Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
The Effectiveness of Levofloxacin in prevention of Febrile Episodes in Non-Hodgkin Lymphoma patients receiving Rituximab, Cyclophosphamide, Vincristine, Doxorubicin and Prednisolone (R-CHOP)
Year (A.D.)
2023
Document Type
Thesis
First Advisor
นภชาญ เอื้อประเสริฐ
Faculty/College
Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)
Department (if any)
Department of Medicine (ภาควิชาอายุรศาสตร์ (คณะแพทยศาสตร์))
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
อายุรศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2023.592
Abstract
หลักการและเหตุผล: การเกิดไข้ในภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำถือเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กินที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดสูตรริทูซิแมบ ไซโคฟอสฟามาย วินคริสติน ดอกโซรูบิซิน และ เพร็ดนิโซโลน (R-CHOP) โดยประโยชน์ของการให้ยาต้านจุลชีพเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวยังไม่ชัดเจน โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ได้รับ G-CSF ร่วมด้วย จึงยังไม่มีคำแนะนำมาตรฐาน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อประเมินประสิทธิภาพของยาลีโวฟลอกซาซินในการป้องกันการเกิดไข้ตามหลังการให้เคมีบำบัดสูตร R-CHOP ในผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กิน วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม ทำการศึกษาผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กินที่ได้รับเคมีบำบัดสูตร R-CHOP ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระหว่าง 1 มกราคม พ.ศ. 2566 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยแบ่งกลุ่มการศึกษาเป็น 2 กลุ่ม ให้ยาลีโวฟลอกซาซินขนาด 500 mg หรือยาหลอก รับประทานวันละ 1 ครั้ง เป็นระยะเวลา 7 วัน เริ่มหลังให้เคมีบำบัด 1 วัน ผู้ป่วยทุกรายได้รับ G-CSF โดยประเมินผลการศึกษาหลัก คือการเกิดไข้ ในระยะเวลาทั้งสิ้น 120 วันนับตั้งแต่เริ่มเคมีบำบัด และ ผลการศึกษารอง ได้แก่การเกิดภาวะช็อกจากการติดเชื้อ การเสียชีวิตจากการติดเชื้อ การเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ การลดขนาดยาเคมีบำบัด ระยะเวลาการเริ่มเกิดไข้ครั้งแรก และ ผลลัพธ์รวม ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่เข้าร่วมงานวิจัยทั้งหมด 58 คน แบ่งเป็นกลุ่มละ 29 คน อายุเฉลี่ย 61 ปี อัตราการเกิดไข้ร้อยละ 10.3 และ ร้อยละ 37.9 ในกลุ่มที่ได้ยาลีโวฟลอกซาซิน และ ในกลุ่มที่ได้ยาหลอกตามลำดับ (P = 0.014) ยาลีโวฟลอกซาซินลดอัตราการเกิดภาวะไข้ร่วมกับเม็ดเลือดขาวต่ำ (ร้อยละ 3.4 เทียบกับ ร้อยละ 24.1, P = 0.022), การลดขนาดยาเคมีบำบัด (ร้อยละ 0 เทียบกับ ร้อยละ 17, P = 0.019) และ ผลลัพธ์รวม (ร้อยละ13.8% เทียบกับ ร้อยละ 37.9, P = 0.036) เมื่อเปรียบเทียบกับยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีอัตราปลอดไข้สูงกว่า โดยมีค่า hazard ratio (HR) 0.24 (95% CI 0.07 to 0.85; P = 0.017) โดยไม่พบความแตกต่างกันของอัตราการเกิดภาวะช็อกจากการติดเชื้อ การเสียชีวิตจากการติดเชื้อ การเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ และไม่พบผลข้างเคียงรุนแรงในผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม สรุป: ยาลีโวฟลอกซาซินมีประสิทธิภาพในการลดอัตราการเกิดไข้ การเกิดไข้ในภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ และการลดขนาดยาเคมีบำบัด ในผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กินที่ได้รับเคมีบำบัดสูตร R-CHOP ที่ได้รับ G-CSF ร่วมด้วย อนึ่ง ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในกลุ่มประชากรที่ใหญ่ขึ้น และควรมีการติดตามที่นานขึ้นเพื่อประเมินเรื่องการเกิดเชื้อดื้อยา
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Background: Febrile neutropenia poses significant risks for morbidity and mortality in non-Hodgkin lymphoma (NHL) patients undergoing R-CHOP chemotherapy. Prophylactic antibacterial use after R-CHOP is controversial, especially when patients receive primary G-CSF prophylaxis, with no established standard recommendation. This study aims to evaluate the effectiveness of levofloxacin in preventing febrile episodes in NHL patients receiving R-CHOP and G-CSF prophylaxis. Method: A randomized, single-blind, placebo-controlled trial was conducted at King Chulalongkorn Memorial Hospital, enrolling non-Hodgkin lymphoma patients undergoing R-CHOP chemotherapy from January 1, 2023, to December 31, 2023. Patients were randomly assigned to receive either levofloxacin 500 mg once daily or a matching placebo for 7 days, beginning one day after chemotherapy. All patients received primary G-CSF prophylaxis. The primary outcome was the occurrence of febrile episodes within 120 days. Secondary outcomes included rates of septic shock, septic death, all-cause mortality, chemotherapy dose reduction, and the onset of the first febrile episode and composite outcome. Results: Fifty-eight participants were randomly assigned to two groups, with 29 individuals in each group. Their mean age was 61 years. In the intention-to-treat analysis, febrile episodes occurred in 10.3% and 37.9% of participants in the levofloxacin and placebo groups, respectively (P = 0.014). Levofloxacin prophylaxis significantly reduced febrile neutropenia (3.4% vs. 24.1%, P = 0.022), chemotherapy dose reduction (0% vs. 17%, P = 0.019), and composite outcome (13.8% vs. 37.9%, P = 0.036). The hazard ratio for febrile-free survival with levofloxacin vs. placebo was 0.24 (95% CI 0.07 to 0.85; P = 0.017). No significant differences in infection-related mortality or all-cause mortality were observed between the two groups. Furthermore, no serious adverse effects were documented in either group. Conclusions: The use of levofloxacin prophylaxis is an effective and well-tolerated strategy in reducing the incidence of febrile episodes, febrile neutropenia, and the need for chemotherapy dose reduction among NHL patients undergoing R-CHOP chemotherapy despite primary G-CSF prophylaxis. Further research with a larger sample size is warranted, and long-term antibiotic resistance monitoring is needed.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
สุรกิจบวร, มุทิตา, "การศึกษาประสิทธิภาพของยาลีโวฟลอกซาซินเพื่อป้องกันการเกิดไข้ในผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ได้รับเคมีบำบัดสูตรริทูซิแมบ ไซโคฟอสฟามาย วินคริสติน ดอกโซรูบิซิน และ เพร็ดนิโซโลน" (2023). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 11851.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/11851