Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Guideline to improve the efficiency of post-review department, ladkrabang cargo clearance customs office

Year (A.D.)

2024

Document Type

Independent Study

First Advisor

ภาณุภัทร จิตเที่ยง

Faculty/College

Faculty of Political Science (คณะรัฐศาสตร์)

Department (if any)

Department of Public Administration (ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์)

Degree Name

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

รัฐประศาสนศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.IS.2024.82

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขั้นตอนกระบวนการทำงานของฝ่ายทบทวนหลังการตรวจปล่อยในบริบทของสำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าลาดกระบัง เพื่อศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำงานและเสนอแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของฝ่ายทบทวนหลังการตรวจปล่อยประจำสำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าลาดกระบังให้ดียิ่งขึ้น โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการเก็บข้อมูลโดยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 10 คน ซึ่งครอบคลุมข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ในฝ่ายทบทวนหลังการตรวจปล่อยและฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับปฏิบัติการและระดับชำนาญการ รวมถึงตัวแทนออกของหรือชิปปิ้งในฐานะผู้รับบริการจากการศึกษาการทำงานของฝ่ายทบทวนหลังการตรวจปล่อยในบริบทของสำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าลาดกระบังนั้น พบปัญหาดังนี้ 1) ปัญหาด้านบุคลากร เจ้าหน้าที่ใหม่ในฝ่ายยังขาดความรู้และประสบการณ์ในการทำงานทบทวนหลังการตรวจปล่อย 2) ปัญหาด้านโครงสร้างและนโยบายการทำงาน การแบ่งโครงสร้างหน้าที่ในฝ่ายอย่างชัดเจนโดยพึ่งพาความสามารถส่วนบุคคลเป็นหลัก ทำให้เจ้าหน้าที่ในฝ่ายไม่สามารถทำงานแทนกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งนโยบายการทำงานของฝ่ายในลักษณะผ่อนคลาย ทำให้ไม่ได้มีการติดตามขั้นตอนการทำงานอย่างเป็นระบบ 3) ปัญหาด้านการสื่อสาร การสื่อสารในระดับส่วนไม่ได้ส่งเสริมให้มีการแบ่งปันข้อมูลการทำงานกันระหว่างฝ่าย ซึ่งจากการใช้กรอบแนวคิด 7s Model ของ McKinsey มาเป็นกรอบ ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางการแก้ปัญหาและพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของฝ่ายทบทวนหลังการตรวจปล่อย ดังนี้ 1) ปรับโครงสร้างการทำงานแบบแนวราบ เน้นความคล่องตัวในการทำงาน เจ้าหน้าที่ในฝ่ายสามารถปฏิบัติงานแทนกันได้ 2) กำหนดเป้าหมายการทำงานของฝ่ายให้ชัดเจน มีเป้าหมายย่อยรายเดือนเพื่อให้กำหนดกลยุทธ์การทำงานในแต่ละช่วงเวลาได้ 3) ปรับระบบงานและข้อมูลต่าง ๆ ให้เป็นระบบดิจิทัล เพื่อให้ง่ายต่อการติดตามงาน 4) ปรับค่านิยมร่วมและกลยุทธ์การทำงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน 5) เน้นภาวะผู้นำในระดับหัวหน้าฝ่ายเพื่อเร่งรัดการติดตามงาน 6) ส่งเสริมการอบรมเจ้าหน้าที่เพื่อสั่งสมประสบการณ์และทักษะที่จำเป็น 7) ส่งเสริมให้มีการจัดการความรู้หรือ (Knowledge Management) เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ให้เข้าถึงและส่งต่อได้ง่าย 8) เปิดโอกาสและให้เวลาผู้นำเข้าในการชี้แจงข้อทักท้วงอย่างเป็นธรรมเพื่อสร้างความพึงพอใจของผู้นำเข้าในฐานะผู้รับบริการ

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The objectives of this research are to study the working process of the Post-Review Department, Ladkrabang Cargo Clearance Customs Office to build the understanding of problems which occur during post-review process and to propose a guideline to improve the efficiency of Post-Review Department, Ladkrabang Cargo Clearance Customs Office. This qualitative research collected information by Document Research and In-depth Interview method which selected 10 informants from those who working in the post-review department, the relevant department and Shipping personnels as a key person who received the services from Porst-Review Department.The research found that the Post-Review Department, Ladkrabang Cargo Clearance Customs Office has the following problems: 1) Personnels problem: newly recruited personnel still lacking in knowledge and experience to work in the Post-Review Department. 2) Working structure and policy problem: Post-Review department divided its personnel job by expertise too rigidly. Causing it hard to swap workforce within department when needed. 3) Communication problem: Communication at the sections-level did not encourage information sharing. To answer these problems, the researcher uses McKinsey – 7s Model as a framework and developed a guideline to improve the efficiency of Post-Review Department, Ladkrabang Cargo Clearance Customs Office as followings; 1) Use the horizontal organizational structure to emphasize on working-agility 2) Determine a clear goal of the working plan and divided a mini-goal to make it easier to adapt a proper working strategy in that period. 3) Digitalization the data and plans, use the technology to help in follow-up the working process. 4) Set a clear shared values and strategy within the department for its personnels to follow. 5) Emphasize the leadership of the department leader to make a clear decision and efficiently direct the team toward their goal. 6) Encourage the personnels to take a training course to build up knowledge and working experience. 7) Establish the Knowledge Management (KM) to build a collective knowledge within the department and be able to pass this knowledge to the new personnel.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.