Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

ผลของระยะทางเชิงเส้น การดึงดูดความคล้อยตามทางไวยากรณ์และความจำขณะทำงานต่อการประมวลผลความคล้อยตามทางไวยากรณ์ของประธานเอกพจน์บุรุษที่สามและกริยาภาษาอังกฤษในฐานะภาษาที่สองของผู้เรียนที่มีภาษาไทยเป็นภาษาที่หนึ่ง

Year (A.D.)

2024

Document Type

Thesis

First Advisor

Nattama Pongpairoj

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

Doctor of Philosophy

Degree Level

Doctoral Degree

Degree Discipline

English as an International Language

DOI

10.58837/CHULA.THE.2024.438

Abstract

In the realm of second language (L2) processing, agreement processing has continued to attract a considerable amount of attention in the field (e.g., Jiang, 2004; Keating, 2009; Lim & Christianson, 2015). A wide range of factors have been speculated to modulate L2 agreement processing, including first-language (L1) influence, L2 proficiency, long-distance agreement/dependencies (LDDs), agreement attraction, working memory (WM), among others. The present study was carried out to investigate three of these modulating factors, including long-distance agreement, agreement attraction, and WM capacity, on L2 agreement processing of L1 Thai learners. According to Hypothesis 1, linear distance would increase a level of processing difficulties. Hypothesis 2 held that agreement attraction would intensify such a level. Hypothesis 3 postulated that WM would modulate L1 Thai learners’ agreement processing. Two word-by-word self-pace reading (SPR) experiments examining L2 English third-person singular subject-verb agreement were administered to 60 native speakers of English (NSs) and 60 Thai-speaking nonnative speakers (NNSs). The manipulation of linear distance under the Linear Distance Hypothesis (Gibson, 1998, 2000) was achieved by means of intervening prepositional phrases (PPs) (e.g., ‘on the pillows’) and relative clauses (RCs) (e.g., ‘that wiped the tables’) in Experiment 1 and Experiment 2, respectively, resulting in two subject noun phrase (NP) contexts, namely simple subject NP (e.g., ‘the waiter lives in a nearby town’) and complex subject NP (e.g., ‘the teacher that wiped the tables work from dawn to dusk’). In both experiments, agreement attraction was manipulated based on four head-local noun number combinations: singular-singular (e.g., ‘the girl at the door’), plural-plural (e.g., ‘the bankers at the lifts’), singular-plural (e.g., ‘the cat on the pillows’), and plural-singular (e.g., ‘the golfers in the room’), the first two combinations of which were categorized as matched conditions and the last two mismatched conditions. The NNSs’ WM capacity was measured using a Thai reading span task and classified as either high or low. The total number of experimental items in each SPR experiment was 24, half of which were grammatical and the other half ungrammatical, along with 40 distractors. The SPR experiments were performed using SuperLab 6.0 by Cedrus Corporation. In both experiments, two- and three-way ANOVAs showed that linear distance significantly affected both NSs and NNSs as indicated by longer reading times in the long-distance context, i.e., sentences with complex subject NPs. Agreement attraction was not shown to affect the processing in question in either the NS data from both experiments or the NNS data in Experiment 2. It was, however, observed to interact with grammaticality and WM in the NNS data from Experiment 1. The main effect of WM was captured in Experiment 2 while showing partial effects in Experiment 1 as its interaction with agreement attraction and grammaticality was unveiled. These findings suggested that linear distance increased a level of processing difficulties in L2 agreement processing, thereby confirming Hypothesis 1 and lending support to the Linear Distance Hypothesis. The findings also indicated that agreement attraction tended to heighten such a level in the processing of LDDs in the ungrammatical context for L2 learners with a limited amount of WM capacity, hence partly supporting Hypothesis 2. WM capacity was also shown to be more involved in L2 agreement processing as the tasks became computationally more complex and thus cognitively more demanding, thus partly supporting Hypothesis 3. The observed effects of both linguistic and non-linguistic variables on L2 morphology processing in the present study contributed to psycholinguistic and L2 theoretical research by advancing the understanding of L2 morphology processing and related variables. The findings on similarities in processing patterns between the NSs and NNSs also provided detailed insight into the path of L2 acquisition and development. Moreover, the findings helped guide L2 instructors and stakeholders to factor in these linguistic and non-linguistic variables during lesson planning and curriculum development.

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

ในการประมวลผลภาษาที่สอง การประมวลผลหน่วยคำแสดงความคล้อยตามทางไวยากรณ์ยังคงได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากเหล่านักวิจัยในสาขานี้อย่างต่อเนื่อง (Jiang, 2004; Keating, 2009; Lim & Christianson, 2015) ปัจจัยจำนวนหลายปัจจัย เช่น อิทธิพลของภาษาที่หนึ่ง สมิทธิภาพภาษาที่สอง ระยะห่างการพึ่งพาของหน่วยคำแสดงความคล้อยตามทางไวยากรณ์แบบไกล (long-distance agreement/dependencies) การดึงดูดความคล้อยตามทางไวยากรณ์ (agreement attraction) ความจำขณะทำงาน (working memory) และอื่น ๆ ได้ถูกคาดว่าเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการประมวลผลหน่วยคำแสดงความคล้อยตามทางไวยากรณ์ภาษาที่สอง งานวิจัยชิ้นนี้ดำเนินเพื่อทดสอบผลของสามปัจจัยจากปัจจัยที่กล่าวข้างต้น ได้แก่ ระยะห่างการพึ่งพาของหน่วยคำแสดงความคล้อยตามทางไวยากรณ์แบบไกล การดึงดูดความคล้อยตามทางไวยากรณ์ ความจำขณะทำงาน ต่อการประมวลผลหน่วยคำแสดงความคล้อยตามทางไวยากรณ์ของผู้เรียนที่มีภาษาไทยเป็นภาษาที่หนึ่ง ตามสมมุติฐานที่หนึ่ง ระยะทางเชิงเส้นจะส่งผลให้ระดับความยากของการประมวลผลดังกล่าวเพิ่มขึ้น สมมุติฐานที่สองระบุว่าการดึงดูดความคล้อยตามทางไวยากรณ์จะเพิ่มระดับความยากของการประมวลผลหน่วยคำแสดงความคล้อยตามทางไวยากรณ์แบบระยะห่างแบบไกล สมมุติฐานที่สามสันนิษฐานว่าความจำขณะทำงานจะมีอิทธิพลต่อการประมวลผลหน่วยคำแสดงความคล้อยตามทางไวยากรณ์ของผู้เรียนที่มีภาษาไทยเป็นภาษาที่หนึ่ง ในการทดลองการอ่านทีละคำแบบกำหนดเวลาด้วยตัวเอง (self-pace reading) มีจำนวนสองการทดลองที่มีจุดประสงค์ในการทดสอบความคล้อยตามทางไวยากรณ์ของประธานเอกพจน์บุรุษที่สามและกริยาภาษาอังกฤษในฐานะภาษาที่สอง มีผู้เข้าร่วมการทดสอบเป็นเจ้าของภาษา จำนวน 60 คน และ ผู้เรียนชาวไทย จำนวน 60 คน โดยระยะทางเชิงเส้นระหว่างประธานและกริยาหลักภายใต้ทฤษฎีระยะทางเชิงเส้น (Linear Distance Hypothesis) (Gibson, 1998, 2000) ถูกกำหนดโดยการใช้บุพบทวลี เช่น ‘on the pillows’ และคุณานุประโยค เช่น ‘that wiped the tables’ ในการทดลองที่หนึ่งและการทดลองที่สองตามลำดับ ส่งผลให้มีประธานนามวลีสองบริบท คือ บริบทประธานนามวลีแบบเรียบง่าย เช่น ‘the waiter lives in a nearby town’ และบริบทประธานนามวลีแบบซับซ้อน เช่น ‘the teacher that wiped the tables work from dawn to dusk’ ในการทดลองทั้งสองการทดลอง การดึงดูดความคล้อยตามทางไวยากรณ์ถูกทดสอบผ่านการจับคู่เชิงพจน์ของนามที่เป็นประธานและนามที่ไม่ใช่ประธานจำนวนสี่แบบ ได้แก่ เอกพจน์-เอกพจน์ เช่น ‘the girl at the door’ พหูพจน์-พหูพจน์ เช่น ‘the bankers at the lifts’ เอกพจน์-พหูพจน์ เช่น ‘the bankers at the lifts’ และพหูพจน์-เอกพจน์ เช่น ‘the golfers in the room’ โดยการจับคู่สองแบบแรกถูกจัดให้อยู่ในเงื่อนไขการจับคู่เชิงพจน์แบบสอดคล้องกัน (matched conditions) และการจับคู่สองแบบหลังถูกจัดให้อยู่ในเงื่อนไขการจับคู่เชิงพจน์แบบไม่สอดคล้องกัน (mismatched conditions) ขนาดของความจำขณะทำงานของผู้เข้าร่วมชาวไทยถูกวัดโดยใช้แบบอ่านวัดช่วงความจำขณะทำงาน (reading span task) ภาษาไทย ซึ่งแบ่งออกเป็นกลุ่มความจำขณะทำงานแบบสูงและกลุ่มความจำขณะทำงานแบบต่ำ ในการทดลองการอ่านทีละคำแบบกำหนดเวลาด้วยตัวเองในแต่ละการทดลองมีประโยคทดลอง 24 ประโยค โดยแบ่งเป็นแบบถูกไวยากรณ์ครึ่งหนึ่ง และแบบผิดไวยากรณ์อีกครึ่งหนึ่ง พร้อมด้วยประโยคลวง 40 ประโยค การทดลองการอ่านทีละคำแบบกำหนดเวลาด้วยตัวเองได้ถูกทดสอบโดยใช้โปรแกรม SuperLab 6.0 โดย Cedrus Corporation ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง (two-way ANOVA) และสามทาง (three-way ANOVA) ของข้อมูลจากทั้งสองการทดลองเผยให้เห็นว่าระยะทางเชิงเส้นส่งผลกระทบต่อทั้งเจ้าของภาษาและผู้เรียนชาวไทยอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งสังเกตได้ชัดจากเวลาที่ใช้ในการอ่านที่มากขึ้นในการอ่านประโยคที่มีหน่วยคำแสดงความคล้อยตามทางไวยากรณ์ที่มีระยะห่างแบบไกล นั่นคือประโยคที่มีประธานนามวลีแบบซับซ้อน ผลการวิเคราะห์ไม่พบการดึงดูดความคล้อยตามทางไวยากรณ์ในกลุ่มเจ้าของภาษาจากทั้งสองการทดลอง และในกลุ่มผู้เรียนชาวไทยจากการทดลองที่สอง ทว่ามีการพบการมีปฎิสัมพันธ์กันระหว่างการดึงดูดความคล้อยตามทางไวยากรณ์ ความถูกต้องทางไวยากรณ์ และความจำขณะทำงานของผู้เรียนชาวไทยจากการทดลองที่หนึ่ง อิทธิพลหลักของความจำขณะทำงานนั้นถูกพบในการทดลองที่สอง ในขณะที่อิทธิพลบางส่วนของความจำขณะทำงานถูกพบในการทดลองที่หนึ่ง โดยพบว่าความจำขณะทำงานมีปฎิสัมพันธ์กับการดึงดูดความคล้อยตามทางไวยากรณ์และความถูกต้องทางไวยากรณ์ ผลการวิจัยเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าระยะทางเชิงเส้นทำให้ระดับความยากในการประมวลผลหน่วยคำแสดงความคล้อยตามทางไวยากรณ์ภาษาที่สองนั้นเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นการสนับสนุนสมมุติฐานที่หนึ่งของงานวิจัยนี้และทฤษฎีระยะทางเชิงเส้น นอกจากนี้ ผลการวิจัยยังชี้ว่าการดึงดูดความคล้อยตามทางไวยากรณ์มีแนวโน้มในการเพิ่มระดับความยากในการประมวลผลหน่วยคำแสดงความคล้อยตามทางไวยากรณ์ที่มีระยะห่างแบบไกลในประโยคที่มีบริบทผิดไวยากรณ์ ซึ่งเป็นการสนับสนุนสมมุติฐานที่สองบางส่วน ความจำขณะทำงานก็ถูกพบว่ามีอิทธิพลต่อการประมวลผลหน่วยคำแสดงความคล้อยตามทางไวยากรณ์ภาษาที่สองมากขึ้นเมื่อแบบทดสอบมีความซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งเป็นการสนับสนุนสมมุติฐานที่สามบางส่วน ผลของปัจจัยทั้งทางภาษาศาสตร์และที่ไม่ใช่ทางภาษาศาสตร์ต่อการประมวลผลหน่วยคำภาษาที่สองที่ปรากฏในงานวิจัยชิ้นนี้ถือเป็นประโยชน์แก่วงการวิจัยด้านภาษาศาสตร์เชิงจิตวิทยาและทฤษฎีด้านการรับภาษาที่สองด้วยการพัฒนาองค์ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประมวลผลหน่วยคำภาษาที่สองและปัจจัยที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ให้ดียิ่งขึ้น ผลการวิจัยที่แสดงให้เห็นถึงความเหมือนของลักษณะการประมวลผลระหว่างเจ้าของภาษาและผู้เรียนชาวไทยทำให้สามารถมองเห็นโดยละเอียดถึงกระบวนการและพัฒนาการของการรับภาษาที่สองนั้นชัดเจนมากขึ้น นอกจากนี้ ผลการวิจัยเหล่านี้ยังช่วยเป็นแนวทางให้กับครูผู้สอนภาษาที่สองและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการนำปัจจัยทางภาษาศาสตร์และที่ไม่ใช่ทางภาษาศาสตร์ในงานวิจัยนี้ไปพิจารณาในระหว่างการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนและการพัฒนาหลักสูตร

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.