Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Development of a 3d virtual learning environment with stem problem based learning to enhance critical thinking of high school students

Year (A.D.)

2023

Document Type

Thesis

First Advisor

พรสุข ตันตระรุ่งโรจน์

Second Advisor

จินตวีร์ คล้ายสังข์

Faculty/College

Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)

Department (if any)

Department of Educational Communication and Technology (ภาควิชาเทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา)

Degree Name

ครุศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

DOI

10.58837/CHULA.THE.2023.417

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เสมือนแบบ 3 มิติร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 2) ศึกษาผลของการใช้รูปแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เสมือนแบบ 3 มิติร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3) นำเสนอรูปแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เสมือนแบบ 3 มิติร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนวิทยาศาสตร์ ด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา และด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ จำนวน 9 คน โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 40 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินรูปแบบ รูปแบบการจัดการเรียนการสอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบประเมินชิ้นงาน โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเพื่อศึกษาพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบเปรียบเทียบ Dependent Sample T-Test ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบฯที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบสำคัญ คือ 1) ผู้สอน 2) ผู้เรียน 3) เป้าหมายการเรียนรู้ 4) การวัดและประเมินผล และมีขั้นตอนทั้งหมด 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นกำหนดปัญหา ขั้นทำความเข้าใจกับปัญหา ขั้นดำเนินการศึกษาค้นคว้า ขั้นสังเคราะห์ความรู้ ขั้นสรุปและประเมินผล ขั้นนำเสนอและประเมินผลงาน ผลการทดลอง พบว่า รูปแบบฯที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสม และจากการใช้รูปแบบฯ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purposes of this research were to: 1) develop a 3D virtual learning environment with STEM problem-based learning to enhance the critical thinking skills of high school students, 2) test the effectiveness of this model, and 3) propose a refined model based on the findings. During the model development phase, the study involved nine specialists and experts in science teaching, educational technology and communications, and critical thinking. The model was experimented with 40 high school students selected through purposive sampling. Research instruments included an expert interview form, a model evaluation form, and an instructional model. Data were collected using a critical thinking measurement form and a model assessment form. Statistical analysis was conducted using a dependent samples t-test. The developed instructional model comprised four main components: 1) teacher, 2) student, 3) learning objectives, and 4) measurement and evaluation. The model followed six instructional steps: problem identification, related information search, knowledge research, synthesis, testing and design improvement, and presentation. Results indicated that the 3D virtual learning environment with STEM problem-based learning model was appropriate for implementation. High school students' critical thinking abilities improved significantly after studying with the instructional model. Students' post-test mean scores for critical thinking abilities were significantly higher than pre-test mean scores at the .01 level of significance.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.