Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Model of mental health care for secondary school students under Bangkok metropolitan administration according to donabedian’s framework

Year (A.D.)

2023

Document Type

Thesis

First Advisor

อุ่นเรือน เล็กน้อย

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

พัฒนามนุษย์และสังคม

DOI

10.58837/CHULA.THE.2023.1255

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดูแลสุขภาพจิตนักเรียนมัธยมศึกษาโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร เปรียบเทียบรูปแบบการดูแลสุขภาพจิตของนักเรียนมัธยมศึกษาของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครตามขนาดของโรงเรียน ที่ตั้ง และสภาพแวดล้อม วิเคราะห์ความท้าทายและปัจจัยความสำเร็จของรูปแบบการดูแลสุขภาพจิตนักเรียนมัธยมศึกษา โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร รวมทั้งจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อช่วยในการพัฒนานโยบายและรูปแบบการดูแลสุขภาพจิตนักเรียนมัธยมศึกษา โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครดำเนินการศึกษาโดยใช้เทคนิควิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม และสุ่มกลุ่มตัวอย่างโรงเรียนด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยมีขนาดตัวอย่างทั้งสิ้น 86 โรงเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของโรงเรียนกับรูปแบบการดูแลสุขภาพจิตโรงเรียนด้วย One-Way ANOVA โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคุณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จและความท้าทายของรูปแบบการดูแลสุขภาพจิตโรงเรียน ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการดูแลสุขภาพจิตนักเรียนมัธยมศึกษาโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางถึงมาก ด้านกระบวนการมากที่สุด ส่วนด้านโครงสร้างน้อยที่สุด จากการเปรียบเทียบตามขนาดของโรงเรียน ที่ตั้ง และสภาพแวดล้อม พบว่า ด้านโครงสร้างโรงเรียนขนาดกลางมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด กรุงเทพเหนือมากที่สุดเรื่องครูและบุคลากรของโรงเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในหลักจิตวิทยา การให้คำปรึกษาเบื้องต้น ด้านกระบวนการโรงเรียนขนาดกลางมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด การสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อสุขภาพจิตของโรงเรียนทั้งสามขนาดอยู่ในระดับมากที่สุด โรงเรียนขนาดกลางมีค่าเฉลี่ยการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบเพื่อส่งเสริมด้านสุขภาพจิต ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนมากที่สุด ส่วนโรงเรียนขนาดใหญ่และกรุงธนเหนือมีค่าเฉลี่ยมากที่สุดในการปฏิบัติในห้องเรียนเพื่อการส่งเสริมสุขภาพจิตให้เกิดประสิทธิภาพ และโรงเรียนในกรุงธนใต้มากที่สุดเรื่องกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนในห้องได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เช่น เพื่อนช่วยเพื่อน จิตอาสาช่วยเพื่อน การเรียนรู้ร่วมกันในชั้นเรียน ด้านผลลัพธ์โรงเรียนขนาดกลางและโรงเรียนในเขตกรุงเทพเหนือมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ส่วนโรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนในเขตกรุงเทพกลางค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด เมื่อวิเคราะห์ความแตกต่างของรูปแบบการดูแลสุขภาพจิตนักเรียนกับสภาพแวดล้อม พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ขนาดและที่ตั้ง ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยความสำเร็จและความท้าทายของรูปแบบการดูแลสุขภาพจิตนักเรียนมัธยมศึกษา โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร เป็นผลมาจากครูและบุคลากรของโรงเรียนมีความสามารถคัดกรองนักเรียนที่อยู่กลุ่มเสี่ยงได้ และการมีกล้องวงจรปิดที่สามารถใช้งานได้จริง กรุงเทพมหานครรวมถึงโรงเรียนในสังกัดควรโดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาคนให้สามารถคัดกรองกลุ่มเสี่ยงได้เบื้องต้น และให้ความสำคัญกับโรงเรียนขนาดเล็ก และโรงเรียนในเขตกรุงเทพกลางที่มีข้อจำกัดในการดำเนินงานมากกว่าก่อน

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This study aims to study the model of mental health care for secondary school students under the Bangkok Metropolitan Administration according to Donabedian’s framework by comparing school size, location, and environment. Furthermore, it analyzes the challenges and success factors of the model mental health care. Including making recommendations will be made and forwarded to schools and policymakers. The method is quantitative research using a simple random sampling of 86 schools. The questionnaires were sent and collected for data analysis using descriptive statistics, One-Way ANOVA, and Stepwise Multiple Regression Analysis. The study results showed that the overall picture of the mental health care model achieved moderate to high levels, and the highest in the process, but the lowest in the structure. When analyzing data based on school size, It was found that medium-sized schools obtained the highest average in structure, process, and output. School Ethos is the subcategory in all sizes of schools that achieved the highest average. For location, Northern Bangkok received the highest average in input knowledge and skills of teachers and school personnel. Northern Thonburi obtained the highest average in Classroom Practice. At the same time, Southern Thonburi achieved the highest average in the subcategory of encouragement of students in class to help each other. Remarkably small-sized schools and schools in Central Bangkok showed the lowest average. Statistical analysis showed significant differences based on environment, but not school size and location. When further exploring the success factors and challenges of the mental health care model, the ability of teachers and school personnel to screen students who are at risk and having usable CCTV cameras were the critical factors identified. From this study, it is suggested that policymakers should focus on developing basic screening competency for school personnel and pay special attention to supporting small-sized schools and schools in Central Bangkok as a priority.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.