Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

การวิเคราะห์ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ในรากฟันเทียมแบบเฉพาะบุคคลในคุณภาพของกระดูกที่แตกต่างกัน

Year (A.D.)

2021

Document Type

Thesis

First Advisor

Atiphan Pimkhaokham

Second Advisor

Boonrat Lohwongwatana

Faculty/College

Faculty of Dentistry (คณะทันตแพทยศาสตร์)

Department (if any)

Department of Oral and Maxillofacial Surgery (ภาควิชาศัลยศาสตร์ (คณะทันตแพทยศาสตร์))

Degree Name

Master of Science

Degree Level

Master's Degree

Degree Discipline

Oral and Maxillofacial Surgery

DOI

10.58837/CHULA.THE.2021.1244

Abstract

Purpose: The purpose of this finite element analysis (FEA) study was to compare stress distribution among three different designs of a novel 3D printed root analog dental implant and a conventional screw-type implant, for different types of bone density. Materials and Methods: A mandibular right second premolar was selected from CBCT database. Four models were created: 1)Solid root analog implant 2)Solid&Porous root analog implant 3)Porous root analog implant and 4)Screw-type implant (control). Bone quality types I-IV was determined based on Lekholm and Zarb classification. Von Mises stress was measured at bone and implant. Results: FEA models were developed and von Mises stress was calculated. The Solid root analog demonstrated the least stress for every bone quality. Screw-type and Solid&Porous root analog implant models demonstrated similar stress values. Solid root analog implant demonstrated lowest stress values in type I,II and III bone quality, but the lowest stress for Type IV occurred with Solid&Porous root analog implant design. Conclusion: A more favourable stress distribution pattern was documented with a solid root analog dental implant than with a screw-type, for every type of bone. However, addition of porous structure could further reduce stress at cancellous bone in type IV bone.

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

จุดประสงค์:เพื่อเปรียบเทียบการกระจายความเค้นของรากฟันเทียมแบบเฉพาะบุคคลในคุณภาพกระดูกที่แตกต่างกันด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ วิธีดำเนินการวิจัย:ข้อมูลภาพรังสีโคนบีมของฟันกรามล่างขวาซี่ที่สองได้ถูกนำมาแปลงเป็นข้อมูลสามมิติเพื่อสร้างโมเดลสามมิติสำหรับออกแบบชิ้นงานในซอฟต์แวร์ไฟไนต์เอลิเมนต์ จากนั้นสร้างโมเดลเป็นทั้งหมด 4 รูปแบบ: 1)รากฟันเทียมลักษณะเหมือนรากฟันแบบทรงตัน 2)รากฟันเทียมลักษณะเหมือนรากฟันแบบทรงตันผสมรูพรุน 3)รากฟันเทียมลักษณะเหมือนรากฟันแบบรูพรุน และ 4)รากเทียมแบบเกลียว(กลุ่มควบคุม) จากนั้นกำหนดให้คุณภาพของกระดูกรอบรากเทียมแบ่งเป็น 4 ประเภทตาม Lekholm และ Zarb และแรงที่กระทำบนรากฟันเทียมจะมีแรงในเเนวตั้ง 200 นิวตัน พร้อมกับแรงในแนวนอน 40 นิวตัน เพื่อนำมาคำนวณค่าความเค้นของวอนมิสเซส ผลการวิจัย: จากการวิเคราะห์ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์และการคำนวณค่าความเค้นของวอนมิสเซส รากฟันเทียมลักษณะเหมือนรากฟันแบบทรงตันมีความเค้นน้อยที่สุดในกระดูกทั้ง 4 ประเภท รากเทียมแบบเกลียว(ตัวควบคุม) และรากฟันเทียมลักษณะเหมือนรากฟันแบบทรงตันผสมรูพรุน มีค่าความเค้นต่อกระดูกคล้ายกัน รากฟันเทียมลักษณะเหมือนรากฟันแบบทรงตันมีค่าความเค้นน้อยที่สุดในกระดูกประเภทที่หนึ่ง สองและสาม ในขณะที่รากฟันเทียมลักษณะเหมือนรากฟันแบบทรงตันผสมรูพรุนมีค่าความเค้นน้อยที่สุดในกระดูกประเภทที่สี่ สรุปการวิจัย: การกระจายความเค้นของรากฟันเทียมลักษณะเหมือนรากฟันแบบทรงตันดีกว่าแบบเกลียวในทุกประเภทของกระดูกรอบรากฟันเทียม อย่างไรก็ตามโครงสร้างที่มีรูพรุนมากขึ้นของรากฟันเทียมสามารถลดความเค้นได้มากขึ้นที่กระดูกโปร่งในกระดูกประเภทที่สี่

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.