Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Association between low-density lipoprotein cholesterol and number of stenotic coronary arteries in patients with ST-segment elevation myocardial infarction
Year (A.D.)
2023
Document Type
Thesis
First Advisor
ศิริพร อธิสกุล
Faculty/College
Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)
Department (if any)
Department of Medicine (ภาควิชาอายุรศาสตร์ (คณะแพทยศาสตร์))
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
อายุรศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2023.604
Abstract
บทนำ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายฉับพลันชนิดเอสทียก เป็นภาวะหัวใจขาดเลือดที่รุนแรง โดยมีอัตราการเสียชีวิตสูง ปัจจุบันมีข้อมูลที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างระดับไขมันเลว (แอลดีแอลคอเรสเตอรอล) กับการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยระดับไขมันเลว (แอลดีแอลคอเรสเตอรอล) ที่สูง จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจมากขึ้น ในอดีตยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับระดับระดับไขมันเลว (แอลดีแอลคอเรสเตอรอล) กับจำนวนหลอดเลือดหัวใจตีบ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของระดับระดับไขมันเลว (แอลดีแอลคอเรสเตอรอล) กับจำนวนการเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบในผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายฉับพลันชนิดเอสทียก และเพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบหลายเส้น วิธีวิจัย ทำการศึกษาแบบทบทวนย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยในของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยเก็บข้อมูลผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายฉับพลันชนิดเอสทียก ที่ได้รับการสวนหัวใจ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2560 ถึง 31 ธันวาคม 2565 วิเคราะห์ระดับไขมันเลว (แอลดีแอลคอเรสเตอรอล) และจำนวนหลอดเลือดหัวใจตีบ ในผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายฉับพลันชนิดเอสทียก เพื่อหาความสัมพันธ์ของระดับไขมันเลว (แอลดีแอลคอเรสเตอรอล) กับจำนวนการเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบในผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายฉับพลันชนิดเอสทียก และหาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบหลายเส้น ผลการวิจัย ผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายฉับพลันชนิดเอสทียกที่ได้รับการสวนหัวใจ จำนวน 927 คน มีอายุ 22 ถึง 100 ปี (อายุเฉลี่ย 58 ปี) เป็นเพศชาย 715 คน (77.1%) และเพศหญิง 212 คน (22.9%) จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนหลอดเลือดหัวใจตีบ และระดับไขมันเลว (แอลดีแอลคอเรสเตอรอล) พบว่าผู้ป่วยที่มีเส้นเลือดหัวใจตีบ 1 เส้น ตีบ 2 เส้น และตีบ 3 เส้น มีค่าไขมันเลว (แอลดีแอลคอเรสเตอรอล) เฉลี่ย 129, 136 และ 126 mg/dL ตามลำดับ ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.23) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับจำนวนหลอดเลือดหัวใจตีบหลายเส้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ โรคความดันโลหิต ระดับน้ำตาลสะสมมากกว่าเท่ากับ 7% และระดับไขมันเลว (แอลดีแอลคอเรสเตอรอล) มากกว่าเท่ากับ 190 mg/dL (p = 0.008, 0.016, 0.013, 0.017 ตามลำดับ) สรุป จากการศึกษาพบว่าระดับไขมันเลว (แอลดีแอลคอเรสเตอรอล) ไม่มีความสัมพันธ์กับจำนวนหลอดเลือดหัวใจตีบในผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายฉับพลันชนิดเอสทียก แต่พบว่าอายุ โรคความดันโลหิตสูง ระดับน้ำตาลสะสมมากกว่าเท่ากับ 7% และระดับไขมันเลว (แอลดีแอลคอเรสเตอรอล) มากกว่าเท่ากับ 190 mg/dL มีความสัมพันธ์กับหลอดเลือดหัวใจตีบหลายเส้นอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้น การควบคุมระดับน้ำตาลและไขมัน อาจทำให้มีโอกาสมีจำนวนหลอดเลือดตีบที่น้อยกว่า
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Introduction: ST-segment elevation myocardial infarction (STEMI) is a severe form of heart attack associated with a high mortality rate. Current data suggests a correlation between low-density lipoprotein cholesterol (LDL-c) levels and coronary artery disease. Elevated LDL-C levels are associated with an increased risk of coronary artery disease. However, there is limited research on the relationship between LDL-C levels and the number of stenotic coronary arteries. Objectives: To investigate the association between LDL-C levels and the number of stenotic coronary arteries in patients with STEMI and identify factors influencing multivessel coronary artery disease. Method: A retrospective study was conducted using medical records of STEMI patients from King Chulalongkorn Memorial Hospital from January 1, 2017, to December 31, 2022. LDL-c levels and the number of stenotic coronary arteries were analyzed to determine the relationship between LDL-c levels and the occurrence of multivessel coronary artery disease. Result: Among 927 STEMI patients between 22 and 100 years old (Median age of 58 years), 715 were males (77.1%), and 212 were females (22.9%). The analysis revealed no statistically significant difference in the mean LDL-c levels among patients with single-vessel disease, double-vessel disease, and triple-vessel disease (129, 136, and 126 mg/dL, respectively; p = 0.23). Factors significantly associated with multivessel coronary artery disease included age, hypertension, HbA1C >= 7% and LDL-c levels > 190 mg/dL (p = 0.008, 0.016, 0.013, 0.017, respectively). Conclusion: The study found no significant association between LDL-C levels and the number of stenotic coronary arteries in STEMI patients. However, age, hypertension, HbA1C >= 7% and LDL-c levels >= 190 mg/dL were identified as significant factors associated with multivessel coronary artery disease. Therefore, controlling blood sugar and lipid levels may reduce the likelihood of having multiple stenotic coronary arteries.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
หัตถกิจพาณิชกุล, สาโรจน์, "การศึกษาความสัมพันธ์ของระดับไขมันเลว (แอลดีแอลคอเรสเตอรอล) กับจำนวนหลอดเลือดหัวใจตีบในผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายฉับพลันชนิดเอสทียก" (2023). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 11837.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/11837