Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Structural individual low fodmap dietary advice(SILFD) compare usual dietary advice for gastroesophageal reflux disease, a randomized trial
Year (A.D.)
2023
Document Type
Thesis
First Advisor
ฐนิสา พัชรตระกูล
Second Advisor
สุเทพ กลชาญวิทย์
Third Advisor
จรงกร ศิริมงคลเกษม
Faculty/College
Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)
Department (if any)
Department of Medicine (ภาควิชาอายุรศาสตร์ (คณะแพทยศาสตร์))
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
อายุรศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2023.595
Abstract
การศึกษาในอดีตพบว่าการบริโภคคาร์โบไฮเดรตย่อยยากในผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวนร่วมกับกรดไหลย้อนมีผลทำให้การคลายทำของหูรูดหลอดอาหารส่วนปลายมากขึ้นซึ่งเป็นกลไกหนึ่งของโรคกรดไหลย้อน และทำให้โรคกรดไหลย้อนมีอาการมากขึ้น ทางผู้วิจัยต้องการศึกษาประสิทธิภาพของการแนะนำการรับประทานอาหารคาร์โบไฮเดรตชนิดย่อยง่ายในผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน วิธีการดำเนินการวิจัย: ผู้ป่วยที่มีอาการจำเพาะต่อโรคกรดไหลย้อนอันได้แก่แสบร้อนหน้าอกหรือเรอเปรี้ยวที่มีความรุนแรงและความถี่ของตัวโรคผ่านการตอบแบบสอบถาม Reflux Disease Questionnaire (RDQ) มีคะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 3 หลังจากที่หยุดยาลดกรดชนิด Proton pump inhibitor เป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ร่วมกับรับประทานอาหารคาร์โบไฮเดรตย่อยยากมากกกว่า 7หน่วยต่อสัปดาห์จะได้รับการแบ่งกลุ่มแบบสุ่มเป็น 2กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มการแนะนำและช่วยปรับการบริโภคคาร์โบไฮเดรตชนิดย่อยง่ายตามแต่ละบุคคล(Structural Individual Low FODMAP Dietary Advice (SILFD+)) และ กลุ่มได้รับการแนะนำอาหารแบบดั้งเดิม Usual dietary advice (Usual advice) โดยจะคัดผู้ป่วยผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวนร่วมออก ทั้งสองกลุ่มจะได้รับคำแนะนำตามมาตรฐานได้แก่ ลดน้ำหนักกรณีที่มีน้ำหนักเกิน หลีกเลี่ยงกับรับประทานอาหารมื้อดึก หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่กระตุ้นให้เกิดอาการ งดสูบบุหรี่ และนอนยกศีรษะสูงกรณีที่มีอาการช่วงเวลากลางคืน สำหรับในกลุ่ม SILFD+ จะได้รับคำแนะนำเพิ่มเติม ได้แก่ 1) ตรวจสอบรายการอาหารในช่วง 1สัปดาห์ก่อนเข้าร่วมการศึกษา 2) ตรวจสอบว่ามีรายการใดบ้างที่เป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดย่อยยาก 3) แนะนำให้เปลี่ยนรายการคาร์โบไฮเดรตชนิดย่อยยากให้เป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดย่อยง่าย จากนั้นติดตามการรักษาที่ 4สัปดาห์ เพื่อเปรียบเทียบทั้งสองกลุ่มโดยประเมินจาก ผู้ป่วยที่ตอบสนองต่อการรักษา (โดยกำหนดนิยามคือ มีความรุนแรงและความถี่ของตัวโรคผ่านการตอบแบบสอบถาม Reflux Disease Questionnaire (RDQ) มีคะแนนน้อยกว่า 3) คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยผ่านแบบสอบถาม Gastrointestinal Quality of Life Index (GIQLI) และพารามิเตอร์จากการวัดความเป็นกรดและความต่างศักย์ที่หลอดอาหารส่วนปลายในช่วง 2ชั่วโมงหลังรับประทานอาหารเที่ยง ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 55ราย (ค่ามัธยฐานอายุ 52 (37-61) ปี เป็นผู้หญิง 41 ราย) เป็นกลุ่ม SILFD+ 29 ราย และกลุ่ม Usual advice 26 ราย ทั้งสองกลุ่มมีพื้นฐานความรุนแรงและความถี่ของโรคกรดไหลย้อน ปริมาณหน่วยคาร์โบไฮเดรตย่อยยากเท่ากัน หลังครบ 4สัปดาห์ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมีอัตราส่วนของผู้ป่วยที่ตอบสนองต่อการรักษาของทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(27.6% vs. 19.2%, p=0.47) แต่เฉพาะกลุ่มที่ได้รับคำแนะนำแบบ SILFD+ เท่านั้นที่มีอาการของโรคกรดไหลย้อนที่ลดลงหลังสิ้นสุดการรักษา 4สัปดาห์เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนเข้ารับการศึกษา เมื่อประเมินจาก RDQ score (จาก 18.0 เป็น 13.0, p=0.01) จำนวนคาร์โบไฮเดรตชนิดย่อยยากต่อสัปดาห์ (FODMAP items per week) ในกลุ่ม SILFD+ มีจำนวนน้อยกว่ากลุ่ม Usual advice อย่างมีนัยสำคัญ (14 vs. 24 หน่วยต่อสัปดาห์, p
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Previous studies showed that high FODMAP meals induced a higher frequency of transient lower esophageal sphincter relaxation and reflux symptoms in patients with overlapping IBS and GERD. We aim to evaluate low FODMAP dietary advice efficacy for GERD patients. Methods: Patients with typical reflux symptoms, who had baseline Reflux Disease Questionnaire (RDQ) score >3 after 2-week run-in without acid suppressants and had >7 FODMAP items intake per week, were randomized to SILFD plus usual advice (SILFD+) vs. usual advice alone (UA). Patients with overlapping IBS, as per Rome IV criteria, were excluded. SILFD+ included 1) identifying high-FODMAP items from the 7-day diary, 2) replacing high-FODMAP items with low-FODMAP ones by choosing from the provided menu. UA included weight reduction for obese patients, avoiding late meals, avoidance of trigger foods, refraining from smoking, and elevating the head of the bed for nighttime GERD symptoms. Responders were defined as those with an RDQ score ≤3 at week 4. Gastrointestinal Quality of Life Index (GIQLI) and 2-H postprandial pH-impedance study after lunch, along with hydrogen and methane breath tests after self-prepared breakfast and lunch, were also compared between 2 groups. Results: 55 patients were enrolled [52 (37-61) years; 41 females] 29 SILFD+ and 26 UA. Baseline RDQ score, and number of FODMAP items/week were similar between groups. There was no difference in response rates at the 4th week between the SILFD+ group and the UA group (27.6% vs. 19.2%, p=0.47). However, RDQ scores decreased significantly over time in the SILFD+ group only (from 18.0 to 13.0, p=0.01). After 4 weeks, SILFD+ group showed significantly lower number of FODMAP item intake (14 vs. 24 items/week, p0.05). Conclusion: SILFD+ significantly reduced FODMAP items intake. In GERD patients with frequent postprandial reflux, SILFD was associated with a significantly lower postprandial reflux frequency. These findings highlight the potential benefits of incorporating low FODMAP dietary advice in the management of GERD.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ศรีธัญรัตน์, กานต์เดชพงศ์, "การศึกษาวิจัยแบบสุ่มเปรียบเทียบ ผลของการแนะนำและช่วยปรับการบริโภคคาร์โบไฮเดรตชนิดย่อยง่ายตามแต่ละบุคคล กับ คำแนะนำอาหารแบบดั้งเดิม ในผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน" (2023). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 11847.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/11847