Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
การศึกษาผลการกระตุ้นภูมิต้านทานและความปลอดภัย จากการใช้วัคซีนโควิด-19 ชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกันเพื่อกระตุ้นเข็มที่ 3 หลังให้วัคซีนโควิด-19 ชนิดเชื้อตาย (CoronaVac) หรือชนิดใช้อะดีโนไวรัสเป็นพาหะ (AZD1222) ครบแล้ว 2 เข็ม ในประชากรผู้ใหญ่
Year (A.D.)
2023
Document Type
Thesis
First Advisor
Sittisak Honsawek
Second Advisor
Yong Poovorawan
Third Advisor
Wannarasmi Ketchart
Faculty/College
Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)
Degree Name
Doctor of Philosophy
Degree Level
Doctoral Degree
Degree Discipline
Medical Sciences
DOI
10.58837/CHULA.THE.2023.672
Abstract
COVID-19 has spread across 200 countries, causing 705 million confirmed cases and 7 million deaths. Several vaccines have been approved by the World Health Organization to prevent the spread of the virus. The Omicron variant has become the predominant strain globally. Although most people have been vaccinated, primary doses of CoronaVac or AZD1222 may not provide adequate protection against the Omicron variants. Studies show that vaccine-induced immunity has declined over time, leading to increase of breakthrough infection cases. A heterologous booster administered after primary vaccination, is hypothesized to enhance the immune response against the newly emerged SARS-CoV-2 variant. This study aimed to evaluate the reactogenicity and immunogenicity following the administration of a third-dose COVID-19 vaccine, including monitoring the level of total Ig anti-RBD, IgG-specific RBD, and neutralization activities against variants of concern. A total of 224 individuals who completed the two-dose CoronaVac and 229 who completed the two-dose AZD1222 were enrolled. A waning immunity was observed over 5-7 months after the vaccination in both groups. Total RBD Ig levels, anti-RBD IgG, and focus reduction neutralization test against Omicron BA.1 and BA.2 as well as T-cell response reached their maximum level within 14 days following booster vaccination. The highest immune response was elicited by both the full dose and the half dose of mRNA-1273, followed by the full dose and the half dose of BNT162b2, AZD1223, and BBIBP-CorV booster (CoronaVac-primed group), respectively. At 90 days, the persistence of immunogenicity was observed among all mRNA-boosted individuals. Participants who were given mRNA-1273 achieved the highest level of immunity persistence, followed by those who were given BNT162b2, AZD1222, and BBIBP-CorV. The immune responses were comparable between the full and half doses of mRNA-1273. Across all booster vaccines, the percentage decrease in binding antibodies varied from 50−75% in CoronaVac-primed individuals and 30−75% in AZD1222-primed individuals. Adverse events were well-tolerated, classified as mild to moderate in severity and resolved completely within a few days post-vaccination. In conclusion, heterologous booster vaccines have been shown to significantly enhance binding and neutralizing antibody levels in individuals who received two doses of CoronaVac or AZD1222. This current evidence may help develop vaccine strategies to combat upcoming variants, such as the Omicron subvariant JN.1 and its descendants KP.2 and KP.3.
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
เชื้อไวรัสโควิด-19 ได้แพร่กระจายไปแล้วกว่า 200 ประเทศทั่วโลก และส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อยืนยัน 705 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตกว่า 7 ล้านคน องค์การอนามัยโลกได้อนุมัติวัคซีนหลายชนิดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส สายพันธุ์โอมิครอน ได้กลายเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดทั่วโลกในปัจจุบัน แม้ว่าประชาชนส่วนใหญ่จะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แล้วแต่การได้รับวัคซีน 2 เข็มแรกเป็น วัคซีนโคโรนาแวคหรือวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า อาจไม่เพียงพอที่จะป้องกันเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ งานวิจัยก่อนหน้าพบว่าภูมิคุ้มกันที่เกิดจากวัคซีนจะค่อยๆลดลงตามระยะเวลาภายหลังการฉีดวัคซีนส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อหลังฉีดวัคซีนเพิ่มมากขึ้น การใช้วัคซีนเข็มกระตุ้นแบบต่างชนิดกัน ซึ่งเป็นการฉีดวัคซีนชนิดที่ต่างชนิดกันจากวัคซีนที่ใช้ในเข็มแรก มีสมมติฐานว่าจะช่วยกระตุ้นการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน ต่อเชื้อ SARS-CoV-2 สายพันธุ์โอมิครอนที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ได้ ดังนั้นการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินอาการข้างเคียง และวัดผลการกระตุ้นภูมิต้านทานภายหลังจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มกระตุ้น โดยจะทำการติดตามระดับของแอนติบอดีชนิด Total Ig anti-RBD, IgG-specific RBD และประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อ ต่อสายพันธุ์ที่น่ากังวลต่างๆ ผู้เข้าร่วมการศึกษามีทั้งหมด 453 ราย แบ่งเป็นผู้ที่ได้รับวัคซีนโคโรนาแวคสองเข็ม จำนวน 224 รายและผู้ที่ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าสองเข็ม จำนวน 229 ราย ในงานวิจัยนี้พบว่าภูมิคุ้มกันที่เกิดจากวัคซีนที่ได้รับไป สองเข็มแรกจะลดลงที่ระยะเวลา 5-7 เดือน หลังจากฉีดวัคซีนเข็มที่สองในวัคซีนทั้งสองชนิด และเมื่อมีการให้วัคซีนเข็มกระตุ้น ระดับของ Total RBD Ig, anti-RBD IgG และผลการทดสอบการยับยั้งเชื้อ ต่อสายพันธุ์โอมิครอน รวมถึงการตอบสนองของเซลล์ภูมิคุ้มกันชนิด T เพิ่มขึ้นสูงสุดภายในระยะเวลา 14 วัน ภายหลังจากการฉีดวัคซีนวัคซีนโมเดอร์นาทั้งการให้แบบเต็มโดสและครึ่งโดสสามารถกระตุ้นภูมิต้านทานได้ดีที่สุด รองลงมาคือ วัคซีนไฟเซอร์, วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า และ วัคซีนซิโนฟาร์ม (เฉพาะในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนโคโรนาแวคเป็นสองเข็มแรก) ตามลำดับ ที่ระยะเวลา 90 วันหลังการให้วัคซีนเข็มกระตุ้น พบว่าในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอเป็นเข็มกระตุ้น ระดับผลภูมิต้านทานยังคงอยู่ในระดับที่สูง โดยผู้ที่ได้รับ วัคซีนโมเดอร์นามีระดับภูมิต้านทานคงเหลืออยู่ได้สูงที่สุด รองลงมาคือ วัคซีนไฟเซอร์, วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าและ วัคซีนซิโนฟาร์ม ตามลำดับ นอกจากนี้ในการศึกษายังพบว่าการตอบสนองของภูมิต้านทานระหว่างวัคซีนโมเดอร์นา เต็มโดสและครึ่งโดส ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับวัคซีนเข็มกระตุ้นทั้งหมด เปอร์เซ็นต์การลดลงของแอนติบอดีที่ระยะเวลา 90 วัน มีค่าระหว่าง 50-75% ในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนโคโรนาแวคสองเข็ม และ 30-75% ในกลุ่มที่ได้รับ วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าสองเข็ม ผลการศึกษาอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นหลังการฉีดวัคซีน พบว่าอาการข้างเคียงอยู่ในระดับที่ไม่รุนแรง โดยส่วนมากจะมีอาการน้อยถึงปานกลาง และอาการสามารถหายได้เองภายในระยะเวลา 2-3 วันภายหลังการฉีดวัคซีน ดังนั้นกล่าวโดยสรุปงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นแบบต่างชนิดกัน สามารถกระตุ้นการสร้างระดับแอนติบอดีชนิดรวมและแอนติบอดีที่ยับยั้งเชื้อไวรัสให้เพิ่มขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญ ในผู้ที่เคยได้รับวัคซีนโคโรนาแวค หรือ วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า มาแล้วสองเข็ม ข้อมูลจากงานวิจัยนี้มีประโยชน์ต่อการพัฒนากลยุทธ์การใช้วัคซีนเพื่อต่อสู้กับสายพันธุ์ย่อยของโอมิครอนที่กำลังจะมาถึง เช่น สายพันธุ์ JN.1 และสายพันธุ์ย่อยที่สืบต่อมาอย่าง KP.2 และ KP.3
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
Assawakosri, Suvichada, "Immunogenicity and Safety of the Third Booster Dose with Homologous or Heterologous COVID-19 Vaccine After Completing Primary Series of Inactivated Vaccine (CoronaVac) or Adenovirus Vector Vaccine (AZD1222) in Thai Adults" (2023). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 11315.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/11315