Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Development of teleconsultation platform for phlebitis assessment
Year (A.D.)
2023
Document Type
Thesis
First Advisor
กฤษณ์ พงศ์พิรุฬห์
Second Advisor
จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์
Faculty/College
Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)
Department (if any)
Department of Preventive and Social Medicine (ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม)
Degree Name
วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาเอก
Degree Discipline
การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ
DOI
10.58837/CHULA.THE.2023.717
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินคุณภาพแพลตฟอร์มประเมินการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบด้วยระบบปรึกษาการแพทย์ทางไกล รวมถึงศึกษาผลของการใช้เทปทรานสพอร์และแผ่นฟิล์มใสปิดแผลต่ออุบัติการณ์การเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ การวิจัยครั้งนี้แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนาแพลตฟอร์ม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) พยาบาลผู้ให้สารน้ำจำนวน 30 คน 2) พยาบาลผู้เชี่ยวชาญที่ด้านการประเมินการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจำนวน 4 คน และ 3) ผู้ป่วยที่ได้รับ การสอดใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนปลายจำนวน 246 คน ระยะที่ 2 การประเมินคุณภาพแพลตฟอร์มประเมินการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบด้วยระบบปรึกษาการแพทย์ทางไกล เก็บข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) พยาบาลวิชาชีพที่ได้จากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 8 คน 2) พยาบาลผู้เชี่ยวชาญที่ได้จากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 4 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา และระยะที่ 3 การศึกษาผลของการใช้เทป ทรานสพอร์และแผ่นฟิล์มใสปิดแผลต่ออุบัติการณ์การเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่ม กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 308 คน สรุปผลวิจัยได้ดังนี้ 1. แพลตฟอร์มประเมินการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบด้วยระบบปรึกษาการแพทย์ทางไกลประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อขอคำปรึกษาโดยการส่งภาพถ่ายที่สงสัยว่าจะเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบและข้อมูลอาการและอาการแสดงของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ให้คำปรึกษาเพื่อการวินิจฉัยและการรักษา โดยการออกแบบแผนผังการใช้งาน รูปแบบหน้าจอและการแสดงผลที่มีความสะดวกในการใช้งานทางคลินิก 2. แพลตฟอร์มประเมินการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบด้วยระบบปรึกษาการแพทย์ทางไกลที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้ประเมินและการวินิจฉัยการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบได้ถูกต้อง มีความเป็นไปได้และเหมาะสมที่จะนำไปใช้งานจริงในคลินิก 3. อุบัติการณ์การเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบในผู้ป่วยที่ใช้เทปทรานสพอร์ 77.92% ของผู้ป่วยที่ใช้แผ่นฟิล์มใสปิดแผล 66.88% มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (x2 = 4.696, p = 0.030 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เทปทรานสพอร์มีความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบเป็น 1.16 เท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ใช้แผ่นฟิล์มใสปิดแผล (RR = 1.16, 95% CI = 0.116-0.452) การวิเคราะห์ทางสถิติแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างที่มีนัยสำคัญทางสถิติเกี่ยวกับระยะเวลาการถอดสายสวนระหว่างทั้งสองกลุ่ม
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This study aimed to: 1) Develop a teleconsultation platform for phlebitis assessment. 2) Evaluation of the teleconsultation platform for phlebitis assessment among registered nurses, and 3) Investigate the effectiveness of using Transpore tape and transparent film dressing on the incidence of phlebitis. This research was divided into three phases. The first phase involved the design and development of a teleconsultation platform for phlebitis assessment. The participants included 30 registered nurses, 4 expert nurses, and 246 patients with attached peripheral venous catheters. The second phase consisted of conducting focus group discussions with 8 registered nurses and 4 expert nurses. The third phase involved investigating the effectiveness of using Transpore tape and transparent film dressing on the incidence of phlebitis. This phase consisted of a randomized controlled prospective study with a sample size of 308 patients with attached peripheral venous catheters. The research findings were as followed: 1. The teleconsultation platform for phlebitis assessment enable consultation by submitting reports that detail the occurrence of peripheral inflammation and clearly announce signs and symptoms. This allows experts to provide counsel for operations and treatment. The system is designed the usage diagram, the screen layout, and display are made convenient for clinical use. 2. The developed a teleconsultation platform for phlebitis assessment, integrated with a telemedicine consultation system, can be used to accurately assess and diagnose peripheral vein inflammation. It is feasible and suitable for practical use in clinical settings. 3. The incidence of phlebitis in patients using Transpore tape was 77.92%, compared to 66.88% in patients using clear film to cover wounds. There was a statistically significant difference (χ2 = 4.696, p = 0.030). The group using Transpore tape had a 1.16 times higher risk of developing peripheral venous phlebitis than the group using clear film (RR = 1.16, 95% CI = 0.116-0.452). Statistical analysis showed a significant difference in catheter removal time between the two groups.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ถ่างกระโทก, ปราโมทย์, "การพัฒนาแพลตฟอร์มประเมินการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบด้วยระบบปรึกษาการแพทย์ทางไกล" (2023). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 11250.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/11250