Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Inequalities in diabetes healthcare utilization and health outcomes

Year (A.D.)

2023

Document Type

Thesis

First Advisor

ปิยะ หาญวรวงศ์ชัย

Second Advisor

วิชัย เอกพลากร

Faculty/College

Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)

Department (if any)

Department of Preventive and Social Medicine (ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ

DOI

10.58837/CHULA.THE.2023.678

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะประชากรและเศรษฐานะทางสังคมกับการตัดสินใจเข้ารับบริการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานในกลุ่มผู้ที่ยังไม่เป็นโรคเบาหวาน การตรวจยืนยันการวินิจฉัยโรคเบาหวานในกลุ่มผู้ต้องสงสัยว่าเป็นโรคเบาหวาน การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การเกิดภาวะแทรกซ้อนโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคเส้นเลือดสมองแตกหรือตีบและการเสียชีวิตในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนอายุ 20 ปีขึ้นไปจากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 ที่มีการใช้บริการสาธารณสุขกับสถานพยาบาลที่ส่งข้อมูลให้กับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติโดยวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับการใช้บริการสาธารณสุขและผลลัพธ์สุขภาพของโรคเบาหวานด้วยสถิติ Multilevel mixed-effects logistic regression สำหรับการเข้ารับบริการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด Cox proportional hazards model สำหรับการตรวจยืนยันการวินิจฉัยโรคเบาหวาน และ Multiple logistic regression สำหรับการเกิดภาวะแทรกซ้อนและการเสียชีวิต การศึกษานี้มีกลุ่มตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 11,221 คนแบ่งตามสถานะของโรคเบาหวาน ณ จุดเริ่มต้นการติดตามออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1. ผู้ที่ยังไม่เป็นโรคเบาหวาน 2. ผู้ที่ต้องสงสัยว่าเป็นโรคเบาหวาน และ 3. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวนทั้งสิ้น 9,667 536 และ 1,018 คน ตามลำดับ ระหว่างการติดตามเป็นระยะเวลา 7 ปีในปี พ.ศ. 2556 ถึง 2563 พบว่ามีการวินิจฉัยผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่จำนวน 769 คน คิดเป็นอุบัติการณ์หลังปรับอายุมาตรฐานอยู่ที่ 10.6 (95% CI 9.8-11.3) ต่อ 1 พันประชากร-ปี มีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบจำนวน 58 คนและโรคเส้นเลือดสมองแตกหรือตีบรายใหม่จำนวน 73 คน คิดเป็นอุบัติการณ์หลังปรับอายุมาตรฐานอยู่ที่ 64.6 (95% CI 47.8-81.4) และ 85.8 (95% CI 65.4-106.2) ต่อ 1 แสนประชากร-ปี ตามลำดับ และมีผู้เสียชีวิตทุกสาเหตุจำนวน 890 ราย คิดเป็นอุบัติการณ์หลังปรับอายุมาตรฐานอยู่ที่ 10.0 (95% CI 9.3-10.7) ต่อ 1 พันประชากร-ปี ปัจจัยทางด้านลักษณะทางประชากรและเศรษฐานะทางสังคมมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเข้ารับบริการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานในกลุ่มผู้ที่ยังไม่เป็นโรคเบาหวานมากที่สุดโดยมีจำนวนทั้งหมด 6 ปัจจัย ได้แก่ กลุ่มอายุ ภูมิภาคที่อยู่อาศัย เขตที่อยู่อาศัย สิทธิการรักษา ระดับการศึกษา และ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างดัชนีความมั่งคั่งกับเขตเทศบาล สำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยทางด้านลักษณะทางประชากรและเศรษฐานะทางสังคมกับผลลัพธ์ทางสุขภาพอื่น ๆ พบว่า มีปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตรวจยืนยันการวินิจฉัยโรคเบาหวานในกลุ่มผู้ต้องสงสัยว่าเป็นโรคเบาหวานทั้งหมด 2 ปัจจัย ได้แก่ กลุ่มอายุและปฏิสัมพันธ์ระหว่างระดับการศึกษากับเขตเทศบาล มีปัจจัยที่สัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน 1 ปัจจัย ได้แก่ กลุ่มอายุ และ มีปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน 2 ปัจจัย ได้แก่ กลุ่มอายุ และดัชนีความมั่งคั่ง ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าปัจจัยทางด้านเศรษฐานะทางสังคมมีความสัมพันธ์กับการให้บริการสร้างเสริมและป้องกันโรคมากกว่าการให้บริการเพื่อการรักษาหรือผลลัพธ์ทางสุขภาพของโรคเบาหวาน การออกนโยบายที่จำเพาะต่อกลุ่มเสี่ยงอาจสามารถเพิ่มการเข้าถึงบริการคัดกรองโรคเบาหวานในผู้ที่ยังไม่เป็นโรคเบาหวานเพิ่มเติมได้

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The objective of this study is to identify the associations between sociodemographic factors and a range of diabetes-related health services and outcomes. The research identified the associations between these factors and diabetes screening decisions among individuals without diabetes, diabetes confirmation among suspected diabetes patients, blood sugar control, and the incidence of coronary heart disease, stroke, and mortality among diabetes patients. The study participants were people aged 20 and over from National Health Examination Survey Round 5 who use healthcare services registered with the National Health Security Office Database. We used multilevel mixed-effects logistic regression for diabetes screening decisions and blood sugar control analysis, the Cox proportional hazards model for diabetes confirmation analysis, and multiple logistic regression for complications and mortality analysis. The study included 11,221 participants, categorized into three groups based on their diabetes status at the start of the cohort: (1.) 9,667 individuals without diabetes; (2.) 536 suspected diabetes patients; and (3.) 1,018 diabetes patients. In the 7-year follow-up from 2013 to 2020, there were 769 newly diagnosed diabetes patients, representing an age-standardized incidence of 10.6 (95% CI 9.8-11.3) per 1,000 population years. The study also discovered 58 new cases of coronary heart disease and 73 new strokes. This means that the rates were 64.6 (95% CI 47.8-81.4) and 85.8 (95% CI 65.4-106.2) per 100,000 population-years, respectively. Furthermore, there were 890 deaths during the follow-up period, which is equal to 10.0 (95% CI 9.3-10.7) deaths per 1,000 population years. Sociodemographic factors were most associated with diabetes screening decisions among individuals without diabetes, with a total of six factors including age group, region, residential area (urban vs. rural), insurance status, highest educational attainment, and the combined effect of wealth level and urban area. In other analyses, we found that two factors were associated with diabetes diagnosis confirmation among those suspected of having diabetes, namely age group and the combined effect of education level and living urban area. Only the age group was associated with blood sugar control. Finally, we found that age group and wealth index category were associated with mortality among diabetes patients. The results of this study show that sociodemographic factors are more related to diabetes promotion and prevention services than to treatment or health outcomes. Issuing specific policies for at-risk groups may further increase access to diabetes screening services for those who do not yet have diabetes.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.