Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
A model of electronic portfolio in online experiential learning to enhance work creation of undergraduate students
Year (A.D.)
2023
Document Type
Thesis
First Advisor
ประกอบ กรณีกิจ
Faculty/College
Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)
Department (if any)
Department of Educational Communication and Technology (ภาควิชาเทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2023.424
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพและความต้องการการใช้รูปแบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ในการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ออนไลน์เพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงานของนิสิตนักศึกษาปริญญาบัณฑิต 2) เพื่อพัฒนารูปแบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ในการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ออนไลน์เพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงานของนิสิตนักศึกษาปริญญาบัณฑิต 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ในการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ออนไลน์เพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงานของนิสิตนักศึกษาปริญญาบัณฑิต กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาสภาพและความต้องการการใช้แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ฯ เป็นนิสิตนักศึกษาปริญญาบัณฑิตจำนวนทั้งหมด 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาสภาพและความต้องการการใช้รูปแบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ฯ แบบสอบถามสภาพและความต้องการการใช้รูปแบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ฯ กลุ่มตัวอย่างในการพัฒนารูปแบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ฯ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนการสร้างสรรค์ผลงาน จำนวน 3 ท่าน ด้านหลักสูตรและการสอน จำนวน 2 ท่าน ด้านเทคโนโลยีการศึกษาจำนวน 2 ท่าน รวมจำนวน 7 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ฯ ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์สำหรับผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับรูปแบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ฯ และ 2) แบบประเมินรับรองรูปแบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ฯ และกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาผลการใช้รูปแบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ฯ เป็นนิสิตนักศึกษาปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน 52 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาผลการใช้รูปแบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ฯ ได้แก่ 1) แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ 2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) คำถามนำสำหรับการสะท้อนคิด 4) แบบประเมินการสร้างสรรค์ผลงาน และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ ผู้วิจัยกำหนดเวลาในการทดลอง 5 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-Way Repeated Measure ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1. การศึกษาสภาพและความต้องการการใช้แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ในการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ออนไลน์เพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงานของนิสิตนักศึกษาปริญญาบัณฑิต พบว่า ความต้องการจำเป็นในการใช้รูปแบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ฯ เมื่อนำมาจัดลำดับความต้องการจำเป็น คือ ด้านที่ 1 ด้านการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ และ ด้านที่ 2 ด้านการใช้รูปแบบแฟ้มสะสมผลงานในการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ 2. รูปแบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ฯ ที่พัฒนาขึ้นมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ผู้สอน 2) ผู้เรียน 3) กิจกรรมการเรียนรู้ 4) แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ และ 5) การประเมินผล โดยมี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นเตรียมการ 2) ขั้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) ขั้นการเก็บรวบรวมแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ 4) ขั้นการสะท้อนคิด และ 5) ขั้นการประเมินการสร้างสรรค์ผลงาน 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ฯ พบว่า 1) ผลการวิเคราะห์คะแนนการสร้างสรรค์ผลงาน ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 3 และครั้งที่ 5 แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนการประเมินการสร้างสรรค์ผลงานครั้งที่ 5 มีคะแนนสูงกว่าครั้งที่ 3 และครั้งที่ 5 มีคะแนนสูงกว่าครั้งที่ 1 และ 2) คะแนนความพึงพอใจที่มีต่อการใช้รูปแบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ในการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ออนไลน์เพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงานของนิสิตนักศึกษาปริญญาบัณฑิต ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean = 4.55, S.D. = 0.47)
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purpose of this research were 1) to study the user experience and needs of a model of electronic portfolio in online experiential learning to enhance work creation of undergraduate students 2) to develop a model of electronic portfolio in online experiential learning to enhance work creation of undergraduate students 3) to study the use of a model of electronic portfolio in online experiential learning to enhance work creation of undergraduate students. The sample were 400 undergraduate students of studying the user experience and needs of a model of electronic portfolios. The experimental instruments used to study the user experience and needs of a model of electronic portfolio was a questionnaire of the user experience and needs of a model of electronic portfolio. The samples in the develop a model of electronic portfolio consisted of 7 experts. The experimental instruments used are 1) interview form and 2) mobile application evaluation form. The sample in the experiment were 52 undergraduate students using a purposive sampling method. The experimental instruments were 1) the electronic portfolio system, 2) lesson plans, 3) the leading question of reflection, 4) the work creation assessment and 5) the questionnaire of student’s satisfaction. The experimental period lasted 5 weeks. The data were analyzed by using frequency, mean, standard deviation and One-Way Repeated Measure ANOVA analysis. The results indicate that: The study the user experience and needs of a model of electronic portfolio in online experiential learning to enhance work creation of undergraduate students. Students want to organizing online teaching and using a model of electronic portfolio in experiential learning in a model of electronic portfolio in online experiential learning to enhance work creation of undergraduate students 2. The learning process of A Model of Electronic Portfolio in Online Experiential Learning to Enhance Work Creation of Undergraduate Students consisted of 5 components: 1) Teacher 2) Student 3) Learning activities 4) Electronic portfolio and 5) Evaluation and 5 steps as follows: 1) Preparation 2) Organizing learning activities 3) Collection of electronic portfolios 4) Reflection and 5) Evaluation of work creation. 3. The results of the experiment using a model of electronic portfolio found that 1) after five weeks of the experiment, the scores of the work creation in the first, third and fifth session scores were significantly different at the .05 level. The fifth session score was higher than the third session score. And the fifth session score was higher than the first session score. 2) The result of students’ satisfaction showed that a model of electronic portfolio in online experiential learning to enhance work creation of undergraduate students was very satisfied. (Mean = 4.55, S.D. = 0.47)
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
เอี่ยมเจริญลาภ, จิรภัทร, "รูปแบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ในการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ออนไลน์เพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงานของนิสิตนักศึกษาปริญญาบัณฑิต" (2023). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 12124.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/12124