Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Prevalence of pseudohypertriglyceridemia in patients with severe hypertriglyceridemia by using urine triglyceride measurement
Year (A.D.)
2023
Document Type
Thesis
First Advisor
วีรพันธุ์ โขวิฑูรกิจ
Second Advisor
ภรณี กนกโรจน์
Faculty/College
Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)
Department (if any)
Department of Medicine (ภาควิชาอายุรศาสตร์ (คณะแพทยศาสตร์))
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
อายุรศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2023.589
Abstract
ที่มา: ภาวะไตรกลีเซอไรด์สูงปลอมในเลือดคือ ภาวะที่ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดปกติ แต่ตรวจพบไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ซึ่งเป็นผลบวกลวงจากวิธีการตรวจวัดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดด้วยเอนไซม์ ภาวะนี้มักถูกวินิจฉัยผิด ซึ่งทำให้ผู้ป่วยอาจได้รับยาลดไขมันโดยไม่จำเป็น และเนื่องจากผู้ป่วยที่มีภาวะไตรกลีเซอไรด์สูงปลอมนั้นมีค่าอัตราส่วนไตรกลีเซอไรด์ต่อค่าดัชนีความขุ่นขาวสูง ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของภาวะไตรกลีเซอไรด์สูงปลอมในผู้ป่วยที่มีภาวะไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงรุนแรง โดยใช้การคัดกรองด้วยค่าอัตราส่วนไตรกลีเซอไรด์ต่อค่าดัชนีความขุ่นขาวและการวินิจฉัยด้วยการตรวจไตรกลีเซอไรด์ในปัสสาวะ วิธีการศึกษา: การศึกษานี้มีรูปแบบเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง โดยใช้ฐานข้อมูลจากแผนกผู้ป่วยนอก รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ขั้นแรก ทำการศึกษานำร่องเพื่อหาค่ามัธยฐานบวกค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ของอัตราส่วนไตรกลีเซอไรด์ต่อค่าดัชนีความขุ่นขาว เพื่อนำมาใช้แยกผู้ป่วยเสี่ยงสูงต่อภาวะไตรกลีเซอไรด์สูงปลอม หลังจากนั้นหาผู้ป่วยที่มีภาวะไตรกลีเซอไรด์สูงรุนแรงและมีค่าอัตราส่วนไตรกลีเซอไรด์ต่อค่าดัชนีความขุ่นขาวสูงกว่าค่ามัธยฐานบวกค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ โดยใช้ข้อมูลจากช่วงตุลาคม 2564 ถึงมกราคม 2567 จากนั้นเลือกผู้ป่วยตามเกณฑ์คัดเข้าและไม่มีเกณฑ์คัดออกเพื่อตรวจไตรกลีเซอไรด์ในเลือดและปัสสาวะซ้ำ การตรวจพบไตรกลีเซอไรด์สูงทั้งในเลือดและปัสสาวะ บ่งบอกว่าผู้ป่วยมีภาวะกลีเซอรอลสูงทั้งในเลือดและปัสสาวะ จึงนำไปสู่การวินิจฉัยภาวะไตรกลีเซอไรด์สูงปลอม ผลการวิจัย: การศึกษานำร่องโดยใช้ข้อมูลจาก 137,771 ตัวอย่างพบว่าค่ามัธยฐานบวกค่าพิสัยระหว่างควอไทล์อยู่ที่ 0.71 และจากข้อมูลทั้งหมด 276,215 ตัวอย่างพบผู้ป่วยไตรกลีเซอไรด์สูงรุนแรง 806 ราย ในจำนวนนี้มี 69 รายซึ่งมีภาวะไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงรุนแรงและมีค่าอัตราส่วนไตรกลีเซอไรด์ต่อค่าดัชนีความขุ่นขาวสูงกว่า 0.71 เข้าร่วมวิจัย คุณลักษณะของประชากรได้แก่อายุเฉลี่ย 54 ปี เป็นเพศชาย 58 เปอร์เซ็นต์ น้ำหนักเฉลี่ย 71.8 กิโลกรัม ดัชนีมวลกาย 27.1 และ 84 เปอร์เซ็นต์ได้รับยาลดไขมัน ตรวจพบภาวะไตรกลีเซอไรด์สูงปลอม 2 ราย จากผู้ป่วยที่มีภาวะไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงรุนแรง 806 ราย คิดเป็น 0.25 เปอร์เซ็นต์ มีผู้ป่วยรายหนึ่งตรวจพบไตรกลีเซอไรด์ในเลือดเท่ากับ 751 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และไตรกลีเซอไรด์ในปัสสาวะเท่ากับ 10,619 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร เนื่องจากผู้ป่วยมีปัญหาไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงรุนแรงโดยไม่ตอบสนองต่อลดไขมัน อีกทั้งยังมีค่าอัตราส่วนไตรกลีเซอไรด์ต่อค่าดัชนีความขุ่นขาวสูงถึง 1.99 ผู้ป่วยรายนี้มีอาจมีภาวะขาดเอนไซม์กลีเซอรอลไคเนส สรุปผล: นี่คือการศึกษาครั้งแรกเกี่ยวกับความชุกของภาวะไตรกลีเซอร์ไรด์สูงปลอม อัตราส่วนไตรกลีเซอร์ไรด์ต่อดัชนีความขุ่นขาว และการตรวจวัดไตรกลีเซอร์ไรด์ในปัสสาวะ สามารถนำมาใช้ช่วยในการวินิจฉัยภาวะไตรกลีเซอร์ไรด์สูงปลอมได้จริงในทางคลินิก โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีไตรกลีเซอร์ไรด์สูงรุนแรงและไม่ตอบสนองต่อยาลดไขมัน การเข้าใจขั้นตอนในการตรวจวัดระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ด้วยเอนไซม์ และสาเหตุที่ทำให้เกิดผลบวกลวง นั้นสำคัญอย่างยิ่งเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยได้รับยาลดไขมันโดยไม่จำเป็น
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Background: Pseudohypertriglyceridemia is a falsely elevated triglyceride result due to the determination of triglyceride with the enzymatic method when there is an excess of glycerol in the sample. It is often misdiagnosed, leading to unnecessary treatments. Because patients with pseudohypertriglyceridemia have a high serum triglyceride/lipemic index ratio, this study aimed to investigate the prevalence of pseudohypertriglyceridemia in patients with severe hypertriglyceridemia by using the serum triglyceride/lipemic index ratio as a screening tool and urine triglyceride measurement as a diagnostic tool. Methods: A cross-sectional descriptive study was conducted at King Chulalongkorn Memorial Hospital. Initially, a pilot study was carried out to analyze serum triglyceride/lipemic index ratios and determine a cutoff value at the median plus IQR. Then, using all data from October 2021 to January 2024, patients with severe hypertriglyceridemia and a ratio exceeding the median plus IQR were considered high-risk. Participants meeting the inclusion criteria and without exclusion criteria were invited to undergo another round of blood and urine testing. Simultaneous false elevation of triglycerides in both blood and urine can indicate hyperglycerolemia and hyperglyceroluria, leading to a diagnosis of pseudohypertriglyceridemia. Results: The pilot study, from 137,771 samples, revealed the median plus IQR of triglyceride/lipemic index ratios at 0.71.A total of 276,215 lipid profile tests revealed 806 patients with severe hypertriglyceridemia, out of which 69 patients with severe hypertriglyceridemia and a ratio exceeding 0.71 participated. Baseline characteristics included a mean age of 54 years, with 58% being male. The mean body weight and BMI were 71.8 kg and 27.1 kg/m², respectively, and 84% of participants received lipid-lowering therapy. Pseudohypertriglyceridemia was identified in 2 out of 806 patients with severe hypertriglyceridemia (0.25%). One of the patients, his triglyceride concentration was 751 mg/dl and his urine triglyceride level was 10,619 mg/dl. Given the history of persistently severe hypertriglyceridemia that was unresponsive to lipid-lowering therapy and the triglyceride/lipemic index ratios up to 1.99, it is possible that he had glycerol kinase deficiency. Conclusion: This is the first study on the prevalence of pseudohypertriglyceridemia. The identified ratio may serve as a potential screening tool, and urine triglyceride measurement can serve as a diagnostic tool for patients with persistently severe hypertriglyceridemia who do not respond to lipid-lowering therapy, aiming to avoid unnecessary side effects. Understanding and recognizing this interference is essential for the accurate interpretation of test results.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
สันติดำรงกุล, อธิษฐ์, "ความชุกของภาวะไตรกลีเซอไรด์สูงปลอมในผู้ป่วยที่มีภาวะไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงรุนแรง โดยใช้การตรวจไตรกลีเซอไรด์ในปัสสาวะ" (2023). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 11855.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/11855