Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
A secular humanistic approach to moral learning development of thai youths in the post modernized world: morality beyond religions
Year (A.D.)
2023
Document Type
Thesis
First Advisor
อุบลวรรณ หงษ์วิทยากร
Faculty/College
Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)
Department (if any)
Department of Educational Policy, Management, and Leadership (ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา)
Degree Name
ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาเอก
Degree Discipline
พัฒนศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2023.464
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) ศึกษาสภาวการณ์ทางจริยธรรมของกลุ่มเยาวชนไทยในโลกยุคหลังสมัยใหม่นิยม 2) วิเคราะห์ปัจจัยเงื่อนไขกระบวนการเรียนรู้ และ 3) นำเสนอแนวทางพัฒนากระบวนการเรียนรู้ทางจริยธรรมตามรูปแบบมนุษยนิยมแบบฆราวาสของกลุ่มเยาวชนไทยในโลกยุคหลังสมัยใหม่นิยม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) ประเภทการวิจัยแบบขั้นตอนเชิงอธิบายตามลำดับ (explanatory sequential design) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ เยาวชนไทย อายุ 15-18 ปี กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบง่าย(Simple random sampling) จำนวน 569 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) ประกอบด้วย 2 กลุ่มได้แก่ (1) กลุ่มเยาวชนไทย และ (2) กลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการเรียนรู้ทางจริยธรรมของเยาวชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และ แบบประเมินร่างแนวทาง สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ การหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลวิจัยพบว่า 1) ด้านสภาวการณ์ทางจริยธรรม เยาวชนไทยมีการเรียนรู้ทางจริยธรรมตามรูปแบบมนุษยนิยมแตกต่างหลากหลายตามตัวแปรเชิงประชากร ด้าน เพศ อายุ พื้นที การอยู่อาศัยกับพ่อแม่ และอาชีพผู้ปกครอง และกำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่โลกยุคสมัยใหม่นิยมที่มีสภาวะความเป็นฆราวาสนิยมและสภาวการณ์เร่งนิยม 2) ปัจจัยเงื่อนไขกระบวนการเรียนรู้ทางจริยธรรมของกลุ่มเยาวชนไทยตามรูปแบบมนุษยนิยมแบบฆราวาสหลังยุคสมัยใหม่นิยม มี 4 ปัจจัยเงื่อนไข ได้แก่ (1) ปัจจัยด้านผู้สอน (2) ปัจจัยด้านวิธีการ (3) ปัจจัยด้านเนื้อหา (4) ปัจจัยด้านสื่อ และเงื่อนไขการเรียนรู้คือความสามารถทางจริยธรรมของปัจเจกบุคคล 3) แนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ทางจริยธรรมของกลุ่มเยาวชนไทยตามรูปแบบมนุษยนิยมแบบฆราวาสหลังยุคสมัยใหม่นิยมประกอบด้วย 4 แนวทางหลัก ได้แก่ 1) แนวการพัฒนาเนื้อหาสาระเพื่อการพัฒนาเนื้อหา 2) แนวทางการเตรียมความพร้อมบุคลกรทางการศึกษาและสังคม 3) แนวทางการสร้างและพัฒนาสื่อหลังสมัยใหม่ 4) การกำหนดกรอบนโยบายเพื่อสร้างการสื่อสารเชิงบวก ให้โอกาส และ ทางเลือกแก่เยาวชน
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The objectives of this research were to (1) Study the current moral landscape of Thai youths in the post modernized world 2) Analyze what factors contribute to the moral learning process, and 3) propose guidelines for moral learning development for Thai youths in the post modernized world. This research used (Mixed Method Research methodology, specifically explanatory sequential design method. The population of this research were Thai youths in the post modernized world aged 15-18. The sample size through simple random sampling is 569. Key informants can be categorized into 2 groups comprising (1) Thai youths and (2) Stakeholders within the youth bioecology. The research methodologies and statistics used include means, standard deviation and content analysis. The research findings showed 1) The moral landscape of Thai youths in the post modernized world resonates with the secular humanistic framework which varies by demographic attributes studied, namely, gender, age, geographic location, living condition and parental status. The findings also demonstrates a societal transition into a secularized, post modernistic society accelerated by multiple disruptions 2) The effectiveness of Moral learning Developmental process of Thai Youths depends on four factors, i.e., (1) Content (2) Educator (3) Method (4) Media under the condition of the one condition of the individual’s Moral Autonomy 3) This research proposes four main guidelines for Moral learning development process of Thai youths in the post modernized world (1) Content Development (2) Upskilling-Reskilling Personnel and the society 3) Creating Postmodernized Media (4) Policy Making for social re-entry and social equity
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
เพียรล้ำเลิศ, ณิชกานต์ นพวงศ์, "การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ทางจริยธรรมตามรูปแบบมนุษยนิยมแบบฆราวาสของกลุ่มเยาวชนไทยในโลกยุคหลังสมัยใหม่นิยม" (2023). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 12070.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/12070