Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
A comparison of treatment effectiveness between cyclosporin and other chemotherapy in subcutaneous panniculitis-like T-Cell Lymphoma (SPTCL)
Year (A.D.)
2023
Document Type
Thesis
First Advisor
จันทนา ผลประเสริฐ
Faculty/College
Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)
Department (if any)
Department of Medicine (ภาควิชาอายุรศาสตร์ (คณะแพทยศาสตร์))
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
อายุรศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2023.645
Abstract
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองผิวหนังชนิดทีเซลล์ซับคิวทาเนียสแพนนิคูไลติสไลค์ทีเซลล์ (SPTCL) เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดทีเซลล์ที่พบได้น้อย ผู้ป่วยมักมาด้วยอาการทางระบบผิวหนัง เช่น คลำก้อนได้ที่ผิวหนัง และพบว่ามีความสัมพันธ์กับภาวะฮีโมฟาโกไซติก ลิมโฟฮีสติโอไซโตซิส(hemophagocytic lymphohystiocytosis, HLH) การรักษามีทั้งการใช้เคมีบำบัด หรือยากดภูมิคุ้มกัน แต่ยังไม่คำแนะนำมาตรฐานในการรักษา และการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการรักษาทั้งสองแบบ จึงเป็นที่มาของงานวิจัยฉบับนี้ โดยวัตถุประสงค์ของงานวิจัย คือ การเปรียบผลการรักษาระหว่างยาไซโคลสปอรินกับเคมีบำบัดในการรักษาโรคให้เข้าสู่ภาวะสงบ และวัตถุประสงค์รอง ได้แก่ อัตราการรอดชีวิต และ อัตราระยะเวลาที่โรคสงบที่ 5 ปี ศึกษารวบรวมข้อมูลของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัย SPTCL ที่ลงทะเบียนในสมาคมต่อมน้ำเหลืองแห่งประเทศไทย และผู้ป่วยในรพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2550-2566 จากการรวบรวมผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 93 ราย แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับการรักษาโดยยาไซโคลสปอริน หรือไซโคลสปอรินร่วมกับยากลุ่มคอติโคเสตียรอยด์ 45 ราย และกลุ่มที่ได้รับการรักษาโดยยาเคมีบำบัด จำนวน 48 ราย พบว่มีผู้ป่วยที่มีอาการแสดงที่ผิวหนังอย่างเดียว ในกลุ่มยาไซโคลสปอรินมากกว่าในกลุ่มเคมีบำบัด (63.8% เทียบกับ 36.2%, p=0.003) ในขณะที่ผู้ป่วยที่มีตับและ/หรือม้ามโตพบได้บ่อยในกลุ่มเคมีบำบัด (56.2% เทียบกับ 24.5%; p =0.002) พบอุบัติการณ์การเกิดภาวะฮีโมฟาโกไซติกซินโดรมร้อยละ 25, ตรวจพบการกลายพันธุ์ของยีนเอชเอวีซีอาร์ทู( Germline HAVCR2) ทั้งสิ้น 26/33 (78.8%) อัตราการเข้าสู่ระยะสงบของโรคหลังจากการตอบสนองครั้งแรกในกลุ่มยาไซโคลสปอรินสูงกว่าในกลุ่มเคมีบำบัด (87% เทียบกับ 58.3%, p=0.002) ที่ระยะเวลาติดตามผู้ป่วยเฉลี่ยที่ 87.8เดือน (0-185) ระยะอัตราการรอดชีวิต 5 ปี (กลุ่มยาไซโคลสปอริน 98% และ กลุ่มเคมีบำบัด กลุ่มเคมีบำบัด 87%, p=0.19) และอัตราระยะเวาลาที่โรคสงบที่ 5 ปี (กลุ่มยาไซโคลสปอริน72.4% และกลุ่มเคมีบำบัด 69.2%, p=0.19) สูงกว่าในกลุ่มยาไซโคลสปอรินเมื่อเทียบกับกลุ่มเคมีบำบัดแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จากการศึกษานี้ยาไซโคลสปอรินมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคSPTCL เข้าสู่ระยะสงบมากกว่ากลุ่มเคมีบำบัด การใช้ ยาไซโคลสปอริน หรือไซโคลสปอรินร่วมกับยากลุ่มคอติโคเสตียรอยด์ เป็นวิธีการรักษาแรกเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยSPTCL โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอาการทางผิวหนังเพียงอย่างเดียว
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Subcutaneous panniculitis-like T-cell lymphoma (SPTCL) is a rare subtype of T-cell lymphomas, with a characteristic feature of subcutaneous nodules associated with hemophagocytic lymphohistiocytosis (HLH). Depending on physician’s preference, treatment options of SPTCL are mainly chemotherapy (CMT) or immunosuppressive agents. However, outcomes between the 2 treatment remedies have not been compared in detail. This study aims to compare complete remission (CR) rate between SPTCL patients receiving cyclosporin (CSA)-based regimen (CSA +/- steroid) and CMT. The 5-year overall survival (OS) and 5-year progression free survival (PFS) were also analyzed. Clinical data of patients with SPTCL based on the Thai Lymphoma Study Group registry who were newly diagnosed between 2007-2023 were collected. A total of 93 patients were recruited; 45 cases received CSA-based regimen and 48 cases received CMT. There were more patients with limited stage at skin in the CSA group (63.8% vs 36.2%, p=0.003), while patients with hepato- and/or splenomegaly were more frequent in the CMT group (56.2% vs 24.5%; p=0.002). HLH was present in 25% of cases. Germline HAVCR2 mutations were detected in 26/33 (78.8%) cases. The CR rate was significantly higher in patients treated with CSA (87% vs 58.3%; odds ratio, 6.5 [95%CI, 2.7-15.3]; p=0.002). At a median follow-up of 87.8 months (range 0-185), the 5-year OS (98% vs. 87%, p=0.19) and PFS (72.4% vs. 69.2%, p=0.19) favored patients treated with CSA, albeit not statistically significant. Based on our study, CSA-based regimens are the preferred first-line treatment remedy for newly diagnosed SPTCL, especially in patients with limited cutaneous involvement.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ถิระโชติกุล, ฐิติรัตน์, "การเปรียบเทียบผลการรักษาระหว่างยาไซโคลสปอรินกับเคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองผิวหนังชนิดทีเซลล์ ซับคิวทาเนียสแพนนิคูไลติสไลค์ทีเซลล์" (2023). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 11772.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/11772