Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Guidelines to develope curriculums for promoting teachers' learning from participating in professional development program
Year (A.D.)
2023
Document Type
Thesis
First Advisor
ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ
Faculty/College
Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)
Department (if any)
Department of Educational Research and Psychology (ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2023.435
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ลักษณะของหลักสูตรในโปรแกรมพัฒนาวิชาชีพครู 2) เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบการเรียนรู้ของครูจากการเข้าร่วมหลักสูตรในโปรแกรมพัฒนาวิชาชีพครูที่แตกต่างกัน 3) เพื่อจัดทำแนวทางการพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมการเรียนรู้ของครูสำหรับโปรแกรมพัฒนาวิชาชีพครู การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์ลักษณะของหลักสูตรโปรแกรมพัฒนาวิชาชีพครู ตัวอย่าง คือ เอกสารหลักสูตรโปรแกรมพัฒนาวิชาชีพครูที่สถาบันคุรุพัฒนาให้การรับรอง ปีการศึกษา 2561 – 2562 ได้ตัวอย่างทั้งสิ้น 44 หลักสูตร ผู้วิจัยใช้แบบวิเคราะห์เอกสาร ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และข้อมูลเชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงบรรยาย ระยะที่ 2 การวิเคราะห์การเรียนรู้ของครูจากการเข้าร่วมในโปรแกรมพัฒนาวิชาชีพครู ตัวอย่าง คือ ครูประจำการระดับชั้นปฐมวัย ประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา ใช้การสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) รวมจำนวนตัวอย่าง 400 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย ระยะที่ 3 ร่างแนวทางการพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมการเรียนรู้ของครูสำหรับโปรแกรมพัฒนาวิชาชีพครู ใช้ข้อมูลที่ได้จากระยะ 1 และ 2 นำมาเสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน โดยการสนทนากลุ่มเพื่อปรับแก้ไขแนวทางการพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมการเรียนรู้ของครูสำหรับโปรแกรมพัฒนาวิชาชีพครู ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ลักษณะหลักสูตรการพัฒนาครู พิจารณาใน 3 ประเด็น คือ 1) เนื้อหาหลักสูตร ในปีการศึกษา 2561 ส่วนใหญ่เป็นสาระวิทยาศาสตร์ จำนวน 13 หลักสูตร (ร้อยละ 59.09) แตกต่างกับปีการศึกษา 2562 ส่วนใหญ่เป็นสาระบูรณาการสาระ จำนวน 13 หลักสูตร (ร้อยละ 45.46) 2) ด้านรูปแบบกิจกรรม แบ่งเป็น 2 ด้าน ได้แก่ 2.1) ประเภทหลักสูตร โดยปีการศึกษา 2561 เป็นหลักสูตรประเภทปกติทั้งหมดจำนวน 22 หลักสูตร (ร้อยละ 100) ปีการศึกษา 2562 ส่วนใหญ่เป็นประเภทปกติ จำนวน 16 หลักสูตร (ร้อยละ77.73) 2) 2.2) ด้านลักษณะหลักสูตร ปีการศึกษา 2561 ส่วนใหญ่เป็นลักษณะหลักสูตรปฏิบัติจำนวน 21 หลักสูตร (ร้อยละ 95.45) ปีการศึกษา 2562 เป็นปฏิบัติทั้งหมด จำนวน 22 หลักสูตร (ร้อยละ 100) 2. ระดับผลการเรียนรู้ของครูเกิดจากการเข้าร่วมหลักสูตรในโปรแกรมพัฒนาวิชาชีพครูที่แตกต่างกัน ระหว่างโครงการพัฒนาครูรูปแบบครบวงจร (คูปองครู) กับโครงการพัฒนาครูรูปแบบอื่น ๆ พบว่า ด้านเนื้อหา ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 (t(398) = 1.99, p = .202) ด้านรูปแบบกิจกรรม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 (t(398) = 1.50, p = .005) และด้านผลลัพธ์การที่ได้ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .05 (t(398) = 1.77, p = .010) 3. รูปแบบของหลักสูตรในโปรแกรมพัฒนาวิชาชีพครู จากการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพิจารณาความเหมาะสมของแนวทางการพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมการเรียนรู้ของครูสำหรับโปรแกรมพัฒนาวิชาชีพครู ได้เสนอแนะแนวทางไว้ 9 ประการดังนี้ 1. ด้านหลักการหรือแนวคิดที่ใช้ในการออกแบบหลักสูตร ควรสอดคล้องระหว่างรูปแบบกับเนื้อหา เน้นสมรรถนะเชิงปฏิบัติ ออกแบบโดยยึดมาตรฐานกลาง สามารถรับรองหลักสูตรได้รวดเร็ว และควรมีหน่วยงานกลางในการออกแบบหลักสูตร 2. ด้านการกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ควรสำรวจความต้องการของผู้รับการอบรม เพิ่มคุณภาพการสอนและพัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาชีพ 3. ด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง ควรแบ่งตามความลุ่มลึกของหลักสูตรและควรสัมพันธ์กับเรื่องที่อบรม 4. ด้านโครงสร้างของหลักสูตร ควรกำหนดจากส่วนกลาง มีความชัดเจนในการปฏิบัติ รูปแบบเหมาะสมกับการอบรม ให้เวลาเตรียมตัวล่วงหน้า 5. ด้านคุณสมบัติของผู้จัดที่ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ควรได้รับการรับรองจากส่วนกลาง เป็นบุคคลที่เชี่ยวชาญและแนะนำสื่อการเรียนรู้ต่อได้ 6. ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ ควรออกแบบตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย มีวิธีที่หลากหลาย มีรอบการอบรมที่เพียงพอ และมีการอำนวยความสะดวก 7. ด้านระยะเวลาในการเรียนรู้ ควรจัดตามผลลัพธ์ที่ต้องการ เรื่องที่ต้องการสมรรถนะควรใช้เวลานาน ต่อเนื่อง 8. ด้านสื่อ ช่องทาง และแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ ควรมีการพิจารณาให้มีการเรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์ม และวิทยากรเป็นสื่อมีความสำคัญมากในการอบรม 9) ด้านการติดตามและประเมินผล ควรเป็นการประเมินสมรรถนะ ซึ่งผู้ที่ประเมินควรมี Mind set มีความเข้าใจภาพรวมการอบรม เปิดโอกาสให้ประเมินออนไลน์ ควรมีหน่วยทดสอบกลาง และควรสร้างแรงจูงให้แก่ผู้เข้าร่วมอบรม
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This research aimed to 1) analyze the characteristics of the curriculum in the teacher professional development program, 2) analyze and compare the learning outcomes of teachers participating in different courses in the teacher professional development program, and 3) develop guidelines for enhancing teacher learning curricula in the teacher professional development program. The research was divided into three phases: Phase 1 analyzed the characteristics of the teacher professional development program curriculum using document analysis and descriptive statistics on 44 courses approved by the Kurupatana Institute for the academic years 2018-2019. Phase 2 analyzed teacher learning outcomes from participation in the program using stratified random sampling of 400 teachers from early childhood, primary, and secondary levels, collecting data via questionnaires and analyzed with descriptive statistics. Phase 3 drafted guidelines for enhancing teacher learning curricula based on data from Phases 1 and 2, presenting these to seven experts for in-depth interviews to refine the guidelines. The research results are summarized as follows: 1. The characteristics of the teacher development curriculum were considered in three aspects: 1) Course content: In the 2018 academic year, most content focused on science (59.09%), while in 2019, it was mostly integrated subjects (45.46%). 2) Activity formats: Course types in 2018 were all regular (100%), while in 2019, most were regular (77.73%). Course formats in 2018 were mostly practical (95.45%), and in 2019, all were practical (100%). 3) Learning outcomes: Satisfaction with learning outcomes was high in both years (2018: M=4.36, SD=0.27; 2019: M=4.34, SD=0.67). 2. The learning outcomes of teachers from different programs showed no significant difference in content (t(398) = 1.99, p = .202), but significant differences in activity formats (t(398) = 1.50, p = .005) and learning outcomes (t(398) = 1.77, p = .010). 3. Curriculum guidelines from expert interviews suggested nine points: 1) Design principles should align content with practical competencies, follow central standards, and have a central agency for quick approval. 2) Clear goals and objectives should address trainee needs and improve teaching quality and professional advancement. 3) Expected learning outcomes should vary by course depth and topic relevance. 4) Curriculum structure should be centrally determined, clear in practice, and provide adequate preparation time. 5) Organizers should be centrally certified, experts in the field, and able to recommend learning resources. 6) Learning activities should match target group needs, be varied, sufficiently frequent, and convenient. 7) Learning duration should match desired outcomes, with longer, continuous periods for high competence needs. 8) Media, channels, and learning resources should consider platforms and emphasize the importance of instructors. 9) Monitoring and evaluation should assess competencies, involve evaluators with the right mindset, understand overall training, offer online evaluations, have a central testing unit, and motivate participants.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
โชติวัฒน์คุณาธร, นิษฐ์รตี, "แนวทางการพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมการเรียนรู้ของครูจากการเข้าร่วมโปรแกรมพัฒนาวิชาชีพครู" (2023). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 12109.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/12109