Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้การฝึกฝังรากฟันเทียมบริเวณสวยงามด้วยระบบไดนามิกนาวิเกชันระหว่างหมอที่ไม่มีประสบการณ์กับหมอที่มีประสบการณ์ด้านการฝังรากฟันเทียม
Year (A.D.)
2023
Document Type
Thesis
First Advisor
Atiphan Pimkhaokham
Faculty/College
Faculty of Dentistry (คณะทันตแพทยศาสตร์)
Degree Name
Master of Science
Degree Level
Master's Degree
Degree Discipline
Esthetic Restorative and Implant Dentistry
DOI
10.58837/CHULA.THE.2023.567
Abstract
Background: The increasing importance of CAIS in the practice of implant dentistry calls for adequate education and training of clinicians, however little evidence is available to support educational strategies and best practice. Purpose: The aim of this study was to investigate the effectiveness of distributed training with d-CAIS in the accuracy of freehand implant placement by inexperienced operators. Materials and Methods: Six senior dental students without experience in implant placement and dynamic CAIS systems received simulation in free-hand implant surgery (5 implants), followed by distributed training in dynamic CAIS (6 implants). An assessment followed in freehand implant placement (5 implants). The outcomes of the novice were compared to the benchmark of an expert surgeon who repeated the same simulation exercises with d-cais and freehand implant placement respectively. Total Surgical time and accuracy of implant placement were recorded. Results: The average precision of implant placement by the novice operators improved significantly between baseline and after the d-CAIS simulation training. 3D platform deviation (1.63 ± 0.85 vs 0.92 ± 0.23; p < 0.001), 3D apical deviation (1.93 ± 0.88 vs 1.21 ± 0.19; p < 0.001), and angular deviation (5.27 ± 2.30 vs 2.74 ± 1.37; p < 0.001). The novice operators reached accuracy of implant placement at platform comparable to this of the expert, but not at the angle and apical, or total surgical time, where the expert performed significantly better. Conclusions: short-term, distributed simulation training with d-CAIS can help novice operators increase accuracy of implant placement, with the high accuracy maintained when placing implants freehand as well. The accuracy reached at platform resembled this of an expert operator, however novice operators required significantly longer time and reached significantly lower accuracy with angle and apical than the expert.
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
ปัญหาพื้นฐาน: การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยเหลือในการผ่าตัดรากฟันเทียมนั้นได้มีความสำคัญและนิยมเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน โดยเฉพาะในงานด้านการเรียนรู้และฝึกอบรมการฝังรากฟันเทียม อย่างไรก็ตามข้อมูลที่มีการศึกษาอยู่นั้นยังไม่เพียงพอที่จะหากลยุทธ์ในการศึกษาและปฏิบัติที่ดีที่สุด วัตถุประสงค์: วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือการสำรวจความมีประสิทธิภาพของการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมด้วยมือเปล่า หลังจากการฝึกอบรมแบบกระจายร่วมกับการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการผ่าตัดฝังรากเทียมแบบไดนามิกนาวิเกชัน โดยผู้ปฏิบัติการที่ไม่มีประสบการณ์ วัสดุและวิธีการ: นักศึกษาทันตแพทย์ชั้นปีที่ 6 6 คนที่ไม่มีประสบการณ์ในการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมและไม่คุ้นเคยกับระบบการผ่าตัดฝังรากฟันเทียบแบบคอมพิวเตอร์ช่วยเหลือ ได้รับการจำลองในการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมแบบมือเปล่าจำนวน 5 ครั้ง ตามด้วยการฝึกอบรมแบบกระจายโดยการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการผ่าตัดฝังรากเทียมแบบไดนามิกนาวิเกชันจำนวน 6 ครั้ง หลังจากนั้นมีการประเมินผลโดยการฝังรากฟันเทียมแบบมือเปล่าจำนวน 5 ครั้ง ผลลัพธ์ของผู้ปฏิบัติการที่ไม่มีประสบการณ์ถูกเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานของทันตแพทย์ผ่าตัดผู้เชี่ยวชาญที่ทำการจำลองการผ่าตัดแบบเดียวกันด้วยระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการผ่าตัดฝังรากเทียมแบบไดนามิกนาวิเกชัน และการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมแบบมือเปล่าตามลำดับ ซึ่งวัดผลด้วยระยะเวลาผ่าตัดทั้งหมดและความแม่นยำของการผ่าตัดฝังรากเทียม ผลการศึกษา: ความแม่นยำเฉลี่ยของการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมโดยผู้ปฏิบัติที่ไม่มีประสบการณ์ มีการพัฒนาอย่างมีนัยยะสำคัญระหว่างก่อนและหลังจากการฝึกอบรมการการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการผ่าตัดฝังรากเทียมแบบไดนามิกนาวิเกชัน การเบี่ยงเบนระยะขจัดของตำแหน่งรากฟันเทียมบริเวณฐาน (1.63 ± 0.85 vs 0.92 ± 0.23; p < 0.001), การเบี่ยงเบนระยะขจัดของตำแหน่งรากฟันเทียมบริเวณปลาย (1.93 ± 0.88 vs 1.21 ± 0.19; p < 0.001), และการเบี่ยงเบนเชิงมุม (5.27 ± 2.30 vs 2.74 ± 1.37; p < 0.001) ผู้ปฏิบัติที่ไม่มีประสบการณ์ได้้ผลลัพท์ความแม่นยำในการฝังรากฟันเทียมที่ฐานเทียบเท่ากับทันตแพทย์ที่เชี่ยวชาญ แต่อย่างไรก็ตามค่าเบี่ยงเบนที่เชิงมุมและบริเวณปลาย หรือเวลาผ่าตัดทั้งหมดไม่เทียบเท่ากับทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สรุป: การฝึกอบรมระยะสั้นในการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมแบบกระจาย โดยการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการผ่าตัดฝังรากเทียมแบบไดนามิกนาวิเกชัน สามารถช่วยให้ผู้ปฏิบัติไม่มีประสบการณ์เพิ่มความแม่นยำในการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมได้และมีความแม่นยำสูงต่อเนื่องแม้จะใช้การผ่าตัดฝังรากเทียมแบบมือเปล่า โดยความแม่นยำที่ได้ที่ฐานเทียบเท่ากับทันตแพทย์ที่เชี่ยวชาญ อย่างไรก็ตามผู้ปฏิบัติที่ไม่มีประสบการณ์ต้องใช้เวลามากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและมีความแม่นยำต่ำกว่าทันตแพทย์ที่เชี่ยวชาญที่มุมและปลาย
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
Teparrukkul, Hatsapon, "The comparison of learning outcome of dental implant placement training in esthetic zone using dynamic navigation system between novice dentists and experience dentists" (2023). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 12051.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/12051