Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

A model of developing digital intelligence of undergraduate students

Year (A.D.)

2023

Document Type

Thesis

First Advisor

สิริฉันท์ สถิรกุล เตชพาหพงษ์

Second Advisor

ปทีป เมธาคุณวุฒิ

Faculty/College

Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)

Department (if any)

Department of Educational Policy, Management, and Leadership (ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา)

Degree Name

ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาเอก

Degree Discipline

อุดมศึกษา

DOI

10.58837/CHULA.THE.2023.443

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาสภาพปัจจุบันและผลกระทบของสื่อดิจิทัลที่มีต่อนิสิตนักศึกษาปริญญาบัณฑิต 2)วัดระดับความฉลาดทางดิจิทัลของนิสิตนักศึกษาปริญญาบัณฑิต 3)นำเสนอรูปแบบการพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลของนิสิตนักศึกษาปริญญาบัณฑิต และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัลที่พึงประสงค์ โดยมีตัวอย่าง คือ 1)นิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จากสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐทั้ง 4 ภูมิภาค จำนวน 464 คน แบ่งออกเป็น นิสิตนักศึกษาที่ใช้ในการสัมภาษณ์ จำนวน 12 คน นิสิตนักศึกษาที่ใช้ในการวัดระดับความฉลาดทางดิจิทัล จำนวน 402 คน และนิสิตนักศึกษาที่ใช้ในการทดลองเพื่อประเมินประสิทธิผล และความพึงพอใจ จำนวน 50 คน 2)ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 12 คนใช้ในการสัมภาษณ์ และ 3)ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คนใช้ในการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบวัดความฉลาดทางดิจิทัล แบบประเมินความเหมาะสมของ (ร่าง) รูปแบบ และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรม การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และวิเคราะห์ข้อมูลผ่านสถิติ อาทิ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และเปรียบเทียบความต่าง โดยใช้การทดสอบที (t-test) ร่วมกับการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. สภาพปัจจุบัน และผลกระทบของสื่อดิจิทัลที่มีต่อนิสิตนักศึกษาปริญญาบัณฑิต พบว่า นิสิตนักศึกษาปริญญาบัณฑิตใช้งานสื่อดิจิทัลในวันที่มีเรียน และไม่มีเรียน ไม่แตกต่างกัน โดยมีแนวโน้มใช้งานอยู่ระหว่าง 10-16 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนใหญ่ใช้เครื่องมือในการเข้าถึงสื่อดิจิทัลมากกว่า 1 ชนิด โดยใช้สมาร์ทโฟนเป็นอุปกรณ์เข้าถึงมากที่สุด เมื่อพิจารณาประเภทการใช้งาน พบว่า มุ่งเน้นใช้เป็นช่องทางสื่อสารระหว่างกัน ใช้เพื่อความบันเทิง ใช้เพื่อการศึกษา ใช้ทำธุรกรรมทางการเงิน ใช้แสดงความคิดเห็น และใช้สร้างรายได้ ด้านประโยชน์ของสื่อดิจิทัล พบว่า มีทั้งประโยชน์ทางตรง และทางอ้อม ส่วนผลกระทบของสื่อดิจิทัล พบว่า มีผลกระทบต่อร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ด้านความเสี่ยงในการใช้งานสื่อดิจิทัล พบว่า มีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยบนโลกดิจิทัล เสี่ยงต่อความฉลาดทางอารมณ์บนโลกดิจิทัล เสี่ยงต่อการรับรู้และมีส่วนร่วมบนโลกดิจิทัล เสี่ยงต่อการรู้เท่าทันดิจิทัล ด้านแนวทางในการรับมือกับความเสี่ยง พบว่า นิสิตนักศึกษาต้องตระหนักรู้ในตนเอง ได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว ครูอาจารย์ กลุ่มเพื่อน รวมถึงหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2. ระดับความฉลาดทางดิจิทัลของนิสิตนักศึกษาปริญญาบัณฑิต ภาพรวมอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า 1)การรักษาความปลอดภัยบนโลกดิจิทัล ภาพรวมอยู่ในระดับดี 2)ความฉลาดทางอารมณ์บนโลกดิจิทัล ภาพรวมอยู่ในระดับดี 3)การรับรู้ในตนเอง และการมีส่วนร่วมบนโลกดิจิทัล ภาพรวมอยู่ในระดับดี และ 4)การรู้เท่าทันดิจิทัล ภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก เมื่อเปรียบเทียบความฉลาดทางดิจิทัลจำแนกตาม เพศ กลุ่มสาขาวิชา และคะแนนเฉลี่ยสะสม พบว่า เพศ กลุ่มสาขาวิชา และคะแนนเฉลี่ยสะสมที่ต่างกัน มีระดับความฉลาดทางดิจิทัลไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เพศ กลุ่มสาขาวิชา และคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่มีผลต่อ ระดับความฉลาดทางดิจิทัลของนิสิตนักศึกษา 3. รูปแบบการพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลของนิสิตนักศึกษาปริญญาบัณฑิต (SEAL Model for Digital Intelligence ) ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ องค์ประกอบความฉลาดทางดิจิทัลของนิสิตนักศึกษา ผลลัพธ์ที่คาดหวัง กระบวนการพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัล จำนวน 4 กิจกรรมหลัก ได้แก่ 1)รู้ว่าเสี่ยงหลีกเลี่ยงป้องกัน (S - Digital Safety) 2)รู้เห็นปรับขยับอารมณ์ (E - Digital Emotion) 3)รู้ร่วมปันฉันและเธอ (A- Digital Awareness & Participation) 4)รู้ตรวจสอบรอบคอบมีสติ (L - Digital Literacy) และ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ประกอบด้วย ข้อเสนอแนะในระดับสถาบันอุดมศึกษา 5 ประเด็นหลัก 12 ประเด็นย่อย ข้อเสนอแนะระดับประเทศ 6 ประเด็นหลัก 9 ประเด็นย่อย รูปแบบการพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลของนิสิตนักศึกษาฉบับนี้ได้รับการประเมินความเหมาะสมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.96 สะท้อนว่า รูปแบบมีความเหมาะสมมากที่สุด เมื่อนำไปทดลองใช้เพื่อประเมินประสิทธิผล และความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัล โดยนิสิตนักศึกษา พบว่า ผลการประเมินหลังการทดลองสูงกว่าผลการประเมินก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ( p = .002) ด้านความพึงพอใจ ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.84 สะท้อนว่า นิสิตนักศึกษามีความพึงพอใจต่อกิจกรรมพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลมากที่สุด

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This research aimed to study the current situation and impact of digital media on undergraduate students, measure the level of digital intelligence among them, and propose a model for developing digital intelligence as well as policy recommendations to foster desirable digital citizenship. The study involved a sample of 464 undergraduate students from autonomous universities, comprising 12 students for interviews, 402 students for measuring digital intelligence levels, and 50 students in an experimental group to assess satisfaction. Additionally, 17 experts participated in the study: 12 experts for interviews and 5 experts to evaluate the appropriateness of the format. The research instruments included a document analysis form, an expert interview form, digital intelligence tests for undergraduates, a model evaluation form, and a satisfaction evaluation form. The data were analyzed using frequency, percentage, mean (M), and standard deviation (SD). Differences were compared using a t-test and a one-way ANOVA test. The research results can be summarized as follows: 1. The current situation and the impact of digital media on undergraduate students reveal that students use digital media throughout both study and non-study days, averaging between 10 to 16 hours per day. Most students utilize more than one type of digital media, with smartphones being the most widely used device. When considering usage types, it is found that students primarily focus on using digital media for communication, entertainment, education, financial transactions, expressing opinions, and income generation. Regarding the benefits of digital media, both direct and indirect advantages are identified. On the other hand, the impact of digital media is observed to affect physical well-being, emotions, social interactions, and intellectual aspects. In terms of risks associated with digital media usage, concerns are raised about safety in the digital realm, emotional intelligence, perception, participation, and digital literacy. In coping with the risks of digital media usage, students must be self-aware, and they should receive support from family, teachers, and friends, as well as various relevant organizations. 2. The overall digital intelligence level of undergraduate students is considered good. Upon closer examination of specific aspects, the following observations were made: 1) Digital Safety is at a good level, 2) Digital Emotional Intelligence is good, 3) Digital Awareness and Participation are at a good level, and 4) Digital Literacy is at a very good level. When comparing digital intelligence based on gender, major, and Grade Point Average, no statistically significant differences were found at the .05 significance level. 3. The SEAL Model for Digital Intelligence in undergraduate students consists of foundational principles and rationale, objectives, components of undergraduate students' digital intelligence, expected outcomes, and a development process with four main activities: 1) Digital Safety, 2) Digital Emotion, 3) Digital Awareness & Participation, and 4) Digital Literacy. Additionally, policy recommendations include institutional-level suggestions with five main issues and twelve sub-issues, and national-level recommendations with six main issues and nine sub-issues. This development model for digital intelligence among undergraduate students has been evaluated for suitability by experts, with an overall average score of 4.96, indicating a high level of appropriateness. When applied to evaluate the effectiveness and satisfaction of digital intelligence development activities, students' post-experiment evaluation scores were significantly higher than their pre-experiment scores, with a statistical significance level of .05 (p = .002). In terms of satisfaction, the overall score was 4.84, reflecting the highest level of satisfaction among students regarding digital intelligence development activities.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.