Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Empathic english communication enhancement programfor health science students

Year (A.D.)

2023

Document Type

Thesis

First Advisor

ฤดีรัตน์ ชุษณะโชติ

Second Advisor

เชิดศักดิ์ ไอรมณีรัตน์

Faculty/College

Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)

Department (if any)

Department of Curriculum and Instruction (ภาควิชาหลักสูตรและการสอน)

Degree Name

ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาเอก

Degree Discipline

หลักสูตรและการสอน

DOI

10.58837/CHULA.THE.2023.440

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษอย่างร่วมรู้สึกสำหรับนักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษอย่างร่วมรู้สึกสำหรับนักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ และ 2) เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษอย่างร่วมรู้สึกสำหรับนักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ การดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 6 ระยะ ได้แก่ 1) การศึกษาปัญหาและความต้องการจำเป็น 2) การพัฒนาโปรแกรม 3) การศึกษานำร่อง 4) การพัฒนาโปรแกรมฉบับใช้ทดลอง 5) การทดลองใช้โปรแกรม และ 6) การสรุปผล การปรับปรุงโปรแกรม และการจัดทำโปรแกรม ฉบับสมบูรณ์ เป้าหมายของการทดลองได้แก่ นักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพผู้สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้แต่ขาดความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษอย่างร่วมรู้สึก ชั้นปีที่ 2 จำนวน 25 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ทำการทดลองใช้โปรแกรม เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบทดสอบความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษอย่างร่วมรู้สึก และแบบบันทึกการเรียนรู้ ใช้สถิติเชิงบรรยาย สถิติเปรียบเทียบด้วยการทดสอบ Wilcoxon Signed Rank Test การทดสอบ Wilcoxon Rank Sum Test การวิเคราะห์เนื้อหาด้วยวิธีการจัดกลุ่มข้อมูลและการเปรียบเทียบข้อมูล ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. โปรแกรมเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษอย่างร่วมรู้สึกสำหรับนักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นโปรแกรมที่ออกแบบตามหลักการของแนวคิดการใช้ละครเป็นฐานในการเรียนรู้ผสานกับหลักการของแนวคิดการแก้ปัญหาคู่ตามโมเดลการแลกเปลี่ยนอย่างเป็นระบบ ประกอบไปด้วย 3 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ 1) ภาษาอังกฤษเพื่อการสัมภาษณ์ผู้ป่วยในการวินิจฉัย 2) ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารระหว่างการรักษา และ 3) ภาษาอังกฤษเพื่อการแนะนำหลังการรักษา ประกอบไปด้วยการปฐมนิเทศและบทเรียน 8 บทเรียน ได้แก่ 1) การรับผู้ป่วยใหม่ 2) การซักประวัติผู้ป่วย 3) การซักประวัติผู้ป่วยที่ยากต่อการสื่อสาร 4) การแจ้งและการอธิบายผลการตรวจ 5) การอธิบายวิธีการรักษา 6) การอภิปรายวิธีการรักษา 7) การแจ้งข่าวร้าย และ 8) การแนะนำหลังการรักษา ความยาว 60 ชั่วโมง ใช้เวลา 20 สัปดาห์ 2. ผลของการใช้โปรแกรมเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษอย่างร่วมรู้สึกสำหรับนักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ พบว่าคะแนนความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษอย่างร่วมรู้สึกในภาพรวมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาองค์ประกอบย่อย พบว่า องค์ประกอบย่อยที่ได้คะแนนสูงสุดได้แก่ การเข้าใจสารอย่างละเอียด และการส่งสารอย่างชัดเจน ในขณะที่องค์ประกอบย่อยที่คะแนนต่ำสุดได้แก่ การสะท้อนความเข้าใจเพื่อตรวจสอบข้อมูล เป็นองค์ประกอบเดียวที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่พบว่ากลุ่มตัวอย่างแสดงความตระหนักถึงความสำคัญขององค์ประกอบดังกล่าว

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The research aims to enhance empathic English communication ability for health science students. The objectives were: 1) to develop an empathic English communication enhancement program for health science students, and 2) to investigate the effects of using this program. The research process was divided into six phases: 1) problem study and needs assessment, 2) program development, 3) pilot study, 4) program development for pilot study, 5) program pilot study, and 6) results analysis, program refinement, and final program development. The participants were 25 health science sophomores, selected purposively, who could communicate in English but lacked empathic English communication ability. Data collection tools included a test of empathetic English communication ability and a learning journal. Descriptive statistics, the Wilcoxon Signed Rank Test, Wilcoxon Rank Sum Test, typological analysis, and constant comparison were used for analysis. 1. The program to enhance empathetic English communication skills for health science students was designed based on the concepts of drama-based learning integrated with the concepts of dyadic coping specifically, the Systemic Transactional Model. The program consisted of three modules: 1) English for Diagnosis, 2) English for Treatment Communication, and 3) English for Discharge Instructions, including an orientation and eight units: 1) Interviewing New Patients, 2) Taking Patient History, 3) Taking History from Difficult Patients, 4) Delivering and Explaining Test Results, 5) Explaining Treatment, 6) Discussing Treatment, 7) Delivering Bad News, and 8) Discharge. The program lasted 60 hours, spanning 20 weeks. 2. The results showed that the overall scores of empathic English communication ability after the program were significantly higher than before the program at the .05 level. The highest-scoring subcomponents were Thorough Understanding and Clear Articulation. The lowest-scoring subcomponents were Reflective Alignment. It was the only subcomponent that did not show a significant statistical change. However, it was found that the participants were aware of the subcomponent's importance.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.