Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Development of a competency based learning management model for children and youth in justice process

Year (A.D.)

2024

Document Type

Thesis

First Advisor

วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา

Second Advisor

วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา

Faculty/College

Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)

Department (if any)

Department of Lifelong Education (ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต)

Degree Name

ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาเอก

Degree Discipline

การศึกษานอกระบบโรงเรียน

DOI

10.58837/CHULA.THE.2024.43

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะสำหรับเด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรมและเพื่อนำเสนอกลไกสนับสนุนการเรียนรู้ฐานสมรรถนะสำหรับเด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิจัยเชิงปฏิบัติการกลุ่มเป้าหมายในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนอุบลราชธานี ประกอบด้วย ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ 10 คน และเด็กและเยาวชน 30 คน ผลการวิจัยพบว่า การออกแบบการเรียนรู้ที่กำหนดเองที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมรรถนะของเด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรมต้องออกแบบบนหลักสามประการคือ ความยืดหยุ่น การออกแบบการเรียนรู้แบบไม่เป็นเส้นตรง และการให้ความสำคัญกับการสะท้อนกลับจากผู้เรียน ซึ่งเป็นรูปแบบสำคัญของการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม จากการวิจัย สามารถแบ่งเด็กได้เป็นสี่กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มเด็กและเยาวชนปกติทั่วไป มีแนวโน้มที่จะบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้เนื่องจากผู้เรียนรู้สึกว่าตนเองเป็นเจ้าของการเรียนรู้ 2) กลุ่มผู้เรียนที่มีภาวะจิตเวช เด็กและเยาวชนเริ่มยอมรับในปัญหาของตนเองและเข้าสู่กระบวนการบำบัดเยียวยา แต่ปัญหาสภาวะจิตใจทำให้การเรียนรู้หยุดชะงักไม่ต่อเนื่อง 3) กลุ่มเรียนรู้ช้า ผู้เรียนสนใจการเรียนรู้จากการปฏิบัติ เมื่อออกแบบการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความถนัดและความต้องการทำให้ผู้เรียนมีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น และ 4) กลุ่มที่ถูกตัดสินให้อยู่นานกลุ่มนี้มีแรงจูงใจน้อยกว่ากลุ่มอื่น การเปิดโอกาสเรียนรู้จากประสบการณ์จริงช่วยสร้างแรงจูงใจเพิ่มขึ้น ซึ่งจะต้องอาศัยการสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ซึ่งเป็นกลไกสนับสนุนการเรียนรู้สี่ประการด้วยกันคือ 1) ครูมีบทบาทในการเป็นเพื่อนคู่คิดเพื่อลดช่องว่างกับผู้เรียน 2) ทรัพยากรการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้รายบุคคล 3) เครือข่ายสนับสนุนการเรียนรู้จากภายนอก และ 4) กลไกเชิงนโยบายที่สนับสนุนการจัดการเรียนรู้และกลไกโอบอุ้มคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลุ่มเปราะบางให้สามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพได้อย่างเท่าเทียม

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This study focuses on developing a competency-based learning model for children and youth involved in the justice process, utilizing an action research methodology. The participants included 10 staff members and 30 youth from the Ubon Ratchathani Juvenile Training and Rehabilitation Center. Findings indicate that effective learning approaches should adhere to three core principles: flexibility, non-linear learning design, and learner reflection. These principles form a framework for tailored educational strategies.The youth were categorized into four groups: (1) general population, who thrive when they feel ownership of their learning; (2) learners with psychiatric conditions, who recognize their challenges but may face disruptions due to mental health issues; (3) slow learners, who benefit from hands-on experiences that boost self-confidence; and (4) long-term detainees, who require experiential learning to enhance motivation.Additionally, four mechanisms were identified to support this learning: (1) teachers as mentors; (2) individualized resources; (3) external support networks; and (4) policy frameworks ensuring equitable access to quality education. These findings underscore the necessity of a supportive ecosystem for effective competency-based learning among vulnerable youth in the justice system.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.