Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
A study of policy networks in developing strategies for protecting critical national infrastructure from sabotage and terrorism
Year (A.D.)
2023
Document Type
Independent Study
First Advisor
ภาณุภัทร จิตเที่ยง
Faculty/College
Faculty of Political Science (คณะรัฐศาสตร์)
Department (if any)
Department of Public Administration (ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์)
Degree Name
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
รัฐประศาสนศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.IS.2023.394
Abstract
โครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศ (Critical Infrastructure: CI) ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง รวมถึงยังสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยการดึงดูดการลงทุนและขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ หาก CI ไม่สามารถให้บริการได้อย่างปกติและต่อเนื่องย่อมก่อให้เกิดความไร้เสถียรภาพในการจัดบริการสาธารณะที่ส่งผลกระทบต่อทุกมิติเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ CI ถือเป็นพื้นที่สำคัญซึ่งรัฐในฐานะตัวแสดงหลักของสังคมจำเป็นจะต้องปกป้องรักษา ภายใต้สภาวการณ์ที่ตัวแสดงอื่นซึ่งมุ่งหวังที่จะลดทอนคุณค่าของความเป็นรัฐคุกคามพื้นที่ CI ผ่านการก่อวินาศกรรมและการก่อการร้าย ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติที่ทันสมัยจากการพัฒนากลยุทธ์ในการก่อเหตุที่สามารถสร้างผลกระทบต่อสังคมทั้งในเชิงกายภาพและในเชิงจิตวิทยา อย่างไรก็ดี ผลพวงจากแนวคิดการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ได้ผลักดันให้ประเทศต่าง ๆ มีการแปรรูปกิจการของรัฐไปสู่การดำเนินงานในรูปแบบเอกชนมากยิ่งขึ้น นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของตัวแสดงที่มีบทบาทในการจัดบริการสาธารณะ ทั้งในฐานะผู้ครอบครองและผู้ขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศที่ไม่ใช่รัฐ ซึ่งการดำเนินการในลักษณะเดียวกันนี้ก็เกิดขึ้นในประเทศไทยเช่นกัน จึงนำมาสู่คำถามวิจัยของสารนิพนธ์ฉบับนี้ว่ารัฐดำเนินการหรือมีแนวทางการปกป้องโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศจากการก่อวินาศกรรมและการก่อการร้ายอย่างไร งานวิจัยชิ้นนี้ระบุตัวแสดงที่มีบทบาทในกระบวนการกำหนดนโยบาย และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ในลักษณะเครือข่ายของตัวแสดง โดยหวังว่าผลจากการศึกษาจะสามารถถูกนำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และกระบวนการประสานความร่วมมือในการปกป้องโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศต่อไป
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Critical infrastructure (CI) significantly impacts the social, economic, and security facets of national growth. It provides foundations for the nation's economic system to increase competitiveness. CI service outages might cause instability in public service delivery, affecting every aspect of society. As a result, CI is a crucial domain that the government should safeguard vigorously, especially in the context in which some actors might attempt to undermine the state's capacity by endangering CI through terrorism and sabotage, creating national security risks. Amidst the growing challenges for CI, the New Public Management concept has influenced the delivery of public services, leading to the privatization of state-owned businesses and the incorporation of non-state actors into CI management. This research paper seeks to understand the current process of CI management in the context of Thailand. It will identify key players in the policy-making process and analyze their networks. This study will eventually provide policy recommendations for improving cooperation to safeguard vital CI.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ศรีสุวรรณ, นพฤกษ์, "การศึกษาเครือข่ายนโยบายในการพัฒนาแนวทางการปกป้องโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศจากการก่อวินาศกรรมและการก่อการร้าย" (2023). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 10879.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/10879