Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Guideline for enhancing readiness in using virtual laboratory of science teachers with different profile groups
Year (A.D.)
2023
Document Type
Thesis
First Advisor
ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ
Second Advisor
สิวะโชติ ศรีสุทธิยากร
Faculty/College
Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)
Department (if any)
Department of Educational Research and Psychology (ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิธีวิทยาการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2023.426
Abstract
ความพร้อมในการใช้ห้องปฏิบัติการเสมือนของครูวิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งสำคัญซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ และการเรียนรู้ของนักเรียน จึงควรมีแนวทางการส่งเสริมความพร้อมในการใช้ห้องปฏิบัติการเสมือนของครูวิทยาศาสตร์ที่เป็นประโยชน์ มีความเฉพาะของกลุ่มอย่างเหมาะสม และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสังเคราะห์ตัวบ่งชี้ความพร้อมในการใช้ห้องปฏิบัติการเสมือนของครูวิทยาศาสตร์ 2) เพื่อจัดกลุ่มครูตามระดับความพร้อมในการใช้ห้องปฏิบัติการเสมือน โดยวิธีการวิเคราะห์โปรไฟล์แฝง และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมความพร้อมการใช้ห้องปฏิบัติการเสมือนของกลุ่มครูวิทยาศาสตร์ที่มีโปรไฟล์ต่างกัน งานวิจัยนี้แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาการใช้ห้องปฏิบัติการเสมือนในการจัดการเรียนการสอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 8 ท่าน ด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ระยะที่ 2 การวิเคราะห์ความพร้อมในการใช้ห้องปฏิบัติการเสมือนของครูวิทยาศาสตร์ ตัวอย่างวิจัยเป็นครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) ในเขตภาคกลาง จำนวน 144 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบ 2 ขั้นตอน โดยใช้แบบสอบถาม ตรวจคุณภาพของเครื่องมือในด้านความตรงเชิงเนื้อหา และความเที่ยงแบบพหุมิติ (Omega=.971 - .984) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์โปรไฟล์แฝง (latent profile analysis) ด้วยโปรแกรม Mplus และระยะที่ 3 การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมความพร้อมการใช้ห้องปฏิบัติการเสมือนของกลุ่มครูวิทยาศาสตร์ที่มีโปรไฟล์ต่างกัน โดยใช้ผลการวิจัยในระยะที่ 2 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ตัวบ่งชี้ความพร้อมในการใช้ห้องปฏิบัติการเสมือนของครูวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ คือ 1) สมรรถนะทางเทคโนโลยีตามโมเดล TPACK 2) ทัศนคติต่อการใช้เทคโนโลยี และ3) ทรัพยากรห้องปฏิบัติการเสมือน โดยสร้างเครื่องมือวัดความพร้อมในการใช้ห้องปฏิบัติการเสมือนของครูวิทยาศาสตร์ มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ แบบลิเคิร์ท ตั้งแต่ 1 - 5 (ไม่เห็นด้วยน้อยที่สุดจนถึงเห็นด้วยมากที่สุด) จำนวน 42 ข้อ 2. ผลการจัดกลุ่มครูตามโปรไฟล์ ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม เขตภาคกลาง ตามความพร้อมในการใช้ห้องปฏิบัติการเสมือนของครูวิทยาศาสตร์ สามารถจำแนกครูได้เป็น 3 กลุ่ม (VLMR =219.881, p=0.0965) และ (AIC =2,628.07, BIC=2,740.923 , Adjusted BIC=2,620.681, และค่า Entropy = 0.931) จำแนกกลุ่มครูวิทยาศาสตร์ตามกลุ่มโปรไฟล์ ได้แก่ กลุ่ม 1 คือ กลุ่มครูที่ขาดความพร้อมในการใช้ห้องปฏิบัติการเสมือน มีทรัพยากรห้องปฏิบัติการเสมือนน้อยกว่าปกติ (ร้อยละ 14.58) กลุ่ม 2 คือ กลุ่มครูที่ขาดความรู้ และทักษะในการใช้ห้องปฏิบัติการเสมือน (ร้อยละ 50.69) และกลุ่มที่ 3 คือ กลุ่มครูที่มีความพร้อมในการใช้ห้องปฏิบัติการเสมือน มีความรู้ตามโมเดล TPACK ความสนใจ และแรงจูงใจ (ร้อยละ 34.72) 3. แนวทางการส่งเสริมความพร้อมการใช้ห้องปฏิบัติการเสมือนของกลุ่มครูวิทยาศาสตร์ที่มีโปรไฟล์ต่างกัน นำเสนอเป็นชุดข้อเสนอแนะซึ่งเป็นวิธีการที่นำไปสู่กระบวนการในการดำเนินการส่งเสริมความพร้อมตามกลุ่ม โดยเป็นความพร้อมในการใช้ห้องปฏิบัติการเสมือนของครูวิทยาศาสตร์ ด้านสมรรถนะทางเทคโนโลยีตามโมเดล TPACK ทัศนคติต่อการใช้เทคโนโลยี และทรัพยากรห้องปฏิบัติการเสมือน แนวทางที่สำคัญ คือ การส่งเสริมให้ครูค้นคว้า สืบค้น และจัดเก็บ แหล่งสื่อ เทคโนโลยีเสมือนที่ใช้ในการสอน และการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายการใช้เทคโนโลยีเสมือน หรือห้องปฏิบัติการเสมือน
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purposes of this research were 1) to synthesize the indicators of readiness in using virtual laboratory of science teachers 2) to analyze a latent profile of readiness in using virtual laboratory of science teachers and 3) to suggest the guideline for enhancing readiness in using virtual laboratory of science teachers with different profile groups. This research studies on three stages. The first phase was to interview the virtual technology and science education specialists, with a total of eight persons. The second phase was to analyze the latent profile groups. The sample group was high school teachers, Central region across Thailand, with a total of 144 teachers, two-stage random sampling. Data were collected by using semi-structure interview and readiness assessment in using virtual laboratory of science teachers’ questionnaire. This study examines the quality of measures in terms of their content validity and reliability (Omega=.971-.984). The data were analyzed using latent profile analysis with Mplus programming. The third phase was to develop the guideline for enhancing readiness in using virtual laboratory of science teachers with different profile groups. The research revealed the following findings: 1. The readiness assessment in using virtual laboratory of science teachers’ questionnaire is a 5-point rating scale, Likert type ranging from 1 (Strongly disagree) to 5 (Strongly agree) of 42 items comprising of three indicators in terms of TPACK competency, technology using attitude and Virtual laboratory resources. 2. Latent profile analysis of readiness in using virtual laboratory of science teachers can be classified into 3 classes (VLMR =219.881, p=0.0965, AIC =2,628.07, BIC=2,740.923, Adjusted BIC=2,620.681, and Entropy = 0.931): Class 1 Teacher lacking of readiness in using virtual laboratory and virtual laboratory resources (14.58%), Class 2 Teacher lacking of knowledge and skill in using virtual laboratory (50.69%), and Class 3 Teacher having readiness in using virtual laboratory, TPACK knowledge, interest and motivation. (50.69%). 3. Guideline for enhancing readiness in using virtual laboratory of science teachers with different profile groups were presented by a set of suggestion as method, bringing about to enhance readiness by profile groups in terms of TPACK competency, technology using attitude and Virtual laboratory resources. The important guidelines were the promotion of searching and collecting the virtual instructional materials and knowledge sharing and networking in using virtual laboratory.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
บ่อสุวรรณ, กัญญ์รวี, "แนวทางการส่งเสริมความพร้อมในการใช้ห้องปฏิบัติการเสมือนของกลุ่มครูวิทยาศาสตร์ที่มีโปรไฟล์ต่างกัน" (2023). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 12122.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/12122