Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Effects of teachers' student care behaviors for digital safety on students' digital resilience: an analysis of multilevel mediating effects
Year (A.D.)
2023
Document Type
Thesis
First Advisor
สุรศักดิ์ เก้าเอี้ยน
Faculty/College
Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)
Department (if any)
Department of Educational Research and Psychology (ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
สถิติและสารสนเทศการศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2023.432
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจสภาพการฟื้นพลังทางดิจิทัล กรอบความคิดเติบโตทางดิจิทัล และการรับรู้ความสามารถทางดิจิทัลนักเรียน 2) สำรวจสภาพพฤติกรรมของครูในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้านความปลอดภัยทางดิจิทัล และ 3) วิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัยระดับนักเรียนและระดับครูที่มีต่อการฟื้นพลังทางดิจิทัลของนักเรียน ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 1,089 คน และครู จำนวน 43 คน โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นตามภูมิภาคและขนาดโรงเรียน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามออนไลน์ที่พัฒนาให้มีคุณสมบัติการวัดเชิงจิตมิติทางด้านความตรงและความเที่ยง ข้อคำถามในงานวิจัยนี้มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (I-CVI) ตั้งแต่ 0.80 ถึง 1.00 และมีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเชิงโครงสร้าง (S-CVI) เท่ากับ 0.83 ค่าสัมประสิทธิ์ Cronbach’s Alpha ของแต่ละตัวบ่งชี้มีค่าตั้งแต่ 0.610 ถึง 0.865 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรม R และ Mplus ผลการศึกษาพบว่า โมเดลสมการโครงสร้างสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square (121) = 318.904, p < .001, RMSEA = 0.039, CFI = 0.985, TLI = 0.978, SRMRW = 0.018, SRMRB = 0.079, AIC = 18935.931, BIC = 19395.289) โดยมีรายละเอียดผลการวิจัยดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัยระดับนักเรียน แสดงให้เห็นว่ากรอบความคิดเติบโตทางดิจิทัลมีอิทธิพลทางตรงต่อการฟื้นพลังทางดิจิทัลและการรับรู้ความสามารถทางดิจิทัลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (BDGM->DRS = .548, p < .001; BDGM->DSE = .902, p < .001) ในขณะที่การรับรู้ความสามารถทางดิจิทัลมีอิทธิพลทางตรงต่อการฟื้นพลังทางดิจิทัลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (BDSE->DRS = .399, p = .005) นอกจากนี้ยังพบว่ากรอบความคิดเติบโตทางดิจิทัลมีอิทธิพลทางอ้อมต่อการฟื้นพลังทางดิจิทัลผ่านการรับรู้ความสามารถของตนเองทางดิจิทัลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (BDGM->DSE->DRS = .360, p = .005) โดยคิดเป็นอิทธิพลโดยรวมเท่ากับ .908 2. ผลการวิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัยระดับครู แสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมของครูในการช่วยเหลือดูแลนักเรียนด้านความปลอดภัยทางดิจิทัลมีอิทธิพลทางตรงต่อการรับรู้ความสามารถทางดิจิทัลของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (B TSC->DSE = .657, p < .001) รวมถึงมีอิทธิพลทางตรงต่อการฟื้นพลังทางดิจิทัลของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (BTSC->DRS = .811, p < .001) นอกจากนี้ยังอิทธิพลทางอ้อมต่อการฟื้นพลังทางดิจิทัลของนักเรียนผ่านการรับรู้ความสามารถทางดิจิทัลของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (BTSC->DSE->DRS = .085, p < .001) โดยคิดเป็นอิทธิพลโดยรวมเท่ากับ .896 ข้อค้นพบดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการส่งเสริมให้นักเรียนมีการฟื้นพลังทางดิจิทัลต้องเริ่มส่งเสริมจากการสร้างกรอบความคิดเติบโตทางดิจิทัล และการรับรู้ความสามารถของตนเองทางดิจิทัลให้เกิดขึ้นกับนักเรียน นอกจากนี้ยังพบว่าครูที่ปรึกษามีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการฟื้นพลังทางดิจิทัลของนักเรียนอีกด้วย
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The objectives of the research were 1) to explore the digital resilience, digital growth mindset, and digital self-efficacy of students, 2) to explore student care behaviors of teachers for digital safety, and 3) to analyze the effects of student-level and teacher-level factors on students' digital resilience. Samples consisted of 1,089 high school students and 43 teachers, selected through stratified random sampling by regions and school sizes. Data were collected using an online questionnaire developed with psychometric properties for validity and reliability. The Content Validity Index (I-CVI) of the questions ranged from 0.80 to 1.00, and the Scale-Content Validity Index (S-CVI) was 0.83. The Cronbach’s Alpha coefficients for each indicator ranged from 0.610 to 0.865. A multilevel structural equation modeling (MSEM) was used for data analysis using R and Mplus. The results indicated that the model was fitted to the empirical data (Chi-square (121) = 318.904, p < .001, RMSEA = 0.039, CFI = 0.985, TLI = 0.978, SRMRW = 0.018, SRMRB = 0.079, AIC = 18935.931, BIC = 19395.289), with the following details: 1. Analysis of student-level factors showed that digital growth mindset had a significant direct effect on digital resilience and digital self-efficacy at the .05 level. (BDGM->DRS = .548, p < .001; BDGM->DSE = .902, p < .001), Additionally, digital self-efficacy had a significant direct effect on digital resilience at the .05 level (BDSE->DRS = .399, p = .005). Furthermore, digital growth mindset exerted a significant indirect effect on digital resilience through digital self-efficacy at the .05 level (BDGM->DSE->DRS = .360, p = .005), with a total effect of .589. 2. Analysis of teacher-level factors showed that student care behaviors of teachers for digital safety had a significant direct effect on students' digital self-efficacy (B TSC->DSE = .657, p < .001) and students' digital resilience at the .05 level (BTSC->DRS = .811, p < .001). There was also a significant indirect effect on students' digital resilience through digital self-efficacy at the .05 level (BTSC->DSE->DRS = .085, p < .001), with a total effect of .896. These findings indicate that promoting digital resilience in students should begin with fostering a digital growth mindset and digital self-efficacy, along with the significant role of advisory teachers in enhancing students' digital resilience.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
พูลสุขเสริม, ชานนท์, "พฤติกรรมของครูในการช่วยเหลือดูแลนักเรียนด้านความปลอดภัยทางดิจิทัลที่มีต่อความสามารถในการฟื้นพลังทางดิจิทัลของนักเรียน: การวิเคราะห์อิทธิพลส่งผ่านแบบพหุระดับ" (2023). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 12112.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/12112
Included in
Educational Assessment, Evaluation, and Research Commons, Statistics and Probability Commons