Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Development of an innovative learning media with augmented reality technology to enhance scientific concepts of upper secondary students

Year (A.D.)

2024

Document Type

Thesis

First Advisor

สายรุ้ง ซาวสุภา

Faculty/College

Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)

Department (if any)

Department of Curriculum and Instruction (ภาควิชาหลักสูตรและการสอน)

Degree Name

ครุศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

การศึกษาวิทยาศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.2024.22

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเพื่อส่งเสริมมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ลิพิด สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ใช้รูปแบบการวิจัย คือ การวิจัยและพัฒนา (Research and development, R&D) กลุ่มเป้าหมายหลักในงานวิจัยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูสอนเคมีและครูสอนชีววิทยา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 6 ท่าน 2) ผู้ประเมินสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตสื่อการเรียนรู้ จำนวน 3 ท่าน และนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ผ่านประสบการณ์เรียนเรื่อง ลิพิด มาแล้ว จำนวน 15 คน และ 3) นักเรียนกลุ่มทดลอง ได้แก่ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบบันทึกสัมภาษณ์ออนไลน์แบบมีโครงสร้างเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานและลักษณะสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ผสานเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม 2) สื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ความเป็นจริงเสริม 3) แบบประเมินความความเหมาะสมและสอดคล้องของสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scales) 5 ระดับ 4) แบบวัดมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ มีลักษณะเป็นแบบปรนัย 2 ระดับ ซึ่งตอนที่ 1 เป็นข้อคำถามชนิดปรนัย และตอนที่ 2 เป็นแบบอัตนัยหรือเขียนอธิบายคำตอบที่เลือกตอบในตอนที่ 1 และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scales) 5 ระดับ ผลการวิจัยพบว่า การประเมินสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้โดยผู้เชี่ยวชาญและนักเรียน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.73 (SD = 0.41) และ 4.52 (SD = 0.58) ตามลำดับ จัดอยู่ในระดับความคิดเห็นมากที่สุด และประสิทธิภาพของสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ พบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยมโนทัศนทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ลิพิด ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 (p < .05), 2) ค่าดัชนีประสิทธิผล มีค่าเท่ากับ 0.5112 หรือช่วยให้นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้มโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ลิพิด ได้ ร้อยละ 51.12, 3) จำนวนนักเรียนที่มีระดับมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ลิพิด ที่เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 70.83-87.50 และ 4) ความพึงพอใจต่อสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ในภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.35 (SD = 0.69) จัดอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความเป็นจริงเสริมมีประสิทธิภาพในการพัฒนามโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ลิพิด สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยได้รับการสนับสนุนจากทั้งผู้ประเมินและผู้เรียน

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This study aimed to develop innovative learning tools using augmented reality (AR) technology to enhance understanding of lipid-related scientific concepts among upper secondary students. Employing a research and development (R&D) approach, the research engaged three key groups: 1) Six chemistry and biology teachers from upper secondary levels as informants, 2) Three content experts and learning media technicians as evaluators of the innovative learning media, along with fifteen 11th-grade students with prior lipid learning experience, and 3) A 10th grade classroom as participants. Research instruments included: 1) A structured online interview form to capture foundational information and characteristics of the AR-based learning media, 2) The AR-based Innovative Learning Media itself, 3) Evaluation of the media's suitability and consistency using a 5-level rating scale, 4) A science concept test comprising two-tier multiple-choice questions and subjective explanations for selected answers, and 5) A satisfaction questionnaire utilizing a 5-level rating scale. Results indicated high approval from both experts (average score 4.73, SD = 0.41) and students (average score 4.52, SD = 0.58) regarding the effectiveness of the AR learning media: 1) The mean score of scientific concept on lipid of students after learning was significantly higher than before learning at the statistical level of 0.5 (p < .05), 2) An effectiveness index (E.I.) of 0.5112 demonstrated a notable 51.12% increase in understanding of lipid concepts, 3) The number of students with an increased level of lipid concepts is 70.83-87.50% and 4) Student satisfaction with the innovative learning media was notably high, averaging 4.35 (SD = 0.69). This research underscores the efficacy of AR technology in improving lipid concept comprehension among upper secondary students, with strong endorsement from both evaluators and learners alike.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.