Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Habitats and distribution model of forest skinks in genus sphenomorphus fitzinger,1843 in Doi Phu Kha national park, Nan province

Year (A.D.)

2024

Document Type

Thesis

First Advisor

ภาณุพงศ์ ธรรมโชติ จรูญโรจน์

Second Advisor

นพดล กิตนะ

Faculty/College

Faculty of Science (คณะวิทยาศาสตร์)

Department (if any)

Department of Biology (ภาควิชาชีววิทยา)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

สัตววิทยา

DOI

10.58837/CHULA.THE.2024.261

Abstract

จิ้งเหลนภูเขาในสกุล Sphenomorphus Fitzinger, 1829 เป็นจิ้งเหลนที่มีความหลากหลายทางชนิดและมีพฤติกรรมตามธรรมชาติที่มักหลบซ่อนตัว จึงทำให้จิ้งเหลนสกุลนี้หลายชนิดยังขาดข้อมูลแหล่งที่อยู่และข้อมูลทางภูมิศาสตร์ โดยเฉพาะชนิดที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภูเขาสูงในทางภาคเหนือ นอกจากในอุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน พบจิ้งเหลนภูเขา 3 ชนิด ได้แก่ จิ้งเหลนภูเขาเกล็ดเรียบ จิ้งเหลนภูเขาอินเดีย และจิ้งเหลนภูเขาแกรนดิสัน แต่อย่างไรก็ตามข้อมูลแหล่งที่อยู่และการศึกษาขอบเขตการกระจายของจิ้งเหลนเหล่านี้ยังไม่ชัดเจน ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแหล่งที่อยู่ของจิ้งเหลนภูเขาในอุทยานแห่งชาติดอยภูคาและประเมินภูมิศาสตร์การกระจายโดยใช้แบบจำลองการกระจายของชนิด (species distribution modeling; SDM) การสำรวจในภาคสนามใช้วิธีสำรวจแบบพบเห็นตัวร่วมกับการกำหนดเส้นสำรวจ ข้อมูลแหล่งที่อยู่และข้อมูลปัจจัยสภาพแวดล้อมนำมาวิเคราะห์ด้วยการทดสอบไคสแควร์และการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก จากนั้นนำข้อมูลพิกัด GPS จากการสำรวจภาคสนาม ข้อมูลตัวอย่างอ้างอิงในพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา ข้อมูลจาก GBIF และการลาดตระเวนเชิงคุณภาพ มาทำการวิเคราะห์ด้วยแบบจำลองการกระจายของชนิดร่วมกับปัจจัยสภาพอากาศจาก WorldClim ทั้ง 15 ปัจจัย และปัจจัยเชิงพื้นที่ 2 ปัจจัย ได้แก่ ความสูงจากระดับน้ำทะเล และ ความลาดชัน จาก OpenDataSoft ด้วยโปรแกรม MaxEnt ผลการศึกษาแหล่งที่อยู่พบว่า จิ้งเหลนภูเขาเกล็ดเรียบอาศัยอยู่ในป่าเบญจพรรณ จิ้งเหลนภูเขาอินเดียอาศัยอยู่ในป่าสนและป่าดิบเขา และ จิ้งเหลนภูเขาแกรนดิสันอาศัยอยู่ในป่าดิบเขาเท่านั้น ผลการศึกษาแหล่งที่อยู่ย่อยพบว่าก้อนหิน เป็นองค์ประกอบที่พบได้มากที่สุดในพื้นที่อาศัยของจิ้งเหลนภูเขาเกล็ดเรียบ และกองใบไม้เป็นองค์ประกอบที่พบได้มากที่สุดในพื้นที่อาศัยของจิ้งเหลนภูเขาอินเดียและจิ้งเหลนภูเขาแกรนดิสัน การวิเคราะห์องค์ประกอบหลักตัวแปรสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้แหล่งที่อยู่ย่อยของจิ้งเหลนภูเขาเกล็ดเรียบ จิ้งเหลนภูเขาอินเดีย และ จิ้งเหลนภูเขาแกรนดิสัน คือ อุณหภูมิอากาศ ระดับความสูงจากน้ำทะเลและความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ ตามลำดับ ผลการศึกษาแบบจำลองการกระจายของชนิด พบว่าปัจจัยสำคัญสำหรับการทำนายแหล่งที่อยู่ของจิ้งเหลนภูเขาเกล็ดเรียบและจิ้งเหลนภูเขาอินเดียคือ อุณหภูมิช่วงรายวันเฉลี่ย และ ปัจจัยสำคัญสำหรับการทำนายแหล่งที่อยู่ของจิ้งเหลนภูเขาแกรนดิสันคือปริมาณน้ำฝนตามฤดูกาล และยังพบว่าแนวโน้มการกระจายของจิ้งเหลนภูเขาเกล็ดเรียบอยู่บริเวณพื้นที่ราบเชิงเขา จิ้งเหลนภูเขาอินเดียอยู่บริเวณตามแนวเทือกเขาและ จิ้งเหลนภูเขาแกรนดิสันอยู่บริเวณยอดเขาสูงของอุทยานแห่งชาติดอยภูคาเท่านั้น ผลของการศึกษาที่ได้สามารถนำมาใช้ในการวางแผนการอนุรักษ์และยังแสดงให้เห็นถึงการประยุกต์ใช้แบบจำลองถิ่นอาศัยในการทำนายแผนที่การกระจายทางภูมิศาสตร์ของสัตว์เลื้อยคลาน

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Forest skinks in genus Sphenomorphus Fitzinger, 1829 are cryptic and secretive skinks. However, in several species, there is still lacking habitat and distributed information specially those living in montane areas. In addition, Doi Phu Kha National Park, Nan Province has observation records for the forest skinks including Sphenomorphus maculatus, Sphenomorphus indicus and Sphenomorphus grandisonae. However, the habitats and exactly range of the species are still unclear. Therefore, this study is subject to examine habitats and evaluate distribution rage of the species by performing species distribution modeling (SDM). Field surveys were conducted by visual encounter surveys and line transects. The environmental conditions were recorded to perform habitat analyses by using Chi-square test and PCA. GPS coordinators from field surveys, specimens in the Natural History Museum and selected data from GBIF were used for distribution modeling which were analyzed with 15 climatic variables from WorldClim and 2 geographic data Including elevation and slope from OpenDataSoft using MaxEnt. The results show that habitats of S. maculatus has been found only in mixed deciduous forest, S. indicus has been found in pine forests and mountain evergrenn forests and S grandisonae has been found only in mountain forests. The microhabitat indicated that rocks are the most dominant substrate in the habitats of S. maculatus, while leaf litter is dominant substrate in the habitats of S. indicus and S. grandisonae. The PCA identified air temperature as the most important environmental variable affecting the microhabitat selection of S. maculatus, elevation and relative humidity as the most important environmental variable affecting the microhabitat selection of S. indicus and S. grandisonae. species distribution modeling revealed that the most important variables of S. maculatus and S. indicus are mean diurnal range and most important variables of S. grandisonae is precipitation seasonality. The modeling also addresses that potential distribution of S. maculatus range through foothill plain, S. indicus range through montane areas and S. grandisonae range through mountain peak areas. This study provides species distribution map which could be used for forest management in Doi Phu Kha National Park and also used for its conservation.

Included in

Zoology Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.