Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Short term effect of albumin infusion on serum 1,25 dihydroxy vitamin d (calcitriol) in decompensated cirrhotic patients with ascites
Year (A.D.)
2023
Document Type
Thesis
First Advisor
ปิยะวัฒน์ โกมลมิศร์
Second Advisor
เกศรินทร์ ถานะภิรมย์
Faculty/College
Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)
Department (if any)
Department of Medicine (ภาควิชาอายุรศาสตร์ (คณะแพทยศาสตร์))
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
อายุรศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2023.593
Abstract
วัตถุประสงค์: ภาวะตับแข็งระยะท้ายเป็นภาวะที่มีการอักเสบเพิ่มขึ้นในร่างกายเป็นปริมาณมากนำไปสู่การล้มเหลวของอวัยวะสำคัญหลายอย่าง ข้อมูลในปัจจุบันพบว่าอัลบูมินซึ่งเป็นโปรตีนที่สำคัญของร่างกาย นอกจากจะมีคุณสมบัติในการคงสารน้ำไว้ในหลอดเลือดแล้ว ยังมีคุณสมบัติในการลดการอักเสบในร่างกาย การศึกษาหลายการศึกษาก่อนหน้าพบว่า การให้อัลบูมินขนาดสูงในผู้ป่วยตับแข็งระยะท้ายสามารถทำให้สารไซโตไคน์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการอักเสบลดลงได้ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างการให้อัลบูมินกับกระบวนการอักเสบในร่างกาย งานวิจัยนี้ต้องการศึกษาว่าผลในการลดการอักเสบของอัลบูมินนั้นมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของวิตามินดีซึ่งมีผลในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันหรือไม่ วิธีการวิจัย: งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาแบบไปข้างหน้า รวบรวมคนไข้จากคลินิกโรคตับของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยมุ่งเน้นไปที่ผู้ป่วยตับแข็งระยะท้ายที่มีน้ำในช่องท้อง ผู้ป่วยที่ได้เข้าร่วมการศึกษาจะได้รับอัลบูมินทางหลอดเลือดดำในระดับสูง (80 กรัมของอัลบูมิน) ในระยะเวลา 1 สัปดาห์ โดยมีเป้าหมายดูการเปลี่ยนแปลงของระดับวิตามินดีทั้งในรูปออกฤทธิ์คือ 1,25 (OH)2 วิตามินดี และ 25 (OH) วิตามินดีก่อนและหลังได้รับอัลบูมิน รวมถึงดูการเปลี่ยนแปลงของระดับสารไซโตไคน์ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบก่อนและหลังได้รับอัลบูมินด้วยเช่นกัน ผลการศึกษา: ผู้ป่วยตับแข็งระยะท้ายที่มีน้ำในช่องท้องทั้งสิ้น 17 รายถูกรวบรวมเข้าสู่การศึกษานี้ สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดตับแข็งคือภาวะตับแข็งจากแอลกอฮอล์ ตามด้วยภาวะตับอักเสบจากไขมันพอกตับ ไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง และสาเหตุอื่นๆ ผู้ป่วย 10 รายมีความรุนแรงของตับแข็งในระดับ B ตามการประเมินโดยระบบ Child-Pugh score ส่วนผู้ป่วยที่เหลืออีก 7 รายเป็นตับแข็งระยะ Child-Pugh score C ค่าเฉลี่ยของ Model End-Stage Liver Disease-sodium (MELD-Na) อยู่ที่ 15.7 ± 5.11 สำหรับผลของระดับวิตามินดี พบว่าค่าของ 1,25 (OH)2 วิตามินดี ลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติหลังได้รับอัลบูมิน (p = 0.011) ในขณะที่ 25 (OH) วิตามินดีก็ลดลงเช่นกันแต่ไม่มีนัยยะสำคัญทางสถิติ (p = 0.101) ส่วนระดับสารไซโตไคน์ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบที่สำคัญอย่างอินเตอร์ลิวคีน 1 เบต้า อินเตอร์ลิวคิน 6 ทูเมอร์เนโครสิสแฟคเตอร์อัลฟ่า และอินเตอร์เฟอร์รอนแกมม่าก็มีการลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติหลังได้รับอัลบูมิน (p = 0.043, 0.037, 0.005 และ 0.02 ตามลำดับ) อย่างไรก็ตามเมื่อนำมาวิเคราะห์แบบสหสัมพันธ์พบว่าไม่พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติระหว่างการเปลี่ยนแปลงของระดับอัลบูมินและการเปลี่ยนแปลงของระดับวิตามินดีทั้ง 1,25 (OH)2 วิตามินดี และ 25 (OH) วิตามินดีรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงของระดับสารอักเสบไซโตไคน์ สรุป: การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงการลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติของวิตามินดีในรูปออกฤทธิ์คือ 1,25 (OH)2 วิตามินดีและสารอักเสบไซโตไคน์หลังได้รับอัลบูมินขนาดสูงในผู้ป่วยตับแข็งระยะท้ายที่มีน้ำในช่องท้อง ซึ่งถึงแม้ยังไม่สามารถอธิบายถึงสาเหตุระะดับจุลภาคของการเปลี่ยนแปลงนี้ได้อย่างชัดเจน แต่ผลลัพธ์ที่ได้น่าจะช่วยสนับสนุนข้อสันนิษฐานว่ามีกระบวนการที่เกี่ยวข้องกันของอัลบูมิน สารอักเสบไซโตไคน์และวิตามินดีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการอักเสบและภูมิคุ้มกันของร่างกายซึ่งน่าจะมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไปในอนาคต
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Background and Aims: Decompensated cirrhosis, characterized by excessive inflammation, contributes to multiorgan dysfunction. Current understanding of albumin physiologic functions extends beyond its oncotic properties to encompass anti-inflammatory effects. A prior study, in a small number of cases, exhibited a notable decrease in inflammatory cytokine levels following high-dose albumin infusion in cirrhotic patients, suggesting a potential link between albumin replacement therapy and its anti-inflammatory mechanisms. This study aims to explore the intricate role of albumin infusion by focusing on its immunomodulatory properties. Our proposed hypothesis is that the anti-inflammatory attributes of albumin replacement therapy in cirrhotic patients might be partially linked to alterations in 1,25 dihydroxy vitamin D (1,25 (OH)2 vitamin D) levels, thereby influencing immune regulation. Method: This prospective open-label study was conducted at the Liver Clinic of King Chulalongkorn Memorial Hospital, and targeted patients diagnosed with decompensated cirrhosis with ascites. Participants meeting inclusion criteria underwent high-dose albumin infusion therapy (80 grams of albumin). Primary objectives centered on evaluating changes in 1,25 (OH)2 vitamin D levels, and 25 (OH) vitamin D levels before and after albumin infusion over one week. Secondary outcomes involved assessing alterations in ten inflammatory cytokine levels pre- and post-albumin infusion. Results: Interim analysis encompassed seventeen cases of decompensated cirrhosis with ascites. Alcohol was the most prevalent cause (N = 5), followed by NASH (N = 4), chronic hepatitis B infection (N = 3), cryptogenic (N = 2), and other causes. Ten patients had Child-Pugh scores B, while seven had Child-Pugh scores C, averaging a Child-Pugh score of 9 points. The average MELD-Na score was 15.7 ± 5.11. Post-albumin infusion, 1,25 (OH)2 vitamin D levels significantly decreased over a week (p = 0.011), while 25 (OH) vitamin D levels slightly decreased (p = 0.101). Importantly, IL-1 beta, IL-6, TNF-alpha, and IFN-gamma levels significantly decreased post-intervention (p = 0.043, 0.037, 0.005, and 0.02, respectively). However, no correlation was observed between changes in vitamin D and cytokine levels. Conclusion: This study evidenced a significant reduction in 1,25 (OH)2 vitamin D and inflammatory cytokine levels following high-dose albumin infusion in decompensated cirrhosis patients. While the direct relationship remains unclear at this stage, these findings hint at a potential mechanism influencing the complex interplay between albumin therapy, vitamin D alterations, and immune modulation. Further comprehensive investigations are warranted to elucidate this intricate relationship.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
รุ่งระวี, ฑิตาพร, "ผลระยะสั้นของการให้อัลบูมินต่อระดับวิตามินดี (แคลซิไทรออล) ในซีรั่มของผู้ป่วยตับแข็งระยะท้ายที่มีน้ำในช่องท้อง" (2023). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 11850.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/11850