Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
A study of the failure in Thailand's electronic voting policy
Year (A.D.)
2024
Document Type
Independent Study
First Advisor
ไชยันต์ ไชยพร
Faculty/College
Faculty of Political Science (คณะรัฐศาสตร์)
Department (if any)
Department of Public Administration (ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์)
Degree Name
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
รัฐประศาสนศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.IS.2024.73
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาของเครื่องลงคะแนนเลือกตั้งอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย รวมถึงการศึกษากรอบการวิเคราะห์กระบวนการนโยบายสาธารณะเพื่อให้ทราบถึงสาเหตุที่นำไปสู่ความล้มเหลวของนโยบายการลงคะแนนเลือกตั้งโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากหนังสือที่เกี่ยวข้อง กับแนวคิดเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ แนวคิดเกี่ยวกับการเลือกตั้ง รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กับกระบวนการนโยบายสาธารณะและการเลือกตั้งโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ผู้วิจัยได้ศึกษากรอบกระบวนการนโยบายสาธารณะ 5 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การก่อตัวนโยบาย (2) การกำหนดนโยบาย (3) การตัดสินใจนโยบาย (4) การนำนโยบายไปปฏิบัติ และ (5) การประเมินผลนโยบาย มาวิเคราะห์นโยบายการลงคะแนนเลือกตั้งโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ในประเทศไทย ร่วมกับการประเมินผลนโยบาย CIPP Model ของ Stufflebeam โดยประเมิน 4 ด้าน คือ (1) ด้านบริบท (2) ด้านปัจจัยนําเข้า (3) ด้านกระบวนการ และ (4) ด้านผลผลิต ผลการศึกษาพบว่า เครื่องลงคะแนนเลือกตั้งอิเล็กทรอนิกส์ไม่สามารถนำไปใช้ในการเลือกตั้ง ตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ การนำนโยบายไปปฏิบัติจึงไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์และไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เป็นไปตามระดับความสำเร็จ ตามแนวคิดไล่ระดับสีเทาของพื้นที่ระหว่างกลาง (Grey Areas in Between) ของ McConnell คือนโยบายนี้เข้าใกล้ระดับที่ 4 ความสำเร็จแบบสุ่มเสี่ยง คือระดับความสำเร็จที่ปริ่มจะล้มเหลว มีการบรรลุเป้าหมายเพียงเล็กน้อย โดยสาระหลักของนโยบายหันเหออกจากเป้าหมายเดิม และระดับที่ 5 ความล้มเหลว คือระดับที่นโยบายหรือโครงการมีผลตามมาตรวัดที่ล้มเหลวซึ่งบดบังความสำเร็จที่น้อยกว่ามาก และจากการศึกษาการประเมินผลผลิต (Product Evaluation) พบว่าวัตถุประสงค์ในการนำเครื่องลงคะแนนเลือกตั้งอิเล็กทรอนิกส์ไปปฏิบัตินั้นคือการนำไปใช้ใน การเลือกตั้งระดับชาติ (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา) การเลือกตั้งระดับท้องถิ่น (องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร พัทยา) รวมทั้งการออกเสียงประชามติ แต่ในการนำไปปฏิบัติในความเป็นจริงได้นำไปใช้ในการเลือกตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ การเลือกตั้งในสถานศึกษา และหน่วยงานอื่น ๆ ที่ดำเนินการจัดการเลือกตั้ง ในหน่วยงาน เมื่อเปรียบเทียบวัตถุประสงค์ที่กำหนดกับการนำนโยบายไปปฏิบัติแล้วจะเห็นได้ว่าการนำนโยบายไปปฏิบัติไม่เป็นไปตามวัตถุระสงค์ กล่าวโดยสรุปคือ เครื่องลงคะแนนเลือกตั้งอิเล็กทรอนิกส์ไม่สามารถแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นได้และไม่ได้ทำให้ประชาชน เกิดความพึงพอใจ เนื่องจากนโยบายนี้ไม่ได้เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาที่ได้กล่าวไว้ในด้านบริบท หลังจากที่ได้มีนโยบายและได้มีการจัดสร้างเครื่องลงคะแนนเลือกตั้งอิเล็กทรอนิกส์ขึ้น การจัด การเลือกตั้งในเวลาต่อมาก็ยังคงใช้บัตรเลือกตั้งในการออกเสียงลงคะแนน เนื่องจากกฎหมายบัญญัติให้ใช้บัตรเลือกตั้งเท่านั้น ดังนั้น นโยบายดังกล่าวจึงไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลง ต่อคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This qualitative research aimed to study the background of the electronic voting machines and analyze the public policy process framework to determine the causes of the failure of the electronic voting policy in Thailand. This study examines documentation of public policy theories, electoral concepts, and related research as data sources.The researcher studied the five stages of public policy process framework to analyze the policy, including 1) Policy Formation 2) Policy Formulation 3) Policy Decision 4) Policy Implementation and 5) Policy Evaluation. Also studied the CIPP Model such as 1) Context Evaluation 2) Input Evaluation 3) Process Evaluation and 4) Product Evaluation by Stufflebeam. The results reveal that the implementation of electronic voting machines failed to be utilized for elections. According to McConnell’s “Grey Areas in Between” concept, this policy was the fourth level – Precarious Success also borders on the fifth level – failure. The product evaluation revealed that the purpose of using electronic voting machines for general election, local elections and referendum, the machines were only used in cooperative society elections, educational institutions, and orther organization elections. When compared the original objectives to the actual implementation, it is evident that the policy failed to achieve its intended goals.In conclusion, the electronic voting machines could neither resolve existing electoral issues nor enhance public satisfaction. The policy failed to resolve the contextual problems. In spite of having the policy for devolope and create the electronic voting machine, subsequent elections continued to use the ballot due to prescibed by the law. Therefore, this policy did not create any meaningful impact on the electoral process or improve the quality of life for the population.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
รุ่งแสวงทรัพย์, รัชรัญญา, "การศึกษาความล้มเหลวของนโยบายการลงคะแนนเลือกตั้งโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย" (2024). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 10959.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/10959