Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Development of mushroom substrate from spent coffee grounds and rain tree leaves

Year (A.D.)

2023

Document Type

Thesis

First Advisor

พิชญ รัชฎาวงศ์

Faculty/College

Faculty of Engineering (คณะวิศวกรรมศาสตร์)

Department (if any)

Department of Environmental Engineering (ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม)

Degree Name

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

DOI

10.58837/CHULA.THE.2023.937

Abstract

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ในการศึกษาการนำกากกาแฟและใบจามจุรีที่เป็นมูลฝอย มาใช้ในการพัฒนาวัสดุเพาะเลี้ยงเห็ดนางรมทอง เพื่อเป็นวัสดุทางเลือกนอกจากวัสดุดั้งเดิมที่มีการใช้เพาะเลี้ยงเห็ด อย่างขี้เลื่อยไม้ยางพารา จากการทดลอง พบว่าการใช้กากกาแฟเป็นส่วนผสมในอัตราส่วนร้อยละ 30 ของน้ำแห้งก้อนเห็ด สามารถเพิ่มปริมาณโปรตีนและน้ำหนักของผลผลิตที่ได้เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราเพียงอย่างเดียว โดยผลผลิตดอกเห็ดมีน้ำหนักเฉลี่ยที่ 80.33±2.15 กรัม และมีปริมาณโปรตีนที่ 35.08±0.59% แต่เวลาที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับการใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราเพียงอย่างเดียว โดยใช้เวลาเพาะเลี้ยงเฉลี่ยประมาณ 64 วัน และมีปริมาณคาเฟอีน 1.70 มก./ล. ในผลผลิตดอกเห็ด และการใช้ใบจามจุรีเป็นวัสดุผสมที่อัตราส่วนร้อยละ 30 ของน้ำหนักแห้งก้อนเห็ด ให้ผลผลิตในด้านของน้ำหนักและโปรตีน รวมถึงเวลาในการเพาะเลี้ยงที่เทียบเท่ากับการใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราเพียงอย่างเดียว โดยมีค่า 55.90±3.18 กรัม และ 31.64±0.76% ตามลำดับ รวมถึงใช้ระยะเวลาการเพาะเลี้ยงเฉลี่ยประมาณ 37 วัน จากการศึกษาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกในผลผลิตดอกเห็ด พบว่าปริมาณสารประกอบฟีนอลิกในผลผลิตเห็ดนางรมทองมีปริมาณที่แตกต่างกันเพียงเล็กน้อยในแต่ละรูปแบบสัดส่วนผสม และก้อนเห็ดที่ผ่านการเก็บเกี่ยว มีส่วนประกอบของเถ้าที่น้อยกว่า 15% โดยน้ำหนักแห้ง และไม่มีส่วนประกอบของซัลเฟอร์ สามารถนำไปเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลได้ หากมีการลดความชื้นก่อนการนำไปใช้

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This research aimed to using Spent coffee grounds (SCG) and Rain tree leaves (RTL) as a mushroom substrate as like as rubber sawdust (SW). The result showed mixing SCG at ratio of 30% (w/w) could increase a protein content, 35.08±0.59% and weight of product, 80.33±2.15 g, but increasing cultivation’s time to about two times, 64 days, compared with using SW substrate alone. The fruiting bodies from 30% (w/w) mixing SCGs substrate had a caffeine at 1.70 mg/L. Using RTL at 30% (w/w) ratio could also had same equivalent product in term of protein, weight, and cultivation time as only using SW as substrate alone, there are 31.64±0.76%, 55.90±3.18 g and around 37 days respectively. The phenolic compound (TPC) was found in slightly difference in each mushroom substrate. Next, the spent mushroom substrate with component as SW, SCG and RTL could be used as biomass but should be reduced the moisture.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.