Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
สามบทความเรื่องต้นทุนการค้าและการส่งออกของบริษัท
Year (A.D.)
2023
Document Type
Thesis
First Advisor
Panutat Satchachai
Second Advisor
Chayodom Sabhasri
Faculty/College
Faculty of Economics (คณะเศรษฐศาสตร์)
Degree Name
Doctor of Philosophy
Degree Level
Doctoral Degree
Degree Discipline
Economics
DOI
10.58837/CHULA.THE.2023.1231
Abstract
This thesis consists of three separate and self-contained individual studies on trade costs and firm exports. According to the new “new trade theory” where trading firms are heterogeneous, only a few firms can export, while others cannot. The main tenet of the new “new trade theory” is that differences in export participation among firms can be explained by a combination of (1) fixed (sunk) costs of exporting and (2) heterogeneity in the firm characteristics (in terms of size or costs). The goal of the study is to analyze the behavior of firms in international trade while putting “firm heterogeneity” - at the forefront. The first chapter evaluates how the “distance” and “time of travel” affect individual exports, especially if these effects differ across firm sizes and modes of transport. The empirical methodology follows a Bayesian sample-selection model and presents empirical evidence of distance and time of travel effects on individual export flows from 14 Latin American and the Caribbean (LAC) countries. These effects are estimated separately for different firm sizes and modes. The posterior mean estimates predict the effects of “distance” and “time of travel” on export to be negative; however, these effects are likely higher for small and medium firms than for large firms. Comparing these effects across modes suggests that exporting by maritime and land is likely to have higher effects than exporting by air. The second chapter is devoted to examining whether gains from economic integration agreements (EIAs) vary across firm sizes. EIAs reduce trade costs and how firms react to the falling trade costs is related to firm size. Costs of Rules of Origin (ROO) is one example where trade policy instruments like EIAs and firm size interact strongly because firms need to prove the ROO in getting the benefits of the EIAs. Larger, more efficient firms typically meet the ROO requirements and are treated preferentially, while less efficient, smaller firms are usually unable to prove the ROO and are excluded from preferential access. The empirical analysis makes use of a unique and unbalanced panel dataset with 1520 country pairs, firm sizes, and EIAs from 2007 to 2017. Firstly, it decomposes the aggregate export flows across firm sizes, i.e., micro, small, medium, and large. Secondly, it deconstructs the export margins across firm sizes. A structural gravity model is augmented with three-way (exporter-time, importer-time, and country-pair) fixed effects, and the effect of EIAs is estimated for different firm sizes by Average Treatment Effects (ATE). The results show that there are differences in the effects of EIAs on extensive and intensive margins, and the differences differ by firm size. On the one hand, large and medium firms gain from the EIAs primarily through the intensive margin. Small and micro firms, on the other hand, gain from the EIAs exclusively through the extensive margin. Margins of trade can be of three types, (1) country, (2) firm, (3) goods. Although firm-level export is a central issue in the new “new trade theory,” empirical studies on the impact of trade agreements on the number of exporting firms are scarce due to severe data constraints. Therefore, most existing literature focuses on the effect of EIAs on goods margins of trade. This chapter contributes to the literature by examining the effect of EIAs on export margins, i.e., both extensive (firms) and intensive margins (average exports per firm). It uses the same panel data used in the second chapter, employs gravity specifications with three-way fixed effects, and shows that EIAs primarily increase the average exports per firm but have a smaller impact on the number of exporting firms. It further examines whether different “types” of EIAs have different effects on these margins and uncovers that the higher the degrees of integration agreements, the stronger the impact on average exports per firm.
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ประกอบด้วยการศึกษาสามส่วนที่แยกออกจากกัน จากทฤษฏีการค้ายุคใหม่ (the new new trade theory) ที่ระบุว่าธุรกิจที่ทำการค้ามีความหลากหลายแตกต่างกันและมีธุรกิจบางกลุ่มเท่านั้นที่สามารถส่งออกได้ในขณะที่อีกกลุ่มนึงไม่สามารถทำได้ หลักสำคัญของ“ทฤษฏีการค้ายุคใหม่”คือความแตกต่างของการมีส่วนร่วมในการส่งออกระหว่างธุรกิจสามารถอธิบายด้วยการผสมกันระหว่างปัจจัยได้แก่(1)ต้นทุนคงที่ของการส่งออกและ(2)ความหลากหลายของคุณลักษณะของธุรกิจ(ทั้งในด้านขนาดบริษัทหรือต้นทุน) เป้าหมายสำคัญของการศึกษาเพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมของธุรกิจในด้านการค้าระหว่างประเทศ โดยให้ความสำคัญกับการที่“ธุรกิจมีความหลากหลาย(Firm heterogeneity)”นั่นคือมีความแตกต่างกันในเรื่องขนาด(หรือราคา)เป็นหลัก ในส่วนของบทที่หนึ่งจะประเมินผลกระทบต่อปัจจัยด้าน "ระยะทาง" และ "ระยะเวลา" ของการส่งออกแต่ละรายการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผลกระทบเหล่านี้แตกต่างกันตามขนาดของธุรกิจและรูปแบบของการขนส่ง โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงประจักษ์ด้วยแบบจำลองการเลือกตัวอย่างแบบเบย์ "Bayesian sample-selection" และนำเสนอหลักฐานเชิงประจักษ์ของปัจจัยด้านระยะทางและเวลาของการส่งออกแต่ละรายการจาก 14 ประเทศในแถบละตินอเมริกาและแคริบเบียน (LAC) ซึ่งผลกระทบต่าง ๆ จะถูกประมาณการแยกส่วนกันสำหรับความต่างของขนาดธุรกิจและรูปแบบของการขนส่ง โดยจากการประมาณการผลกระทบจากปัจจัยระยะทางและระยะเวลา พบว่ามีผลกระทบด้านลบต่อการส่งออก แต่อย่างไรก็ตามผลกระทบเหล่านี้จะส่งผลกับธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กมากกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ และเมื่อเปรียบเทียบผลกระทบของรูปแบบการขนส่งแสดงให้เห็นว่าการส่งออกทางทะเลและทางบกมีแนวโน้มว่าจะมีผลกระทบมากกว่าการส่งออกทางอากาศ ในบทที่สองจะพิจารณาว่าผลได้จากข้อตกลงการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ (EIAs) แตกต่างกันไปตามขนาดของธุรกิจหรือไม่ การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจช่วยลดต้นทุนการค้าและการตอบสนองต่อต้นทุนการค้าขึ้นอยู่กับขนาดของธุรกิจ กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า (ROO) เป็นตัวอย่างที่สำคัญที่ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องมือทางการการค้าเช่นข้อตกลงการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจและขนาดของธุรกิจ เนื่องจากธุรกิจจำเป็นต้องพิสูจน์ตามกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากข้อตกลงการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ ซึ่งธุรกิจขนาดใหญ่และมีประสิทธิภาพมากกว่ามักจะปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าและจะได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษ ในขณะที่ธุรกิจขนาดเล็กที่มีประสิทธิภาพน้อยกว่ามักจะไม่สามารถพิสูจน์ตามกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าได้ ทำให้ถูกแยกออกจากการเข้าถึงสิทธิพิเศษต่าง ๆ ในส่วนของการวิเคราะห์เชิงประจักษ์ใช้ข้อมูลภาคตัดขวาง (panel data) ประกอบด้วย ประเทศคู่ค้า 1,520 คู่ ขนาดธุรกิจ และข้อตกลงการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ (EIAs) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ถึง พ.ศ. 2560 โดยในประการแรก จะแบ่งการส่งออกรวมตามขนาดของธุรกิจ เช่น รายย่อย ขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ ประการที่สอง จะแยกองค์ประกอบของโครงสร้างส่วนต่างของการส่งออกตามขนาดของธุรกิจ ใช้แบบจำลองแรงโน้มถ่วงเชิงโครงสร้าง (structural gravity model) โดยเพิ่มผลกระทบคงที่สามทาง ได้แก่ เวลาผู้ส่งออก เวลาผู้นำเข้า และคู่ประเทศ และผลกระทบของข้อตกลงการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ (EIAs) ถูกประมาณสำหรับธุรกิจที่ขนาดแตกต่างกันด้วย average treatment effects ผลการวิจัยพบว่าผลกระทบของ EIAs ที่มีต่อการเพิ่มปริมาณส่งออกเดิมของผู้ส่งออก (intensive margin) และการตัดสินใจส่งออกของผู้ส่งออกรายใหม่ (extensive margin) นั้นแตกต่างกันและแตกต่างกันตามขนาดของธุรกิจ ในด้านหนึ่งบริษัทขนาดใหญ่และขนาดกลางได้รับประโยชน์จากข้อตกลงบูรณาการทางเศรษฐกิจจากขนาดการส่งออก (intensive margin) ในทางกลับกัน ธุรกิจรายย่อยและธุรกิจขนาดเล็กได้รับผลประโยชน์จากข้อตกลงการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจจากตัดสินใจส่งของผู้ส่งออกรายใหม่ (extensive margin) อัตรากำไรขั้นต้นของการค้าสามารถมีได้สามประเภท (1) ประเทศ (2) บริษัท (3) สินค้า แม้ว่าการส่งออกระดับบริษัทจะเป็นประเด็นสำคัญใน "ทฤษฎีการค้าใหม่" ใหม่ แต่การศึกษาเชิงประจักษ์เกี่ยวกับผลกระทบของข้อตกลงทางการค้าต่อจำนวนบริษัทส่งออกยังขาดแคลนเนื่องจากข้อจำกัดด้านข้อมูลที่รุนแรง วนต่างการค้าจากสินค้า ดังนั้น ในส่วนของบทที่สามจะช่วยเสริมวรรณกรรมโดยการพิจารณาผลกระทบของ EIAs ต่อส่วนต่างด้านการส่งออกทั้ง 2 ด้าน ได้แก่ การตัดสินใจเข้ามาส่งออกในตลาดของธุรกิจ และการเพิ่มปริมาณการส่งออกเดิม (ค่าเฉลี่ยการส่งออกต่อธุรกิจ) โดยจะใช้ข้อมูลแผงแบบเดียวกับที่ใช้ในบทที่สอง ใช้ข้อกำหนดแรงโน้มถ่วงของโครงสร้างที่มีผลกระทบคงที่สามทาง และแสดงให้เห็นว่า EIAs จะเพิ่มการส่งออกเฉลี่ยต่อบริษัทเป็นหลัก แต่มีผลกระทบน้อยกว่าต่อจำนวนบริษัทส่งออก นอกจากนี้ ยังตรวจสอบเพิ่มเติมว่า “ประเภท” ที่แตกต่างกันของ EIAs มีผลกระทบต่ออัตรากำไรที่แตกต่างกันหรือไม่ และเผยให้เห็นว่ายิ่งระดับของข้อตกลงการรวมกลุ่มสูงเท่าไร ผลกระทบต่อการส่งออกเฉลี่ยต่อบริษัทก็จะยิ่งแข็งแกร่งมากขึ้นเท่านั้น
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
Dash, Sunil Kumar, "Three essays on trade costs and firm exports" (2023). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 11449.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/11449