Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Left ventricular global longitudinal strain as a predictor of ventricular arrhythmia and related therapies in ICD patients
Year (A.D.)
2023
Document Type
Thesis
First Advisor
สุดารัตน์ สถิตธรรมนิตย์
Second Advisor
รณพิชัย โชคสุวัฒนสกุล
Faculty/College
Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)
Department (if any)
Department of Medicine (ภาควิชาอายุรศาสตร์ (คณะแพทยศาสตร์))
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
อายุรศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2023.624
Abstract
ความสำคัญและวัตถุประสงค์ของการวิจัย: เครื่องกระตุกสัญญาณไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติมีข้อบ่งชี้ในการรักษาภาวะหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะและป้องกันการเสียชีวิตฉับพลัน โดยข้อบ่งชี้ของการฝังเครื่องกระตุกสัญญาณไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติเพื่อป้องการการเสียชีวิตฉับพลันแบบปฐมภูมิในปัจจุบันอาศัยพียงค่า Left ventricular ejection fraction (LVEF) ที่น้อยกว่า 35% ทั้งในคนไข้โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Ischemic cardiomyopathy) และกล้ามเนื้อหัวใจขยายตัวผิดปกติ (Dilated cardiomyopathy) แต่เนื่องจากการวัดค่า LVEF มีข้อจำกัดมากมาย ได้แก่ ความแปรปรวนระหว่างวิธีตรวจ ความแปรปรวนระหว่างผู้ตรวจ ความสามารถในการทำซ้ำ และยังขาดความไวในการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของระยะบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้าย (Left ventricular systolic dysfunction) เปรียบเทียบกับการตรวจเสตรนของกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายที่เหนือกว่า จึงเป็นที่มาของการศึกษาเสตรนของกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายเพื่อทำนายการเกิดภาวะหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะในผู้ที่ฝังเครื่องกระตุกสัญญาณไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ วิธีการดำเนินวิจัย: การศึกษานี้ได้รวบรวมข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2558 ถึง 31 สิงหาคม 2566 ของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Ischemic cardiomyopathy) และกล้ามเนื้อหัวใจขยายตัวผิดปกติ (Dilated cardiomyopathy) ทุกคนที่เข้ารับการฝังเครื่องกระตุกสัญญาณไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์โดยรวบรวมทั้งข้อบ่งชี้ปฐมภูมิและทุติยภูมิ โดยรวบรวมผู้ที่มีภาพจากการตรวจหัวใจด้วยเครื่องสะท้อนเสียงความถี่สูงที่เหมาะสมสำหรับการนำมาวิเคราะห์เสตรนของกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้าย และต้องมีคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะตรวจดังกล่าวเป็นจังหวะไซนัส ผู้ที่ได้รับการตรวจหัวใจด้วยเครื่องสะท้อนเสียงความถี่สูงนานกว่า 6 เดือนนับจากวันที่ได้รับการฝังเครื่องกระตุกสัญญาณไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ และ มีข้อมูลการติดตามหลังฝังเครื่องกระตุกสัญญาณไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติน้อยกว่า 3 เดือนจะถูกคัดออกจากการศึกษา โดยอาศัยข้อมูลพื้นฐานจากเวชระเบียน และวิเคราะห์เสตรนของกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายโดยซอฟต์แวร์ TOMTEC ผลการศึกษาหลักได้แก่อัตราเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะโดยอาศัยเสตรนของกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้าย และ ผลการศึกษารองได้แก่อุบัติการณ์และลักษณะทางคลินิกของคนไข้ที่เกิดภาวะหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะ ผลการศึกษา: ผู้ฝังเครื่องกระตุกสัญญาณไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติในทั้งหมด 170 คน โดยได้รับการวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Ischemic cardiomyopathy) 130 คน และ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขยายตัวผิดปกติ (Dilated cardiomyopathy) 26 คน โดยถูกคัดออกทั้งสิ้น 95 คน (ไม่มีผลตรวจหัวใจด้วยเครื่องสะท้อนเสียงความถี่สูงภายใน 6 เดือนก่อนฝังเครื่องกระตุกสัญญาณไฟฟ้าหัวใจ 53 คน, คลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะตรวจหัวใจด้วยเครื่องสะท้อนเสียงความถี่สูงเป็น Atrial fibrillation 10 คน, ภาพการตรวจหัวใจด้วยเครื่องสะท้อนเสียงความถี่สูงไม่เหมาะสมสำหรับการวิเคราะห์เสตรนของกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้าย 26 คน, และมีข้อมูลการติดตามหลังฝังเครื่องกระตุกสัญญาณไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติน้อยกว่า 3 เดือน 6 คน) คงเหลือทั้งสิ้น 61 ราย โดยมีอายุเฉลี่ย 67 ปี (พิสัยควอไทล์ 58-74 ปี) เป็นเพศชาย 49 (80%) คนจาก 61 คน เป็นผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด 53 (87%) คน และกล้ามเนื้อหัวใจขยายตัวผิดปกติ 8 (13%) คน โดยมีข้อบ่งชี้สำหรับการฝังเครื่องกระตุกสัญญาณไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติแบบปฐมภูมิ 46 คนจาก 61 คน (75%) พบว่ามีค่ามัธยฐานของ Left ventricular ejection fraction 29.2% (พิสัยควอไทล์ 25.3%-31.5%) และค่ามัธยฐานเสตรนของกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่าง 8.2% (พิสัยควอไทล์ 5.3%-10.6%) พบว่าหลังการติดตามระยะเวลา (Median follow-up time) 17.8 เดือน เกิดภาวะหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะ 9 คนจาก 61 คน คิดเป็นอุบัติการณ์ 22.4% โดยเกิดหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะในผู้ที่ใส่เครื่องกระตุกสัญญาณไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติด้วยข้อบ่งชี้การป้องกันแบบปฐมภูมิ 6 คนจาก 46 คน (13%) และการป้องกันแบบทุติยภูมิ 3 คนจาก 15 คน (20%) เมื่อทำการวิเคราะห์การเกิดภาวะหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะในผู้ป่วยที่ใส่เครื่องกระตุกสัญญาณไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติโดยคำนึงถึงอิทธิพลจากปัจจัยตัวแปรกวนทั้ง 6 ประการ (1. New York Heart Association Classification (NYHA) functional class III, 2. ขนาดหัวใจห้องล่างซ้ายขณะคลายตัวสุดมากกว่าเท่ากับ 68.5 มิลลิเมตร, 3. ขนาดหัวใจห้องล่างซ้ายขณะบีบตัวสุดมากกว่าเท่ากับ 53.5 มิลลิเมตร, ขนาดหัวใจห้องล่างซ้ายขณะคลายตัวสุดมากกว่าเท่ากับ 68.5 มิลลิเมตร, 4. ผู้ป่วยที่มีค่าเสตรนของกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายน้อยกว่าเกณฑ์อย่างน้อย 2 จาก 3, 5. การใส่ใส่เครื่องกระตุกสัญญาณไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติด้วยข้อบ่งชี้การป้องกันแบบทุติยภูมิ, และ 6. การใช้ยา Amiodarone) พบว่าผู้ป่วยที่ใส่เครื่องกระตุกสัญญาณไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติด้วยข้อบ่งชี้การป้องกันแบบทุติยภูมิ มีอัตราส่วนการเกิดอันตรายคิดเป็น 9.41 เท่า โดยมีค่าความเชื่อมั่น 95% อยู่ระหว่าง 1.20-73.79 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.033) ในผู้ป่วยที่มีขนาดหัวใจห้องล่างซ้ายขณะบีบตัวสุดมากกว่าเท่ากับ 53.5 มิลลิเมตร คิดเป็นอัตราส่วนการเกิดอันตราย 8.65 เท่า โดยมีค่าความเชื่อมั่น 95% อยู่ระหว่าง 1.23-57.93 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.026) และในผู้ป่วยที่มีค่าเสตรนของกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายน้อยกว่าเกณฑ์¶อย่างน้อย 2 จาก 3 (1. ค่าเสตรนจาก Apical 4 chamber view น้อยกว่า 6.15, 2. ค่าเสตรนจาก Apical 2 chamber view น้อยกว่า 8.15, 3. ค่าเสตรนจาก Apical 3 chamber view น้อยกว่า 10) คิดเป็นอัตราส่วนการเกิดอันตราย 6.64 เท่า โดยมีค่าความเชื่อมั่น 95% อยู่ระหว่าง 1.30-33.81 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.023) สรุป: เกือบหนึ่งในสี่ของผู้ป่วยที่เข้ารับการใส่เครื่องกระตุกสัญญาณไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติเกิดภาวะหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะและได้รับการรักษาจากเครื่องกระตุกสัญญาณไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ และพบว่าค่าเสตรนของกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายที่น้อยกว่าเกณฑ์สามารถทำนายการเกิดหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะ
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Background and aims: The automated implantable cardioverter defibrillator (AICD) plays a crucial role in treating ventricular arrhythmia (VA) and preventing sudden cardiac death (SCD). Currently, AICD implantation is indicated for individuals based on a left ventricular ejection fraction (LVEF) of less than 35%, applicable to both ischemic cardiomyopathy and dilated cardiomyopathy patients. However, limitations associated with LVEF, such as intermodality variation, interpersonal variation, reproducibility, and the lack of sensitivity to detect subclinical left ventricular dysfunction, have been recognized. In contrast, a recently emerged parameter, Left Ventricular Global Longitudinal Strain (LV-GLS), may address these limitations. This research aims to investigate the predictive value of LV-GLS as a marker for VA in individuals undergoing AICD implantation. Methods: We retrospectively collected data from December 2015 to August 2023, including all of the patients with ischemic cardiomyopathy and dilated cardiomyopathy who underwent AICD implantation at King Chulalongkorn Memorial Hospital, including both primary and secondary prevention indications for AICD implantation. The study included individuals who had available echocardiograms which were suitable for assessing LV-GLS, and sinus rhythm. Those individuals with follow-up clinical data available less than 3 months or echocardiogram longer than 6 months before AICD implantation were excluded. Baseline information was obtained from medical records, and the analysis of LV-GLS was conducted using TOMTEC software. The primary outcome was the assessment of the predictive benefit of LV-GLS on VAs. The secondary outcome was the incidence and patient characteristics of those who developed VA Results: A total of 170 individuals underwent automatic implantable cardioverter-defibrillator (AICD) implantation. They were diagnosed with ischemic cardiomyopathy in 130 cases and dilated cardiomyopathy in 26 cases. After 95 were excluded (53 with unavailable pre-implantation echocardiogram within 6 months, 10 with atrial fibrillation detected during echocardiograms, 26 with inadequate echocardiogram images for analyzing LV-GLS, and 6 with follow-up data less than 3 months after AICD implantation, remaining total of 61 individuals for analysis with a median age of 67 years, male (80%), ischemic cardiomyopathy (87%). 46 of 61 (75%) were indicated for primary prevention. With a median left ventricular ejection fraction (LVEF) of 29.2% and a median LV-GLS of 8.2%. During a median follow-up of 17.8 months, the incidence of VA was 22.4%. There was a non-significant difference in VA among primary prevention indication and secondary prevention indication [6 of 46 (13%) vs 3 of 15 (20%); P=0.676]. Multivariate analysis shows an increased risk of VA among secondary prevention indication [HR 9.41,95% CI 1.29-73.79; P=0.033], those with left ventricular internal diameter end-systole (LVIDs) ≥ 53.5 millimeters [HR 8.65,95% CI 1.23-57.93; P=0.026], and those who met at least 2 of 3 criteria (1) LV-GLS of Apical 4 chamber view < 6.15, 2) LV-GLS of Apical 2 chamber view < 8.15, and 3) LV-GLS of Apical 3 chamber view < 10) [HR 6.64,95% CI 1.30-33.81; P=0.023]. Conclusion: Nearly one-fourth of the patients who underwent AICD implantation experienced VA necessitating treatment from the AICD and abnormal LV-GLS according to the proposed criteria strongly predicts the occurrence of VA and shorten time to event after adjusting for secondary prevention indication and anti-arrhythmic usage.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
กวีวรญาณ, พีรพัฒน์, "การประเมินสเตรนของกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายในการทำนายการเกิดภาวะหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะและการได้รับการรักษาจากเครื่องกระตุกสัญญาณไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติในผู้ที่ฝังเครื่องกระตุกสัญญาณไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ" (2023). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 11794.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/11794