Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Treatment outcome of vital pulp treatment in permanent teeth with deep carious lesion: a systematic review

Year (A.D.)

2023

Document Type

Thesis

First Advisor

บุษยรัตน์ สันติวงศ์

Faculty/College

Faculty of Dentistry (คณะทันตแพทยศาสตร์)

Department (if any)

Department of Pediatric Dentistry (ภาควิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

ทันตกรรมสำหรับเด็ก

DOI

10.58837/CHULA.THE.2023.560

Abstract

บทนำ: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาผลความสำเร็จของการรักษาเนื้อเยื่อในแบบคงความมีชีวิตวิธีการต่างๆ ได้แก่ การปิดทับเนื้อเยื่อในโดยตรง การทำพัลโพโตมีบางส่วนและการทำพัลโพโตมีในฟันแท้ที่ผุทะลุโพรงประสาทฟัน โดยแบ่งตามการวินิจฉัย ได้แก่ Reversible pulpitis และ Irreversible pulpitis วิธีดำเนินการ: ทำการสืบค้นงานวิจัยและการศึกษาผ่านฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และสืบค้นด้วยมือ งานวิจัยที่ตรงตามเกณฑ์คัดเข้าจะถูกคัดเข้ามาทำการวิเคราะห์ข้อมูล การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดอคติ (Risk of bias) ทำโดยใช้แบบประเมิน RoB 2 และ the ROBINS-I tool สำหรับงานวิจัยชนิด RCTs และงานวิจัยชนิด Non-RCTs ตามลำดับ ข้อมูลที่สังเคราะห์จากงานวิจัยที่คัดเข้ามาถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ฟันที่ได้รับการวินิจฉัยเป็น Reversible pulpitis และ Irreversible pulpitis แต่ละกลุ่มจะทำการคิดอัตราความสำเร็จถ่วงน้ำหนักที่ค่าความเชื่อมั่นที่ 95% ของการรักษาแต่ละวิธี ได้แก่ การปิดทับเนื้อเยื่อในโดยตรง การทำพัลโพโตมีบางส่วนและการทำพัลโพโตมีที่ระยะเวลาการติดตามอาการต่างๆ สำหรับการคิดอัตราความสำเร็จของวัสดุปิดทับเนื้อเยื่อในที่ใช้ในการรักษาจะทำการคำนวณด้วยวิธีการเดียวกันโดยใช้โปรแกรม R-statistics version 4.3.2 ผลการศึกษา: งานวิจัยที่ได้รับการคัดเข้าและนำมาวิเคราะห์ข้อมูลมีทั้งหมด 31 งานวิจัย อัตราความสำเร็จถ่วงน้ำหนักที่ค่าความเชื่อมั่นที่ 95% ของการรักษาแต่ละวิธีของฟันที่ได้รับการวินิจฉัยเป็น Reversible pulpitis มีค่า 78.7 - 93.5% โดยการรักษาด้วยการทำพัลโพโตมีบางส่วนมีอัตราความสำเร็จสูงกว่าการปิดทับเนื้อเยื่อในโดยตรงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนฟันที่ได้รับการวินิจฉัยเป็น Irreversible pulpitis อัตราความสำเร็จถ่วงน้ำหนักของการรักษาแต่ละวิธีมีค่า 79.0 - 90.6% โดยการทำพัลโพโตมีให้อัตราความสำเร็จสูงสุด สำหรับอัตราความสำเร็จถ่วงน้ำหนักของวัสดุปิดทับเนื้อเยื่อในในกลุ่ม Bioceramics ให้อัตราความสำเร็จสูงกว่าวัสดุชนิด Calcium hydroxide อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปผล: การรักษาเนื้อเยื่อในแบบคงความมีชีวิต ได้แก่ การปิดทับเนื้อเยื่อในโดยตรง การทำพัลโพโตมีบางส่วนและการทำพัลโพโตมีควรพิจารณาใช้รักษาฟันแท้ที่มีชีวิตที่ผุทะลุโพรงประสาทฟัน สำหรับฟันที่ได้รับการวินิจฉัยเป็น Reversible pulpitis การทำพัลโพโตมีบางส่วนมีอัตราความสำเร็จสูงกว่าการปิดทับเนื้อเยื่อในโดยตรงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนฟันที่ได้รับการวินิจฉัยเป็น Irreversible pulpitis การทำพัลโพโตมีมีอัตราความสำเร็จสูงเมื่อเทียบกับวิธีอื่นๆ สำหรับวัสดุปิดทับเนื้อเยื่อในวัสดุชนิด Bioceramics ให้ผลสำเร็จสูงกว่า Calcium hydroxide อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Introduction: The aim of this systematic review is to determine the outcomes of vital pulp treatments comprising direct pulp treatment, partial pulpotomy and full pulpotomy in carious-exposed pulp permanent teeth diagnosed with either reversible pulpitis or irreversible pulpitis. Methods: The literature search was performed in PubMed, Cochrane database, Scopus and manual search. The risk of bias was evaluated using RoB 2 and the ROBINS-I tool for Randomized controlled trials (RCTs) and Non-RCTs, respectively. The data were categorized into two groups, reversible pulpitis and irreversible pulpitis teeth. The pooled success rate with the 95% CI of each treatment and pulp dressing material was calculated. The statistical analysis was performed using R-statistics version 4.3.2. Results: Thirty-one studies were included for analysis. The pooled success rate of vital pulp treatment in reversible pulpitis teeth ranged from 78.7−93.5%. Partial pulpotomy demonstrated significantly higher success outcomes than direct pulp treatment. For irreversible pulpitis teeth, the pooled success rate was between 79.0−90.6%. Full pulpotomy presented a more favorable outcome than the other treatments. Bioceramic materials had more successful outcomes in vital pulp treatment than calcium hydroxide. Conclusion: Vital pulp treatment, i.e., direct pulp treatment, partial pulpotomy and full pulpotomy should be considered for treating vital permanent teeth with a carious pulp exposure. Partial pulpotomy exhibits significantly higher success outcomes than direct pulp treatment in treating reversible pulpitis teeth, however, full pulpotomy provides more favorable outcomes in irreversible pulpitis teeth. Bioceramic materials should be considered as a pulp dressing material rather than calcium hydroxide.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.