Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Clinical characteristics and natural history of patients with cardiac amyloidosis in King Chulalongkorn Memorial Hospital: a 20-year review
Year (A.D.)
2022
Document Type
Thesis
First Advisor
จักรพันธ์ ชัยพรหม
Second Advisor
ไพโรจน์ ฉัตรานุกูลชัย
Third Advisor
ประสิทธิ์ เผ่าทองคำ
Faculty/College
Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)
Department (if any)
Department of Medicine (ภาควิชาอายุรศาสตร์ (คณะแพทยศาสตร์))
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
อายุรศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2022.1174
Abstract
ที่มาและความสำคัญ: cardiac amyloidosis เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจเกิดจากการสะสมของโปรตีนที่ถูกผลิตออกมาอย่างผิดปกติ อาการ อาการแสดง แนวทางการวินิจฉัย และการดำเนินโรคขึ้นอยู่กับชนิดของโปรตีนที่ผิดปกตินั้น การวินิจฉัยที่ล่าช้า ส่งผลต่อพยากรณ์โรคในผู้ป่วย ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาข้อมูลโรค cardiac amyloidosis ในประเทศไทย วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบพรรณนาเก็บข้อมูลย้อนหลัง 20 ปีในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ทำการศึกษาในผู้ป่วยอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มีลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ภาพคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ หรือภาพคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหัวใจเข้าได้กับโรค cardiac amyloidosis ร่วมกับตรวจพบการสะสมของสารอะมัยลอยไฟบริลในร่างกาย ได้แก่ ผลตรวจทางพยาธิวิทยา และ/หรือภาพทางนิวเคลียร์ที่เข้าได้กับภาวะ amyloidosis โดยศึกษาอาการ อาการแสดง ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ภาพรังสี การดำเนินโรค ภาวะแทรกซ้อน และผลลัพธ์ของการดำเนินโรค โดยเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม light chain immunoglobulin (AL) และกลุ่ม transthyretin (ATTR) ผลการศึกษา: จากการศึกษาย้อนหลัง 20 ปีในโรงพยาบาลจุฬาพบว่า มีผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยโรค cardiac amyloidosis 46 ราย แบ่งเป็นชนิด AL 29 ราย และ ATTR 17 ราย (ร้อยละ 63 และ 37 ตามลำดับ) อายุเฉลี่ยที่เริ่มมีอาการ 65.3±11.2 ปี และอายุขณะได้รับการวินิจฉัย 67.2±11.1 ปี โดยทั้งสองกลุ่มมีอายุใกล้เคียงกัน (66.9±9.0 เทียบกับ 62.4±14.1 ปี และ 68.1±9.0 เทียบกับ 65.8±14.1 ปีตามลำดับ) มัธยฐานของระยะเวลาตั้งแต่เริ่มมีอาการจนถึงวินิจฉัย 13.5 (2.6 – 125.6) เดือน โดยพบว่า ATTR มีระยะเวลาตั้งแต่เริ่มมีอาการจนถึงวินิจฉัยนานกว่า (24.4 (7.9-125.6) เดือน เทียบกับ 8.1 (2.6-60.1) เดือน, p
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Background: Cardiac amyloidosis (CA) is a myocardial disease characterized by extracellular amyloid infiltration. Signs, symptoms, diagnosis, and natural history depend on types of amyloid fibrils. Currently, there are still lack of data investigating CA in Thailand. Method: This study was 20-year retrospective descriptive review among adult patients in King Chulalongkorn Memorial Hospital who had characteristics of ECG, echocardiography, and cardiac MRI that compatible with CA, which confirmation of infiltrated amyloid fibrils by pathology and/or 99mTc -PYP scintigraphy. Signs, symptoms, laboratory investigations, ECG, cardiac imaging, natural history, and outcomes were studied by comparing to the groups between light chain Ig (AL) and transthyretin (ATTR). Results: In this study, 46 patients diagnosed with CA; 29 (63%) in AL and 17 (37%) in ATTR group. The mean age at the onset and diagnosis was 65.3 ± 11.2 and 67.2 ± 11.1 years, respectively. The median of period from the onset to diagnosis was longer in ATTR (24.4 (7.9-125.6) vs 8.1 (2.6-60.1) months, p
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
โกฉัยพัฒน์, พัชร, "ลักษณะทางคลินิกและการดำเนินโรคของผู้ป่วยโรคหัวใจอะมัยลอยโดซิสในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์: การศึกษา 20 ปีย้อนหลัง" (2022). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 11326.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/11326