Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
อนาคตของเนื้อทดแทนเพื่อระบบอาหารที่ยั่งยืน: ข้อมูลเชิงลึกจากความนิยมของผู้บริโภคชาวจีนและบทบาทของการกำหนดวาระข่าวสาร
Year (A.D.)
2023
Document Type
Thesis
First Advisor
Dawan Wiwattanadate
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
Doctor of Philosophy
Degree Level
Doctoral Degree
Degree Discipline
Environment, Development and Sustainability
DOI
10.58837/CHULA.THE.2023.1257
Abstract
The future of meat substitutes for China's sustainable food system was examined in this dissertation. Influence of media agenda-setting, consumer perception, preferences, and experts' opinions towards sustainable meat systems were investigated by text mining, online questionnaire survey, and stakeholder in-depth interviews. Integration of the agenda-setting concerning meat substitutes with the 2022 Chinese government dietary policy and the influence of articles in mainstream news is recommended. The research findings contribute to bridging the gap between policy formulation, agenda-setting, and public perception and suggest that media provide information consistently with the national food policy and provide education and knowledge correctly and clearly. The examination of Chinese consumer preference for meat substitutes by online questionnaire survey with 521 respondents, indicating that the higher education and higher income respondents tend to exhibit lower acceptance toward plant-based meat, which illustrates the lack of public awareness. Traditional factors, such as food therapy and face culture, significantly influence meat transition. Through in-depth interviews with experts, different types of meat are compared. The results highlight the dilemma between cultural function and environmentally friendly products. Meat transition should involve the combination of meat intake reduction and choice of meat substitutes. The study's findings indicate important implications for future research, policy development, and practical implementation of meat substitutes for sustainable food systems in China.
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
งานวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้ทำการศึกษาอนาคตของเนื้อทดแทนเพื่อระบบอาหารที่ยั่งยืนของจีน โดยมุ่งเน้นที่ความนิยมของผู้บริโภคชาวจีนและบทบาทของการกำหนดวาระข่าวสาร อิทธิพลของบทความในข่าวกระแสหลักที่มีต่อการรับรู้ของประชาชนเกี่ยวกับเนื้อทดแทน โดยทำการสำรวจ ประสิทธิผลของนโยบายด้านอาหารของจีน การยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อเนื้อจากพืชและเนื้อเพาะเลี้ยง ตลอดจนศักยภาพของเนื้อเพาะเลี้ยงที่มีต่อระบบอาหารของจีน โดยใช้เทคนิคผสมผสานระหว่างการทำเหมืองข้อความ การสำรวจด้วยแบบสอบถามออนไลน์และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผลการวิเคราะห์บทบาทด้านการกำหนดวาระข่าวสารของสื่อ ในแง่ ความสำเร็จ ปัจจัยสำคัญ และความท้าทายที่เกี่ยวเนื่องกับนโยบายอาหาร ได้นำไปสู่การเสนอแนะสื่อให้นำเสนอข้อมูลข่าวสารที่สอดคล้องกับนโยบายอาหารของรัฐบาล ตลอดจนให้การศึกษาและองค์ความรู้เกี่ยวกับเนื้อทดแทนอย่างถูกต้องและชัดเจน ผลการสำรวจด้วยแบบสอบถามพบว่าผู้ตอบแบบสอบถาม 521 คน มาจากทุกภาคเศรษฐกิจของประเทศ มีความหลากหลายทั้งพฤติกรรมการบริโภค อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ครัวเรือนพบว่า ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อเนื้อทดแทนมีความแตกต่างกันไปตามระดับการศึกษา เพศ รายได้ครัวเรือน และทำเลที่อยู่อาศัย ทั้งนี้พบว่าผู้ที่มีระดับการศึกษาและรายได้สูง มีแนวโน้มการยอมรับเนื้อทดแทนในระดับที่ต่ำกว่า ซึ่งบ่งชี้ว่าขาดจิตสำนึกเกี่ยวกับอาหารยั่งยืน นอกจากนี้ยังพบว่า 5 ปัจจัยสูงสุดที่ผู้บริโภคคำนึงถึงในการซื้อเนื้อสัตว์ ได้แก่ การรักษาหน้าในสังคม ประโยชน์ต่อสุขภาพ ราคา ความเหมาะสมกับโรคที่เป็นอยู่ และรสชาติ ตามลำดับ ซึ่งเน้นย้ำถึงความสำคัญของอิทธิพลทางวัฒนธรรมและสังคมที่มีต่อการปรับเปลี่ยนการบริโภคอาหาร การสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเชิงลึก เปรียบเทียบเนื้อประเภทต่างๆ ได้แก่ เนื้อแบบดั้งเดิม เนื้อจากพืช เนื้อเพาะเลี้ยง และเนื้อเทียมจากพืช พบว่าในประเทศกำลังพัฒนา อย่างเช่น จีน เนื้อเพาะเลี้ยง ยังมีความไม่แน่นอน ด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการยอมรับทางวัฒนธรรม ขณะที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่เห็นว่าเนื้อเทียมจากพืช ไม่ต่างกับเนื้อจากพืชดั้งเดิมของจีน ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความยากในการตลาดของเนื้อเทียมจากพืช ขณะที่กลุ่มนิยมบริโภคเนื้อสัตว์ก็ยังคงนิยมเนื้อสัตว์ดั้งเดิม ดังนั้นเพื่อนำไปสู่ระบบอาหารที่ยั่งยืน จึงควรรณรงค์ลดการบริโภคเนื้อสัตว์ดั้งเดิม ควบคู่กับการส่งเสริมเนื้อทดแทนหลากหลายทางเลือก ผลสรุปและข้อเสนอแนะจากการศึกษานี้มีความสำคัญต่อทอศทางงานวิจัยในอนาคต การพัฒนานโยบาย และการรณรงค์สื่อสารเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติมีความสำคัญต่อทิศทางงานวิจัยในอนาคต การพัฒนานโยบายและการนำไปสู่การปฏิบัติ
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
Guo, Wenxuan, "The future of meat substitutes for sustainable food system: insights from Chinese consumer preference and role of agenda setting" (2023). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 11063.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/11063