Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

ความสามารถในการใช้ซ้ำของอัลคาโนลามีนในการจับ คาร์บอนไดออกไซด์ภายหลังปฏิกิริยาการทำให้เป็นแร่

Year (A.D.)

2023

Document Type

Thesis

First Advisor

Varong Pavarajarn

Faculty/College

Faculty of Engineering (คณะวิศวกรรมศาสตร์)

Department (if any)

Department of Chemical Engineering (ภาควิชาวิศวกรรมเคมี)

Degree Name

Master of Engineering

Degree Level

Master's Degree

Degree Discipline

Chemical Engineering

DOI

10.58837/CHULA.THE.2023.982

Abstract

The mineralization reaction between alkanolamines solution loaded with CO2 and calcium ions (Ca2+) produced calcium carbonate precipitate under an ambient condition, which reduced energy for thermal regeneration of alkanolamines solution. This work represented alkanolamines as monoethanolamine (MEA), diethanolamine (DEA), and triethanolamine (TEA). In addition, calcium chloride (CaCl2), calcium sulphate (CaSO4) and calcium hydroxide (Ca(OH)2) were used as calcium sources. Utilization of calcium hydroxide (Ca(OH)2) as a calcium source in the mineralization reaction resulted in the supernatant retaining its ability to capture carbon dioxide over 89%, which is similar to thermal regeneration. The mineral regeneration and the thermal regeneration can regenerate alkanolamines effectively. At high temperature, both type of regeneration occur simultaneously, and the thermal regeneration rate is slower than the mineral regeneration rate. In addition, sodium hydroxide (NaOH) can recover the carbon dioxide capture performance of the supernatant. Although different calcium sources provided the same calcium carbonate precipitate, it was different in morphology depending on the calcium source. Furthermore, in solution with a high pH, the amount of calcium carbonate is increases.

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

ปฏิกิริยาการทำให้เป็นแร่ระหว่างสารละลายอัลคาโนลามีนที่อิ่มตัวไปด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ และไอออนของแคลเซียม (Ca2+) ทำให้เกิดตะกอนของแคลเซียมคาร์บอเนตภายใต้สภาวะแวดล้อม ซึ่งสามารถลดปริมาณพลังงานที่ใช้สำหรับการฟื้นฟูด้วยความร้อนของอัลคาโนลามีนที่อิ่มตัวไปด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ ในงานวิจัยนี้ได้มีการใช้ อัลคาโนลามีนเป็น โมโนเอทาโนลามีน (MEA) ไดเอทาโนลามีน (DEA) และ ไตรเอทาโนลามีน (TEA) นอกจากนี้แคลเซียมคลอไรด์ (CaCl2) แคลเซียมซัลเฟต (CaSO4) และ แคลเซียมไฮดรอกไซด์ (Ca(OH)2) ยังถูกใช้เป็นแแหล่งแคลเซียม โดยการใช้แคลเซียมไฮดรอกไซด์ (Ca(OH)2) เป็นแหล่งแคลเซียมในปฏิกิริยาการทำให้เป็นแร่ ส่งผลให้ของส่วนของเหลวเหนือตะกอนยังคงความสามารถในการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าร้อยละ 89 ซึ่งใกล้เคียงกับการฟื้นฟูอัลคาโนลามีนด้วยความร้อน การฟื้นฟูด้วยปฏิกิริยาการทำให้เป็นแร่ และการฟื้นฟูด้วยความร้อน สามารถฟื้นฟูอัลคาโนลามีนที่อิ่มตัวไปด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่อุณหภูมิสูง การฟื้นฟูทั้งสองอย่างจะเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน โดยที่อัตราของการฟิ้นฟูด้วยความร้อนจะช้ากว่าอัตราของการฟิ้นฟูด้วยปฏิกิริยาการทำให้เป็นแร่ นอกจากนี้ โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) สามารถฟื้นฟูประสิทธิภาพในการจับคาร์บอนไดออกไซด์ของส่วนของเหลวเหนือตะกอน แม้ว่าแคลเซียมที่นำมาใช้จะแตกต่างกัน แต่ตะกอนที่เกิดขึ้นยังคงเป็นตะกอนของแคลเซียมคาร์บอนเนต ซึ่งมีลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของแคลเซียม นอกจากนี้ในสารละลายที่มีค่า pH สูงปริมาณตะกอนของแคลเซียมคาร์บอนเนตจะมากขึ้น

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.