Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
ธรณีวิทยาโครงสร้างและประวัติการเปลี่ยนลักษณะในพื้นที่แกลง จังหวัดระยอง
Year (A.D.)
2023
Document Type
Thesis
First Advisor
Pitsanupong Kanjanapayont
Faculty/College
Faculty of Science (คณะวิทยาศาสตร์)
Department (if any)
Department of Geology (ภาควิชาธรณีวิทยา)
Degree Name
Master of Science
Degree Level
Master's Degree
Degree Discipline
Geology
DOI
10.58837/CHULA.THE.2023.964
Abstract
The geology of the Klaeng fault zone comprises of Ordovician metagranite, middle-late Paleozoic clastic sedimentary rocks, Triassic quartz-rich granites (west), Mesozoic redbed sandstones, Eocene granite (east), and mylonitic and low-to-medium-grade metamorphic rocks. In this study, four deformation events (D1-D4) are identified based on our new field observation and structural analysis in macroscale, mesoscale, and microscale. D1 (Late Triassic) characterizes tight folds in response to Triassic E-W Indosinian compression. D2 (Mesozoic) features gentle dips and open folds in redbeds due to E-W compression from regional transpression deformation. D3 (middle Eocene) exhibits a sinistral ductile shear in Eocene granite, which is dominated by sinistral movement of the Klaeng fault zone. D4 (late Eocene) is involved with a low-angle normal fault as extensional ductile shearing deformation found in Ordovician granite and an exhumation of Khao Nong Yai and Khao Chamao granites associated with a brittle deformation overprinting earlier in structures. The observed structures in D3 and D4 likely reflect intra-continental strike-slip faulting linked to the early India-Eurasia collision. Hf isotopes suggest Ordovician-Triassic granites (εHf(T) -24.3 to -3.5) could be produced from an old enriched/crustal source (εHf(T) -24.3 to -3.5), in contrast to Eocene granite (εHf(T) -10.2 to +6.8) showing an obviously depleted/mantle component mixed source. Our new U-Pb geochronology of zircon ages give the constraints on Triassic granite emplacement in the Late Triassic of 218 ± 2.5 Ma (coeval with D1) and Eocene granite in the middle Eocene of 46.38 ± 0.85 Ma (associated with D3).
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
หินที่ปรากฏในบริเวณของส่วนต่อขยายทางตอนใต้ของกลุ่มรอยเลื่อนแกลง มีความสำคัญทางการศึกษาและการทำความเข้าใจในด้านธรณีวิทยาการแปรสัณสัณฐาน รวมถึงการเปลี่ยนลักษณะในพื้นที่ทางด้านตะวันออกของประเทศไทย ธรณีวิทยาของพื้นที่พบเป็นหินอัคนี หินตะกอน และหินแปร โดยพบเป็นหินควอตซ์ริชแกรนิตเขายายดาอายุออร์โดวิเชียน หินตะกอนอายุมหายุคพาลีโอโซอิกตอนกลางถึงตอนปลาย หินแกรนิตบ้านท่าจามอายุไทรแอสสิค หินทรายสีแดงอายุมหายุคมีโซโซอิก หินอีโอซีนแกรนิตทางตะวันออก และหินไมโลไนต์และแปรเกรดต่ำ-กลาง จากการสำรวจในภาคสนามและการวิเคราะห์ทางโครงสร้างระดับมหภาค มัฌิมภาค และจุลภาค พบว่าโครงสร้างในพื้นที่นี้ ได้รับการเปลี่ยนลักษณะทางโครงสร้างหลักประมาณ 4 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 พบในหินตะกอนอายุมหายุคพาลีโอโซอิกตอนกลางถึงตอนปลาย ที่แสดงทิศทางการวางตัวของแกนการคดโค้งแบบแคบและเอียงในแนวทิศเหนือตะวันตกเฉียงเหนือ-ใต้ตะวันออกเฉียงใต้ ถึงทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ อนุมานได้รับแรงการบีบอัดมาจากทิศทางตะวันออก-ตะวันตก ไปจนถึงแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ สัมพันธ์กับโครงสร้างอินโดไซเนียนช่วงไทรแอสสิกตอนปลายโดยการก่อบรรพตรังสรรค์อินโดไซเนียน การเปลี่ยนลักษณะครั้งที่ 2 พบในหินทรายสีแดงอายุมหายุคมีโซโซอิกตอนกลาง แสดงการคดโค้งและเอียงตัวในทิศเหนือตะวันตกเฉียงเหนือ-ใต้ตะวันออกเฉียงใต้ ถึงทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ ด้วยค่ามุมเอียงเทต่ำถึงเกือบราบ โดยการเปลี่ยนลักษณะนี้ เป็นผลมาจากการบีบอัดแบบเลื่อนผ่านของรอยเลื่อนแนวระดับในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้เกิดการบีบอัดในแนวตะวันออก-ตะวันตก ซึ่งเกิดในช่วงของยุคครีเทเชียสตอนกลางถึงพาลีโอจีนตอนต้น การเปลี่ยนลักษณะครั้งที่ 3 การเลื่อนในแนวระดับแบบซ้ายเข้าในหินแกรนิตอายุอีโอซีน ร่วมกับการบีบอัดเนื่องมาจากระบบกาดหดตัวจากการเลื่อนในแนวระดับ การเปลี่ยนลักษณะครั้งที่ 4 เกิดในหินแกรนิตอายุออร์โดวิเชียน โดยพบการเลื่อนแบบรอยเลื่อนปกติมุมต่ำร่วมการเปลี่ยนลักษณะแบบเปราะ ที่เกิดทับโครงสร้างเดิมก่อนหน้า โดยพบเป็นแนวรอยแตกที่เกิดในช่วงตอนปลายของการเปลี่ยนลักษณะครั้งที่ 3 หรือช่วงอายุอ่อนกว่านั้น ผลวิเคราะห์อายุการตกผลึกของแร่เซอร์คอนโดย LA-ICP-MS พบว่าหินแกรนิตนั้นตกผลึกในช่วงออร์โดวิเชียน และไทรแอสสิกตอนปลาย ซึ่งสัมพันธ์กับช่วงหลังการก่อบรรพตรังสรรค์อินโดไซเนียน ในช่วงเดียวกันกับการเปลี่ยนลักษณะครั้งที่ 1 และในหินแกรนิตทางตะวันออก พบว่าอยู่ในช่วงอายุปลายตอนต้นของอีโอซีน บ่งบอกว่าการตกผลึกนี้สัมพันธ์กับการเลื่อนตัวแบบซ้ายเข้าของกลุ่มรอยเลื่อนแกลง และทำให้เกิดโครงสร้างในการเปลี่ยนลักษณะครั้งที่ 3 ในส่วนของการเปลี่ยนลักษณะครั้งที่ 3 และ 4 นั้น เป็นผลจากการเลื่อนตัวของโครงสร้างรอยเลื่อนในแนวระดับ ที่พบทั่วทั้งพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากการชนกันของแผ่นทวีปอินเดียและยูเรเชีย
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
Chansom, Kittichai, "Structural geology and deformation history in klaeng area, Rayong province" (2023). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 11680.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/11680