Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Effects of non-formal education activities on inquiry ability enhancement for early childhood of parents participated in science museum activities.

Year (A.D.)

2023

Document Type

Thesis

First Advisor

สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล

Faculty/College

Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)

Department (if any)

Department of Lifelong Education (ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต)

Degree Name

ครุศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

การศึกษานอกระบบโรงเรียน

DOI

10.58837/CHULA.THE.2023.458

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่มีต่อความสามารถในการเสริมสร้างการสืบเสาะหาความรู้สำหรับเด็กปฐมวัยของผู้ปกครองที่เข้าร่วมกิจกรรมในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ 2) เพื่อศึกษาผลการการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่มีต่อความสามารถในการเสริมสร้างการสืบเสาะหาความรู้สำหรับเด็กปฐมวัยของผู้ปกครองที่เข้าร่วมกิจกรรมในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ และ 3) เพื่อนำเสนอคู่มือการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่มีต่อความสามารถในการเสริมสร้างการสืบเสาะหาความรู้สำหรับเด็กปฐมวัยของผู้ปกครองที่เข้าร่วมกิจกรรมในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ เก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้ปกครองเด็กปฐมวัย จำนวน 45 คน ที่ได้มาโดยการคัดเลือกตามเกณฑ์ และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษานอกระบบโรงเรียน ด้านการวิจัย และด้านกิจกรรมของพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ จำนวนรวมทั้งสิ้น 5 คน ด้วยเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่มีต่อความสามารถในการเสริมสร้างการสืบเสาะหาความรู้สำหรับเด็กปฐมวัยของผู้ปกครองที่เข้าร่วมกิจกรรมในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ 2) แบบวัดความสามารถของผู้ปกครองเกี่ยวกับการเสริมสร้างการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้กับเด็กปฐมวัยที่เข้าร่วมกิจกรรมของพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ 3) แบบบันทึกของผู้ปกครองเกี่ยวกับการทำกิจกรรมของพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ร่วมกับบุตรหลานด้วยวิธีเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 4) แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมวิทยาศาสตร์ของพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ของผู้ปกครองโดยใช้วิธีเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้กับเด็กปฐมวัย และ 5) ประเด็นการสนทนากลุ่มพิจารณาคู่มือการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่มีต่อความสามารถในการเสริมสร้างการสืบเสาะหาความรู้สำหรับเด็กปฐมวัยของผู้ปกครองที่เข้าร่วมกิจกรรมในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าdependent t-test และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. แผนการจัดกิจกรรม ประกอบด้วย กระบวนการขั้นตอนตามแนวคิดการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนสำหรับผู้ใหญ่ 4 ขั้นตอน 1) การสำรวจความต้องการของผู้เรียน 2) การกำหนดวัตถุประสงค์และวางแผนกิจกรรมร่วมกัน 3) การนำกิจกรรมไปปฏิบัติ และ 4) การประเมินผล โดยมีเนื้อหาตามทฤษฎีวิธีการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ได้แก่ 1) ขั้นการสร้างความสนใจ 2) ขั้นการสำรวจและค้นหา 3) ขั้นการอธิบายและลงข้อสรุป 4) ขั้นการขยายความรู้ และ 5) ขั้นการประเมินผล ซึ่งได้ปรับให้เหมาะสมตามข้อเสนอแนะของกลุ่มตัวอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับระยะเวลาในการทำกิจกรรม เนื้อหาเกี่ยวกับวิธีสืบเสาะหาความรู้ และเครื่องมือในการบันทึกเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรม 2. ผลการทดลองกิจกรรม พบว่า ความสามารถในเสริมสร้างการสืบเสาะหาความรู้ของกลุ่มตัวอย่างในภาพรวมทั้งหมดสูงขึ้นอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.20, S.D. = 0.38) และจากการเปรียบเทียบเปรียบเทียบผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่มีต่อความสามารถในการเสริมสร้างการสืบเสาะหาความรู้สำหรับเด็กปฐมวัยของผู้ปกครองที่เข้าร่วมกิจกรรมในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน พบว่า หลังเข้าร่วมกิจกรรมตามการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่มีต่อความสามารถในการเสริมสร้างการสืบเสาะหาความรู้สำหรับเด็กปฐมวัยของผู้ปกครองที่เข้าร่วมกิจกรรมในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ความสามารถในการเสริมสร้างการสืบเสาะหาความรู้ของผู้ปกครองสูงขึ้นกว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. คู่มือการจัดกิจกรรม ประกอบด้วย 1) การเรียนรู้แบบสืบเสาะ 2) การจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน 3) แผนการจัดกิจกรรม 4) วิธีการดำเนินกิจกรรม 5) บทบาทของผู้จัดกิจกรรม 6) แนวทางการเรียนรู้แบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอนระหว่างผู้ปกครอง และเด็กปฐมวัย

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purposes of this pre-experimental research design were to 1) develop a non-formal education management plan for enhancing knowledge inquiry abilities of early childhood children’s guardians participating in science museum activities 2) study the effects of non-formal education management on knowledge inquiry abilities of early childhood children’s guardians participating in science museum activities and 3) propose a manual for non-formal education management on knowledge inquiry abilities of early childhood children’s guardians participating in science museum activities. Research data were collected from 45 samples who were early childhood children’s guardians participating in science museum activities recruited through recruitment criteria, and 5 experts in the fields of non-formal education, research, and science museum activities inclusively. Research Instruments included 1) develop a non-formal education management plan for enhancing knowledge inquiry abilities of early childhood children’s guardians participating in science museum activities, 2) measurement scales on knowledge inquiry abilities of early childhood children’s guardians participating in science museum activities, 3) recording form for early childhood children’s guardians to record the implementation of science museum activities with their children, 4) non-structured interviewing form regarding science museum activities through knowledge inquiry learning approach with their children, and 5) issues for group discussion on a proposed manual for non-formal education management on knowledge inquiry abilities of early childhood children’s guardians participating in science museum activities. Quantitative research data were analyzed in term of mean, standard deviation, t-test. Content analysis was used to analyze qualitative data. The research results were as follows. 1. A non-formal education management planed activities consisted a 4-stepped process based on non-formal education management for adults including 1) learners’ needs assessment, 2) participatory identification of learning objectives and activity plan, 3) activity implementation, and 4) learning evaluation. In addition, the contents of the plan were developed in the light of a theory on 5-stepped knowledge inquiry learning approach namely 1) engagement, 2) exploration, 3) explanation, 4) elaboration, and 5) evaluation. The developed plan was adjusted appropriately in response to the sample group’ s suggestions, particularly those concerning duration of activity implementation, contents on knowledge inquiry, and an instrument for recording activity implementation. 2. The result form an experiment of implementing activities showed that the overall knowledge inquiry ability of the sample group was higher at a high level (= 4.20, S.D. = 0.38). When comparing the prior knowledge inquiry abilities of early childhood children’s guardians participating in science museum activities with those they had after participating in the developed on-formal education plan, there were found difference at a statistical significance level of 0.05. 3. A manual on non-formal education management plan included 1) inquiry learning, 2) non-formal education management, 3) activity plan, 4) approaches to activity implementation, 5) roles of activity organizers, and 6) learning between guardians and early childhood children.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.