Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Multigrade science teaching in small primary schools, Nakhon Nayok province
Year (A.D.)
2023
Document Type
Thesis
First Advisor
สลา สามิภักดิ์
Faculty/College
Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)
Department (if any)
Department of Curriculum and Instruction (ภาควิชาหลักสูตรและการสอน)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
การศึกษาวิทยาศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2023.373
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและ เชิงคุณภาพเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการตรวจสอบสามเส้าของข้อมูล โดยการวิจัยระยะที่ 1 มีการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ผลการวิจัยพบว่า โดยภาพรวมปัญหาที่ครูผู้สอนกำลังเผชิญ อยู่ในปัจจุบันมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ภาระงานนอกจากงานสอนมักเบียดเบียนเวลา ในการสอนวิชาวิทยาศาสตร์แบบคละชั้นเรียน (57.69%) ครูรู้สึกหนักใจที่ต้องสอนวิชา วิทยาศาสตร์แบบคละชั้นเรียน (51.92%) ครูได้รับมอบหมายให้สอนในวิชาที่ไม่ตรงกับ วิชาเอก ครูไม่ได้รับการฝึกทักษะ หรือฝึกอบรมเกี่ยวกับการสอนแบบคละชั้นเรียน และนักเรียนในห้องเรียนคละชั้นมักตั้งใจเรียนน้อยลงเมื่อเรียนกับเพื่อนต่างระดับชั้น (46.15%) และการวิจัยระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล กับครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์แบบคละชั้นเรียนจำนวน 3 ท่าน ผลการค้นหาและวิเคราะห์ แบบแก่นสาระ จะทำให้สามารถแก้ไขปัญหาการศึกษาวิทยาศาสตร์แบบคละชั้นเรียน ได้สอดคล้องกับสภาพที่เป็นจริงในบริบทของประเทศไทยได้อย่างดียิ่งขึ้น จากการพิจารณา ตามกรอบ TEPO ได้แก่ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน (Teaching Environment) กระบวนการจัดการเรียนการสอน (Teaching Process) และความรู้ พฤติกรรม ทักษะ หรือความเข้าใจที่สามารถครูมุ่งหวัง (Teaching Outcome) ทำให้เห็นถึงปัญหา ที่ควรให้ความสำคัญและได้รับการแก้ไขทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ การทำความเข้าใจระหว่าง ทฤษฎีกับการปฏิบัติการสอนจริง การขาดแคลนทรัพยากรต่าง ๆ ที่จำเป็น การเข้าถึงบริบท ของผู้เรียน และการปรับเปลี่ยนทัศนคติของครูผู้สอน ซึ่งทั้ง 4 แก่นสาระนี้จัดเป็นข้อมูล สภาพจริงที่ค้นพบได้จากการสำรวจค้นหาในการวิจัยครั้งนี้และเป็นข้อมูลที่สำคัญของการพัฒนา คุณภาพการศึกษาวิทยาศาสตร์แบบคละชั้นเรียนในบริบทประเทศไทยให้ดียิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This research is a mixed-method approach, gathering both quantitative and qualitative data to triangulate findings. Phase 1 involved collecting quantitative data through a survey of all multigrade science teachers in the province using questionnaires. The findings identified the top five challenges faced by teachers: workload, feeling overwhelmed by multigrade teaching, teaching beyond expertise, lack of training, and student focus issues. Phase 2 is Qualitative Research, engaged in qualitative research by collecting data from three multigrade science teachers through thematic analysis. The thematic analysis allowed for a deeper understanding of the issues and provided insights into potential solutions. It highlighted the importance of addressing teaching environment, teaching process, and teaching outcomes to improve the quality of multigrade science education. Four key issues emerged from the research findings that require attention and resolution: the gap between theoretical knowledge and practical teaching, insufficient availability of essential resources, limited access to learners' contexts, and the need to change teachers' attitudes. These findings represent real information gathered from the survey and hold significance for improving the quality of science education in Thailand.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
มากเจริญ, ณัฐฐมาศ, "สภาพการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์แบบคละชั้นเรียน
ในโรงเรียนระดับประถมศึกษาขนาดเล็ก จังหวัดนครนายก" (2023). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 12191.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/12191