Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Strategies for developing trustworthy leadership of primary school administrators
Year (A.D.)
2023
Document Type
Thesis
First Advisor
พงษ์ลิขิต เพชรผล
Second Advisor
ธีรภัทร กุโลภาส
Faculty/College
Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)
Department (if any)
Department of Educational Policy, Management, and Leadership (ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา)
Degree Name
ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาเอก
Degree Discipline
บริหารการศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2023.390
Abstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดภาวะผู้นำที่ไว้วางใจได้และกรอบแนวคิดการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา 2) ศึกษาระดับความไว้วางใจของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา 3) ศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการพัฒนาภาวะผู้นำที่ไว้วางใจได้ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา และ4) พัฒนากลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำที่ไว้วางใจได้ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนที่เปิดสอนในระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และผู้ให้ข้อมูลประกอบไปด้วย ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ และครู ทั้งสิ้น 1,185 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบสุ่มหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายคำนวณค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหาจากบทสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดภาวะผู้นำที่ไว้วางใจได้ ประกอบไปด้วย 4 ด้านได้แก่ (1) ด้านสมรรถนะการบริหารจัดการ (2) ด้านความพึ่งพาได้ในคำพูดและการกระทำที่สุจริต (3) ด้านความเปิดเผยและเปิดกว้าง และ(4) ด้านความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น กรอบแนวคิดการพัฒนาภาวะผู้นำ ประกอบไปด้วย 2 การเรียนรู้ ได้แก่ (1) การเรียนรู้รายบุคคล มีการเรียนรู้ย่อย 5 การเรียนรู้ ได้แก่ การเรียนรู้ผ่านการเป็นกระบวนกร การเรียนรู้ผ่านการเป็นพี่เลี้ยง การเรียนรู้ผ่านการเป็นโค้ช การเรียนรู้ผ่านการเนที่ปรึกษา และการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และ (2) การเรียนรู้แบบกลุ่ม มีการเรียนรู้ย่อย 4 การเรียนรู้ ไก่แก่ การเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ การเรียนรู้ผ่านการอบรมพักแรมนอกสถานที่ การเรียนรู้ผ่านเครือข่ายและการเยี่ยมชมโรงเรียน และการเรียนรู้ผ่านแฟ้มสะสมผลงาน 2) ระดับความไว้วางใจของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา พบว่า ด้านความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และด้านสมรรถนะในการบริหารจัดการ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 3) จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการพัฒนาภาวะผู้นำที่ไว้วางใจได้ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา พบว่า จุดแข็งคือ การเรียนรู้รายบุคคลผ่านการเป็นที่ปรึกษาด้านสมรรถนะในการบริหารจัดการมากที่สุด ในทางกลับกัน จุดอ่อนที่สูงที่สุด คือการเรียนรู้แบบกลุ่มผ่านการอบรมแบบพักแรมในด้านสมรรถนะในการบริหารจัดการ ปัจจัยทางเทคโนโลยีเอื้อต่อการพัฒนาด้านสมรรถนะการบริหารจัดการผ่านการเป็นโค้ชมากที่สุด ในทางตรงกันข้าม ปัจจัยทางเทคโนโลยีเป็นภาวะคุกคามต่อการเรียนรู้แบบกลุ่มผ่านแฟ้มสะสมงานในด้านความเห็นอกเห็นใจสูงที่สุด 4) กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำที่ไว้วางใจได้ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ประกอบไปด้วย 2 กลยุทธ์หลัก คือ (1) พลิกโฉมการเรียนรู้แบบกลุ่มเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำที่ไว้วางใจได้ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ประกอบไปด้วย 4 กลยุทธ์รอง และ (2) การจุดประกายการเรียนรู้รายบุคคลเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำที่ไว้วางใจได้ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ประกอบไปด้วย 5 กลยุทธ์รอง
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This research aimed to 1) study the concept of trustworthy leadership and the leadership development for primary school administrators. 2) assess the level of trust in primary school administrators. 3) analyze the strengths, weaknesses, opportunities, and threats in developing trustworthy leadership for primary school administrators. 4) develop strategies for enhancing trustworthy leadership among primary school administrators. A multiphase mixed methods research approach was used. The sample group consisted of schools offering primary education under the Office of the Basic Education Commission, obtained through multi-stage random sampling. The informants included directors, deputy directors, and teachers, totaling 1,185 people, selected using a multi-step random selection method. The statistics for data analysis included frequency, percentage, mean, SD, PNImodified, and content analysis from the focus group. The finding revealed that 1) The trustworthy leadership framework consists of 4 aspects: (1) Competence; (2) Reliability in word and action with integrity; (3) Openness; and (4) Caring and concern. For leadership development framework consists of 2 learning areas: (1) Individual learning, with five sub-learnings: facilitation, mentoring, coaching, online systems and E-learning. (2) Group learning, with four sub-learnings: Action learning, residential and off-site learning, networks and school visit, and portfolio. 2) The trust level of primary school administrators found that caring and concern had the highest average, while competence had the lowest average. 3) The SWOT analysis for developing trustworthy leadership for primary school administrators revealed the following: Individual learning through mentoring in management competencies is the strongest strength. while the weakest is group learning through camp training in competence. Technological factors supporting the development of management competencies through coaching the most, whereas technological factors posing risks to group learning through portfolios in terms of empathy. 4) The strategy for developing trustworthy leadership for primary school administrators consists of 2 key strategies: (1) Transforming group learning to develop trustworthy leadership, consisting of 4 minor strategies. And 2) Sparking individual learning to develop trustworthy leadership, consisting of 5 minor strategies.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
สมเดช, สิทธิพงศ์, "กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำที่ไว้วางใจได้ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา" (2023). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 12170.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/12170