Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Risk factor of composite left atrial appendage occluder related adverse outcome in atrial fibrillation patients. a retrospective study in KCMH from 2012-2023

Year (A.D.)

2023

Document Type

Thesis

First Advisor

วรวุฒิ รุ่งประดับวงศ์

Faculty/College

Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)

Department (if any)

Department of Medicine (ภาควิชาอายุรศาสตร์ (คณะแพทยศาสตร์))

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

อายุรศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.2023.619

Abstract

ความสำคัญและที่มา : ในปัจจุบันการใส่อุปกรณ์ปิดรยางค์หัวใจห้องบนซ้ายนั้นได้รับการยอมรับถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยในผู้ป่วยหัวใจห้องบนเต้นระริก อย่างไรก็ตามแม้ว่าผู้ป่วยจะใส่อุปกรณ์ปิดรยางค์หัวใจห้องบนซ้ายแล้วก็ยังเกิดอุบัติการณ์การเกิดลิ่มเลือดได้ตามที่ต่างๆ มีการพยายามศึกษาหาความเสี่ยงต่างๆที่อาจส่งผลทำให้เกิดอุบัติการณ์การเกิดลิ่มเลือดในผู้ป่วยที่ได้ใส่อุปกรณ์ปิดรยางค์หัวใจห้องบนซ้าย ซึ่งปัจจัยที่เคยได้ถูกศึกษาและพิสูจน์ว่าส่งผลในแง่ส่งเสริมให้เกิดลิ่มเลือดมากขึ้นได้แก่ การรั่วไหลของอุปกรณ์หลังการปิดรยางค์หัวใจห้องบนซ้าย, การเกิดลิ่มเลือดบริเวณอุปกรณ์ปิดรยางค์หัวใจห้องบนซ้าย และ การเกิดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการทำหัตถการปิดรยางค์หัวใจห้องบนซ้าย ซึ่งในงานวิจัยฉบับนี้ จะรวมเอาปัจจัยทั้งสามปัจจัยข้างต้นเป็นปัจจัยด้านอุปกรณ์ที่ส่งเสริมการเกิดลิ่มเลือด วัตถุประสงค์ : การศึกษานี้จัดทำขึ้นเพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านอุปกรณ์ที่ส่งเสริมการเกิดลิ่มเลือดและอุบัติการณ์การเกิดลิ่มเลือดในผู้ป่วยที่ได้ใส่อุปกรณ์ปิดรยางค์หัวใจห้องบนซ้าย และเพื่อศึกษาหาปัจจัยเสี่ยงของปัจจัยด้านอุปกรณ์ที่ส่งเสริมการเกิดลิ่มเลือด ระเบียบวิธีวิจัย : การศึกษาชิ้นนี้ได้รวบรวมข้อมูลย้อนหลังของผู้ป่วยที่ได้รับการใส่อุปกรณ์ปิดรยางค์หัวใจห้องบนซ้ายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 ถึง พ.ศ. 2566 โดยรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยก่อนทำหัตถการ ข้อมูลขณะทำหัตถการ การประเมินผู้ป่วยหลังจากใส่อุปกรณ์ การตรวจติดตามและประเมินอุบัติการณ์การเกิดลิ่มเลือด จากนั้นจึงได้นำวิธีการทางสถิติเพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างการรั่วไหลของอุปกรณ์หลังการปิดรยางค์หัวใจห้องบนซ้าย การเกิดลิ่มเลือดบริเวณอุปกรณ์ปิดรยางค์หัวใจห้องบนซ้าย การเกิดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการทำหัตถการปิดรยางค์หัวใจห้องบนซ้าย ปัจจัยด้านอุปกรณ์ที่ส่งเสริมการเกิดลิ่มเลือด และอุบัติการณ์การเกิดลิ่มเลือดหลังใส่อุปกรณ์ รวมถึงประเมินความเสี่ยงของปัจจัยด้านอุปกรณ์ที่ส่งเสริมการเกิดลิ่มเลือด ผลการศึกษา : การศึกษานี้ได้รวบรวมข้อมูลผู้ป่วยทั้งสิ้น 90 ราย โดนอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 74 ปี (พิสัย 54-93 ปี) ค่าเฉลี่ยของคะแนน CHA2DS2-VASc อยู่ที่ 5 คะแนน และ HAS-BLED อยู่ที่ 3 คะแนน มีผู้ป่วยทั้งสิ้น 20 รายที่เกิดอุบัติการณ์การเกิดลิ่มเลือดหลังใส่อุปกรณ์ คิดเป็นอุบัติการณ์ 0.04 รายต่อปี อุบัติการณ์การเกิดการรั่วไหลของอุปกรณ์หลังการปิดรยางค์หัวใจห้องบนซ้าย การเกิดลิ่มเลือดบริเวณอุปกรณ์ปิดรยางค์หัวใจห้องบนซ้าย การเกิดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการทำหัตถการปิดรยางค์หัวใจห้องบนซ้าย ปัจจัยด้านอุปกรณ์ที่ส่งเสริมการเกิดลิ่มเลือด อยู่ที่ 11%, 14%, 25%, และ 42% ตามลำดับ และพบว่าปัจจัยสามปัจจัย (การเกิดลิ่มเลือดบริเวณอุปกรณ์ปิดรยางค์หัวใจห้องบนซ้าย, การเกิดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการทำหัตถการปิดรยางค์หัวใจห้องบนซ้าย, ปัจจัยด้านอุปกรณ์ที่ส่งเสริมการเกิดลิ่มเลือด) มีความสัมพันธ์กับอุบัติการณ์การเกิดลิ่มเลือดภายหลังจากใส่อุปกรณ์อย่างมีความสำคัญทางนัยสถิติ (ค่า p

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Background: The LAA occlusion device is recognized for its safety and efficacy in preventing thromboembolic events in patients with atrial fibrillation (AF). However, several events occurring after device placement, such as device-related thrombosis, peri-device leakage, and peri-procedural complications, pose an increased risk of thromboembolic events during the post-device placement period. We consolidated the contributing risks of post-device placement thromboembolic events into the term "Composite left atrial appendage occluder-related adverse outcomes" (CLAAAO). Objectives: The study aimed to explore the association between composite left atrial appendage occluder-related adverse outcomes and thromboembolic events after device placement, as well as to assess the risk factors for composite left atrial appendage occluder-related adverse outcomes. Methods: Data were retrospectively collected from patients in whom the LAA occluder device was implanted at King Chulalongkorn Memorial Hospital in Bangkok, Thailand, from 2012 to 2023. Patient profiles, procedural details, post-device-placement evaluations, and thromboembolic events during follow-up were documented. Associations were tested between peri-device leakage, peri-procedural complications, device-related thrombosis, and composite left atrial appendage occluder-related adverse outcomes (CLAAAO), and thromboembolic events post-LAA occluder placement. The research also evaluated the risk factors for composite left atrial appendage occluder-related adverse outcomes (CLAAAO) through multivariate analysis. Results: The retrospective study included a total of 90 patients with a mean age of 74 years. The median CHA2DS2-VASc score, and HAS-BLED score were 5 and 3, respectively. A total of 20 thromboembolic events (23%) were recorded which calculated into incidence rate was 0.04 patients/year. The prevalence of peri-device leakage, device-related thrombosis, peri-procedural complications, and CLAAAO were 11%, 14%, 25%, and 42%, respectively. The associations of device-related thrombosis, peri-procedural complications, CLAAAO, and the incidence of thromboembolic events were statistically significant (p-value

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.