารงานวิชาการโรงเรียนเอกชนระดับมัธยมศึกษาตามแนวคิดภาวะผู้นำในตนเอง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยผสมวิธีพหุระยะ (Multiphase Mixed Methods) จำนวน 4 ระยะ ประชากร คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) จำนวน 795 โรงเรียน โดยสุ่มตัวอย่างวิจัย ได้จำนวนตัวอย่างขั้นต่ำเท่ากับ 259 โรงเรียน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น และการสุ่มอย่างง่ายผู้ให้ข้อมูล แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) ผู้บริหารโรงเรียน ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน 2) รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ หรือผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการหรือหัวหน้างานหลักสูตร 3) ครูผู้สอน จำนวน 1 คน 4) นักเรียนระดับมัธยมศึกษา และ 5) ผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัด แบบประเมิน แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้ความถี่ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาแบบจับประเด็น ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารงานวิชาการโรงเรียนเอกชนระดับมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ (1) การพัฒนาหลักสูตร (2) การจัดการเรียนการสอน และ (3) การวัดและประเมินผล และกรอบแนวคิดภาวะผู้นำในตนเอง ประกอบด้วย 8 ด้าน คือ 1) การตระหนักรู้ในตนเอง (Self-Awareness) 2) การจัดการตนเอง (Self-Management) 3) การรับรู้ศักยภาพในตนเอง (Self-Efficacy) 4) การมีคุณธรรมในตนเอง (Self-Integrity) 5) การสร้างแรงจูงใจในตนเอง (Self-Motivation) 6) การเป็นผู้ประกอบการด้วยตนเอง (Self-Entrepreneurship) 7) การสร้างนวัตกรรมด้วยตนเอง (Self-Innovation) 8) การพัฒนาตนเอง (Self-Development) 2) ระดับภาวะผู้นำในตนเองของนักเรียนมัธยมศึกษาเอกชนโดยรวมอยู่ในระดับสูง ในภาพรวม พบว่า ภาวะผู้นำในตนเอง (Self-Leadership) ของนักเรียนมัธยมศึกษาเอกชน ด้านที่มีระดับสูงที่สุด คือ การมีคุณธรรมในตนเอง (Self-Integrity), การสร้างแรงจูงใจในตนเอง (Self-Motivation), การพัฒนาตนเอง (Self-Development), การจัดการตนเอง (Self-Management), การรับรู้ศักยภาพในตนเอง (Self-Efficacy) และการตระหนักรู้ในตนเอง (Self-Awareness) ตามลำดับ ด้านที่มีระดับปานกลาง คือ การสร้างนวัตกรรมด้วยตนเอง (Self-Innovation) และการเป็นผู้ประกอบการด้วยตนเอง (Self-Entrepreneurship) ตามลำดับ 3) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนเอกชนระดับมัธยมศึกษาตามแนวคิดภาวะผู้นำในตนเอง โดยภาพรวมพบว่า พบว่า พบว่า การจัดการเรียนการสอนในด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้ (PNImodified = 0.570) มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด รองลงมาคือการพัฒนาหลักสูตรในด้านการออกแบบหลักสูตร (PNImodified = 0.558) และ การพัฒนาหลักสูตรในด้านการกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร (PNImodified = 0.528) และการจัดการเรียนการสอนในด้านการออกแบบการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร (PNImodified = 0.509) และการวัดและประเมินผลในด้านการพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผล (PNImodified = 0.457) และการวัดและประเมินผลในด้านการพัฒนาแนวทางการวัดและประเมินผล (PNImodified = 0.431) ตามลำดับ และ 4) นวัตกรรมการบริหารงานวิชาการโรงเรียนเอกชนระดับมัธยมศึกษาตามแนวคิดภาวะผู้นำในตนเอง คือ นวัตกรรมการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำในตนเองของนักเรียน (Academic Management Innovation for Enhancing Students’ Self-Leadership) ประกอบด้วย 3 โมดูลได้แก่ โมดูลที่ 1 : การสร้างหลักสูตรร่วมคิดร่วมสร้างเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำในตนเอง (Co-Creating Collaborative Curriculums for Enhancing Self-Leadership) โมดูลที่ 2 : การออกแบบการจัดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำในตนเอง (Transformative Learning Management Design for Enhancing Self-Leadership) โมดูลที่ 3 : กระบวนทัศน์การประเมินความก้าวหน้า เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำในตนเอง (Progressive Assessment Paradigms for Enhancing Self-Leadership)

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purposes of this research were: 1) Investigate the academic administration framework of private secondary schools and the concept of Self-Leadership. 2) Assess the level of Self-Leadership among private secondary school students. 3) Determine the necessary requirements for developing academic administration in private secondary schools based on the concept of Self-Leadership. 4) Propose innovations in academic administration for private secondary education using the concept of Self-Leadership. The research method employed was Multiphase Mixed Methods, comprising 4 phases. The study population included 795 of all private secondary schools under the Office of the Private Education Commission (OPEC), with a sample size of 259 schools obtained through stratified random sampling and simple randomization. The participants were divided into 5 groups: 1) School administrators, including school directors. 2) Deputy directors, assistant directors involved with academic administration, or program supervisors. 3) Teachers. 4) Secondary school students. 5) Experts. Research tools included measurement forms, assessment forms, questionnaires, and interviews. Statistical analysis involving means, frequencies, standard deviations, and content analysis was performed to provide quantified data. The research findings revealed: 1) The conceptual framework of academic administration in private secondary schools consists of three aspects: Curriculum Development, Teaching and Learning Management, and Measurement and Evaluation. The Self-Leadership concept includes eight attributes: Self-Awareness, Self-Management, Self-Efficacy, Self-Integrity, Self-Motivation, Self-Entrepreneurship, Self-Innovation, and Self-Development. 2) The overall level of Self-Leadership among private high school students was found to be high, with the areas of Self-Integrity, Self-Motivation, Self-Development, Self-Management, Self-Efficacy, and Self-Awareness showing the highest levels. The areas of Self-Innovation and Self-Entrepreneurship were rated at a moderate level. 3) In private secondary schools, there is a need to enhance academic administration through Self-Leadership. The greatest need for development was found to be in teaching management, specifically in learning management design (PNImodified = 0.570), followed by further development in curriculum design (PNImodified = 0.558), setting curriculum objectives (PNImodified = 0.528), designing extracurricular activities (PNImodified = 0.509), and the development of specialized measurement and evaluation tools (PNImodified = 0.457) and the establishment of guidelines (PNImodified = 0.431) in the area of measurement and evaluation. 4) The research also proposed three modules for academic management innovation to enhance students' Self-Leadership: Module 1: Co-Creating Collaborative Curriculums for Enhancing Self-Leadership, Module 2: Transformative Learning Management Design for Enhancing Self-Leadership, and Module 3: Progressive Assessment Paradigms for Enhancing Self-Leadership.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.