Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Innovative diffusion model for thai farmers

Year (A.D.)

2022

Document Type

Thesis

First Advisor

รัฐ พิชญางกูร

Second Advisor

อนุภาพ สมบูรณ์สวัสดี

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาเอก

Degree Discipline

ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม

DOI

10.58837/CHULA.THE.2022.1309

Abstract

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจยอมรับนวัตกรรมของเกษตรกรไทย โดยบูรณาการแนวคิดทฤษฎีการแพร่กระจายนวัตกรรมและทฤษฎี Health Belief Model (HBM) เข้าไว้ด้วยกันมาต่อยอดสร้างเป็นกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีการแพร่กระจายนวัตกรรมสู่เกษตรกรไทย ผู้วิจัยได้คัดเลือกนวัตกรรมเกษตรทฤษฎีใหม่มาเป็นกรณีศึกษาในงานวิจัยนี้ โดยศึกษาทั้งเกษตรกรที่ทำเกษตรทฤษฎีใหม่และเกษตรกรที่ไม่ได้ทำเกษตรทฤษฎีใหม่เก็บข้อมูลจากเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างที่จัดอยู่ในกลุ่มล้าหลังด้านเทคโนโลยีและเป็นคนกลุ่มท้ายๆ ที่จะยอมเปิดรับนวัตกรรมรวมทั้งสิ้นจำนวน 400 รายประกอบด้วยเกษตรกรจากทั้ง 6 ภูมิภาค จากกรอบแนวคิดการวิจัยคาดว่ามีปัจจัยอิทธิพล 8 ด้านที่จะส่งผลให้เกษตรกรตัดสินใจยอมรับนวัตกรรม ได้แก่ การรับรู้ภัยคุกคามเกษตรกร (Perceived threats), การรับรู้ประโยชน์ของการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ (Perceived benefits), การรับรู้อุปสรรคในการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ (Perceived barriers), แรงจูงใจในการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ (Motivation), ความพร้อมของเกษตรกร (Self-efficacy), ปัจจัยทางสังคม (Social factors), ปัจจัยแวดล้อมอื่น (Exogenous factors) คุณลักษณะของนวัตกรรม (Attributes of innovation) ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณพบว่าปัจจัยอิทธิพลที่มีผลต่อการยอมรับเกษตรทฤษฎีใหม่มีทั้งสิ้น 3 ปัจจัย ได้แก่ Social factors, Perceived benefits, Perceived threats ตามลำดับ จากนั้นนำผลการศึกษามาพัฒนาแนวทางการส่งเสริมนวัตกรรมแบบมีส่วนร่วมของเกษตรกรโดยใช้ผลการศึกษาปัจจัยอิทธิพลต่อการยอมรับนวัตกรรมของเกษตรกรไทยกลุ่ม Laggards และ Late majority โดยมีเป้าหมายให้เกษตรกรและชุมชนร่วมกันขับเคลื่อนการแพร่กระจายนวัตกรรมที่เหมาะสมไปสู่เกษตรกรภายในชุมชน ส่วนสุดท้ายของงานวิจัยเป็นการศึกษาความเป็นได้เพื่อภาครัฐสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ให้เกษตรกรยอมรับมากขึ้น

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This quantitative research on influent factors on Thai farmers’ innovation adoption intricate innovation diffusion theory and Health Belief Model. The research objective is to develop innovation diffusion model for Thai small-scale farmers who are struggling to adapt. The new theory farming practice adoption is the case for this study. The questionnaire survey is collected from 400 Thai small-scale farmers with a wide variety of crop types from 6 regions of Thailand such as leader, smart farmer, new theory farmer and non-new theory farmer. The result show that innovation diffusion model for Thai small-scale farmers consists of 8 main components: Perceived threats, Perceived benefits, Perceived barriers, Motivation, Self-efficacy, Social factors and Exogenous factors and Attributes of innovation. Result found that the influent factors are Social factors, Perceived benefits and Perceived threats, respectively. From this study, researcher introduces participation process model of farmers and social mechanisms to drive innovation adoption in Thai agriculture sector. The final part of the research has studied on the feasibility and how to commercialize for government use to accelerate innovation adoption of Thai farmers.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.