Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
การศึกษาเปรียบเทียบเซลล์มะเร็งในกระแสเลือดจากเส้นเลือดดำพอร์ทัลเปรียบเทียบกับเส้นเลือดดำส่วนปลายในผู้ป่วยโรคมะเร็งตับอ่อนระยะที่ I-III
Year (A.D.)
2024
Document Type
Thesis
First Advisor
Rungsun Rerknimitr
Faculty/College
Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)
Department (if any)
Department of Medicine (ภาควิชาอายุรศาสตร์ (คณะแพทยศาสตร์))
Degree Name
Doctor of Philosophy
Degree Level
Doctoral Degree
Degree Discipline
Medicine
DOI
10.58837/CHULA.THE.2024.122
Abstract
Background: Portal venous circulating tumor cells (CTCs) detection may better reflect vascular metastasis and predict micro-metastasis risk in pancreatic ductal adenocarcinoma (PDAC) than peripheral blood. We hypothesize that portal CTCs could better represent micro-metastasis and predict survival in PDAC patients. Methods: We conducted a single-center, prospective interventional cohort study of patients with stage I-III PDAC between January 2020 and September 2021, with followed up until February 2024. Portal venous blood was obtained via endoscopic ultrasound (EUS)-guided sampling, and peripheral blood was collected on the same day. CTCs were detected using EpCAM and mucin1 antibodies and reported as cells/8mL of blood. Results: Among 35 patients, portal and peripheral CTC detection rates were 94.3% and 82.9%, respectively. Portal CTC counts were significant higher in patients with aggressive disease features, such as larger size, vascular invasion, lymph node metastasis (all p
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
วัตถุประสงค์ การตรวจเซลล์มะเร็งในกระแสเลือด (Circulating tumor cells) จากเส้นเลือดดำพอร์ทัลซึ่งเป็นเส้นเลือดดำหลักที่รับการระบายเลือดจากตับอ่อนอาจบ่งบอกการแพร่กระจายของมะเร็งในระยะเริ่มต้นได้ดีกว่าการตรวจจากเส้นเลือดดำส่วนปลาย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบเซลล์มะเร็งในกระแสเลือดจากเส้นเลือดดำพอร์ทัลและเส้นเลือดส่วนปลายในการพยากรณ์โรคของผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อน วิธีการวิจัย การศึกษาแบบไปข้างหน้าในผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนระยะที่ I-III โดยเก็บตัวอย่างเลือดจากเส้นเลือดดำพอร์ทัลด้วยวิธีการส่องกล้องอัลตราซาวด์ และเก็บตัวอย่างเลือดจากเส้นเลือดดำส่วนปลาย เพื่อตรวจจำนวนเซลล์มะเร็งในกระแสเลือด ด้วยวิธีการแบบ Immunoaffinity โดยใช้ EpCAM และ MUC1 เป็น markers และรายงานเป็นจำนวนเซลล์/เลือด 8 มล. ผลการศึกษา ผู้ป่วยทั้งหมด 35 ราย พบว่าอัตราการตรวจพบเซลล์มะเร็งในเส้นเลือดดำพอร์ทัล 94.3% ขณะที่ในเส้นเลือดดำส่วนปลายพบ 82.9% ผู้ป่วยที่มะเร็งมีความรุนแรงมากกว่า ได้แก่ ก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ มะเร็งกระจายเข้าเส้นเลือด มะเร็งกระจายเข้าต่อมน้ำเหลืองเฉพาะที่ เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่รุนแรง พบว่ามีจำนวนเซลล์มะเร็งในกระแสเลือดจากเส้นเลือดดำพอร์ทัลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่จากเส้นเลือดดำส่วนปลายของทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ การศึกษาวิจัยติดตามผู้ป่วยเป็นระยะเวลา 50 เดือน พบว่าผู้ป่วยที่มีจำนวนเซลล์มะเร็งในกระแสเลือดจากเส้นเลือดดำพอร์ทัล ≥8 มีการรอดชีวิตที่แย่กว่าอย่างมีนัยสำคัญ (6.1 เทียบกับ 19.0 เดือน; p=0.001) ผู้ป่วยที่มีเซลล์มะเร็งในกระแสเลือดจากเส้นเลือดดำส่วนปลาย ≥3 มีการรอดชีวิตที่แย่กว่าอย่างมีนัยสำคัญ (4.6 เทียบกับ 14.2 เดือน; p=0.002) ในการวิเคราะห์พหุตัวแปรเซลล์มะเร็งในกระแสเลือดจากเส้นเลือดดำพอร์ทัล ≥8 และ เซลล์มะเร็งในกระแสเลือดจากเส้นเลือดดำส่วนปลาย ≥3 มีความสัมพันธ์กับการรอดชีวิตโดยมี adjusted hazard ratios เท่ากับ 3.39 และ 2.71; p=0.009 และ 0.020 ตามลำดับ สรุป แม้ว่าการตรวจพบเซลล์มะเร็งในกระแสเลือดจากเส้นเลือดพอร์ทัล (8 เซลล์) และจากเส้นเลือดดำส่วนปลาย (3 เซลล์) มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับอัตราการรอดชีวิตที่แย่ลงของผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนระยะที่ I-III แต่ในเส้นเลือดดำพอร์ทัลสามารถบ่งบอกกลุ่มผู้ป่วยที่มะเร็งมีความรุนแรงมากกว่าได้ดีกว่าเส้นเลือดดำส่วนปลาย
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
Prasoppokakorn, Thaninee, "A comparative study of portal versus peripheral circulating tumor cells in patients with stage I-III pancreatic cancer" (2024). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 11311.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/11311